6 มิ.ย. 2021 เวลา 12:30 • ไลฟ์สไตล์
Chapter 3: Japanese Whisky
สวัสดีครับ ขอบคุณที่ติดตามอ่านกันนะครับ เวลามันช่างผ่านไปเร็วเหลือเกิน เผลอแป๊บเดียว ผมเขียนมา 2 เดือนแล้ว และ 2 ตอนที่ผ่านมา ผมเขียนถึงแต่ยุโรป วันนี้เลยอยากพาผู้อ่านไปเที่ยวทิพย์กันแบบไม่ไกลมาก เราจะไปเที่ยวญี่ปุ่นกันครับ
ถ้าพูดถึงสุราในประเทศญี่ปุ่น อาจนึกถึงสาเกหรือโชชูกัน แต่เมื่อไม่นานมานี้ ไม่ถึงสิบปี กระแสวิสกี้จากญี่ปุ่นนั้นบูมมากๆ วันนี้เราเลยจะมาทำความรู้จักประวัติวิสกี้ญี่ปุ่นและทำความรู้จักมันกันมากขึ้นครับ
ต้องของคุณรุ่นน้องที่น่ารักคนหนึ่งครับ ที่ส่งข้อความถามหาข้อมูลเกี่ยวกับวิสกี้ญี่ปุ่น ซึ่งเอาจริงๆผมก็รู้สึกว่ารู้จักมันแค่เพียงผิวเผิน ผมจึงค้นคว้าเพิ่มเติมและออกมาเป็นบทความนี้ครับ
และถ้าใครอยากรู้เรื่องอะไรก็ส่งข้อความถามมาได้ครับ ถ้าตอบได้จะช่วยตอบให้ แต่ถ้าตอบไม่ได้ ผมยินดีจะค้นคว้าเพิ่มเติม และหวังว่าจะได้เอามาแชร์ให้ทุกคนได้อ่านกัน อ่ะ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เรามาไปกันเล๊ย!!
จุดเริ่มต้นของ Japanese Whisky
รูปวาดของ พลเรือจัตวา Matthew Parry และด้านหลังไม่ใช่แสตนด์นะครับมันคือรูปตัวจริงครับ
ถึงแม้ว่าวิสกี้ญี่ปุ่นจะเริ่มในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 แต่อาจจะต้องท้าวความยาวสักหน่อย เราจะย้อนเวลาไปตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 17 ในสมัยเอโดะ ประเทศญี่ปุ่นได้เปิดประเทศให้กับ ฮอลแลนด์และชาวอังกฤษเข้ามาทำการค้าขาย แลกเปลี่ยนความรู้ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ทุกแขนง ศิลปะ ศาสนาทุกคนโอเคแฮ๊บปี้
แต่เมื่อถึง ปีค.ศ. 1616 เมื่อผู้นำใหม่จากตระกูล โทคุกาว่า เข้ามาปกครอง เขาเป็นคนหัวเก่าที่ไม่ชอบการเข้ามาของยุโรป และไม่ชอบคนศาสนาคริสต์ เขาสร้างการปกครองก็เริ่มที่จะเข้มงวดมากขึ้น มากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มมีการปราบปรามชาวคริสเตียนในประเทศญี่ปุ่นอย่างรุนแรง และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจนปี ค.ศ. 1633 ก็ได้มีการผ่านนโยบายต่างประเทศที่เรียกว่า ‘ซาโกกุ’ ซึ่งความหมายของมันคือ ‘ห้ามคนต่างด้าวเข้า และห้ามประชาชนญี่ปุ่นออกนอกประเทศ โดยมีโทษถึงประหารชีวิต’ ยกเว้นชาวโปรตุเกต โชกุนอณุโลมให้ชาวโปตุเกตค้าขายได้แค่เมืองท่าฝั่งตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น นโยบายนี้ใช้อยู่นานเกือบ 2 ศตวรรษ
ในที่สุด ในปี ค.ศ. 1835 พลเรือจัตวาอเมริกันชื่อ Mathew Parry มาพร้อมกับเรือดำรบพร้อมปืนมากกว่าสิบลำ จอดอยู่ที่น่านน้ำของประเทศญี่ปุ่น เขาบังคับให้ประเทศญี่ปุ่นเปิดประเทศและทำการค้ากับตะวันตก หรือถ้าไม่อย่างนั้น ปืนใหญ่ที่เรื่องของพวกเขาคงได้ทำงาน ญี่ปุ่นยอมเซ็นสัญญาและเปิดประเทศ
และสุดท้ายสัญญาก็ถูกเซ็น
มี 2 กลุ่มที่ไม่พอใจกับการตัดสินใจของโชกุน ที่ยอมให้ชาวอเมริกันทำเรื่องขายหน้าแบบนี้ให้กับประเทศของตน (แต่จริงๆคืออยากโค่นล้มระบอบโชกุนและเปลี่ยนอำนาจกลับมาเป็นระบอบจักรพรรดิ) สองกลุ่มนี้ทำพันธมิตรกันและใช้ชื่อว่า ‘ซัดโช’ เป็นการรวมตัวของแคว้น ‘ซัดซะสึมะ’ มหาอำนาจจากเกาะคิวชู และ แคว้น ‘โชชู’ แคว้นใหญ่ในภูมิภาคชูโงะกุ ซึ่งเมืองจักรพรรดิอยู่ สงครามนี้ได้ชาวตะวันตกมาช่วยอย่างลับๆ ในที่สุด พวกเขาโค่นระบอบโชกุนถือเป็นอันจบสิ้นสมัยเอโดะ ในปี ค.ศ. 1868 และนำเอาระบบจักรพรรดิกลับมาใช้อีกครั้ง
ยินดีต้อนรับยุคใหม่ ยุคเมจิ ยุคแห่งประเทศญี่ปุ่นสมัย modern ที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกอย่างเต็มตัว ญี่ปุ่นหลังการปฏิรูปที่ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นชื่อเมืองหลวง จากนครเอโดะ เปลี่ยนมาเป็นนครโตเกียว (ซึ่งแปลได้ว่า เมืองหลวงแห่งตะวันออก) การปฏิรูปทางการเมืองแบบตะวันตก รัฐธรรมนูญแบบตะวันตก ระบบทางการทหารแบบตะวันตกเช่นกัน วัฒนธรรมจากตะวันตกได้เข้ามาในทุกๆด้าน รวมไปถึงเครื่องดื่มด้วย…
เครื่องดื่มที่ชาวตะวันตกพกเข้ามามันมีชื่อว่าวิสกี้ น้ำสีเหลืองอำพัน​ กลิ่นอันหอมหวาน​ และรสชาติอันซับซ้อน บ้างมาจากอเมริกา บ้างมาจากสก็อตแลนด์ ชาวญี่ปุ่นนั้นชอบมันมาก ถึงขั้นพยายามสร้างมันขึ้นมา แต่ไม่ว่าจะทำซักกี่ครั้งมันก็ไม่สำเร็จสักที เพราะขาดความรู้ และ การผลิตวิสกี้ที่ดี จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการบ่มนาน จึงทำให้ไม่ค่อยมีใครที่จะกล้าลงทุน
ก้าวแรกของวิสกี้ญี่ปุ่น
2 บิดาแห่งวงการวิสกี้ญี่ปุ่น
ขอแนะนำให้รู้จัก ทั้งสองบิดาแห่งวงการวิสกี้ญี่ปุ่น ‘Masatake Taketsuru’ มาซาทากะ ทาเคะซูรุ และ ‘Shinjiro Torii’ ชินจิโร่ โทริ
ปี 1899 โทริ ได้ตั้งบริษัท ผลิตและจำหน่ายไวน์ โดยมีเป้าหมายให้คนญี่ปุ่นได้มีแอลกอฮอล์ที่มีคุณภาพเหมือนที่ประเทศตะวันตกได้มีดื่มกัน หลังจากนั้น โทริก็ได้ร่วมงานกับชาวญี่ปุ่นที่เคยไปศึกษาวิสกี้ที่ถิ่นกำเนิด นั่นคือประเทศสก็อตแลนด์ เขาคนนี้นคือ ทาเคซูรุ
มาซาทากะ ทาเคะซูรุ เป็นทายาทของผู้ผลิตสาเก ผู้สนใจด้านสุรากลั่นตั้งแต่ยังหนุ่ม หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ไม่นาน บริษัทสาเกของครอบครัวเขาก็ส่งเขาไปเรียนต่อที่เมือง Glasglow ประเทศสก๊อตแลนด์ ด้านเคมี และหลังจากเรียนจบ เขาก็ไปฝึกงานที่โรงกลั่นเมือง Cambeltown เขากลับมาพร้อมกับสมุดจด 2 เล่มที่เต็มไปด้วยข้อมูลการทำวิสกี้
ในปีค.ศ. 1923 พวกเขาทั้งสองก็ได้สร้างโรงกลั่นวิสกี้แรกของประเทศญี่ปุ่น ชื่อ ‘Yanazaki Distillery’ ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองเกียวโต และเมืองโอซาก้า โปรดักตัวแรกของเขาที่สร้างออกมา เกิดมาจากแรงบรรดาลใจที่จะสร้าง Scotch Whisky ในแผ่นดินญี่ปุ่น และปี 1929 วิสกี้แรกที่ออกมา แต่วิสกี้แรกนี้กลับไม่ได้รับความนิยมจากชาวญี่ปุ่นเท่าที่คาดการไว้ เพราะคนญี่ปุ่นในช่วงนั้น ไม่ได้มีความคุ้นเคยกับรสชาติ smoky ของ Scotch Whisky โทริจึงเปลี่ยนแนวคิดใหม่ เขาอยากที่จะผลิตวิสกี้ญี่ปุ่นเพื่อตอบสนองลิ้นของคนญี่ปุ่น
1
ทาเคะซูรุ อยากที่จะยังคงยึดติดกับจิตวิญญานของ Scotch Whisky พวกเขาจึงแยกทางกัน ทาเคซูรุ เลือกที่จะเปิดโรงกลั่นที่เมืองโยอิจิ จังหวัด ฮอกไกโด เพราะว่าสภาพแวดล้อมทั้งด้านภูมิอากาศที่เย็นและภูมิประเทศนั้นใกล้เคียงกับประเทศสก๊อตแลนด์ และอีกหนึ่งเหตุผลคือ การผลิตวิสกี้ต้องมีการใช้น้ำเป็นจำนวนมาก ที่เมืองโยอิจิ มีแม่น้ำที่ชื่อ ‘โยชิกาว่า’ ซึ่งคล้ายกับที่ Scotland ที่แม่น้ำแห่งนี้มีดิน Peat คล้ายๆกับ Scotland ดิน peat เหล่านี้คือที่มาของความ smoky เมื่อได้บ้านใหม่ เค้าตั้งบริษัทชื่อ Dainipponkaju ในเมื่อการผลิตวิสกี้ต้องใช้เวลานานในการเริ่ม เขาจึงขายน้ำแอ๊ปเปิ้ลในขณะที่ยังทำวิสกี้แรกของตัวเอง ในที่สุดวิสกี้ของเขาก็สำเร็จ เขาตั้งชื่อวิสกี้ว่า Nikka ซึ่งคำว่า Ni มาจาก Nippon และ Ka มาจาก Kaju ที่มาจากชื่อบริษัทของเขา และ Nikka ขวดแรกไว้วางขายในปี ค.ศ. 1940
3
ถ้าหากทาเคะซูรุ เป็นเหมือนศิลปินและนักอนุรักษ์นิยม ซามุไรแห่งโลกวิสกี้ ที่มีความรู้ด้านเคมีเป็นอาวุธ ส่วนโทริก็คงเป็นเหมือนนักธุรกิจที่มีหลักการ เขารู้ดีในเรื่องของ การตลาดและการคุมต้นทุน เขาเลือกที่จะผลิตวิสกี้ที่ถูกปากและขายได้ง่ายต่อคนที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่น โทริ โตมากับงานธุรกิจ เขามีความสนใจในด้านเครื่องดื่มมาตั้งแต่เด็กๆ และหลังจากที่ทาเคะซูรุตัดสินใจที่จะเดินในเส้นทางของตน โทริเปลี่ยนจากเดิมที่ชื่อ Yamazaki Distillery กลายเป็น Suntory ที่มาของชื่อคือการสลับคำของโทริ โทริ-ซาน* เปลี่ยนเป็น ซาน-โทริ
*หมายเหตุ จำลงท้ายที่แสดงถึงการให้เกียรติ ที่ใส่คำว่าซัง ที่ท้ายของชื่อ จริงๆที่ญี่ปุ่นสะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า San (ซาน)
การเติบโตสู่ระดับอินเตอร์
Bill Murray & Jim Murray
นักแสดงชื่อกดังอย่าง Bill Murray กับหนังโปรดของผมเรื่อง Lost in Translation เล่นคู่กับ Scarlett Johansson ฉายในปี ค.ศ. 2003 และได้กวาดรางวัลมากมาย เกี่ยวกับฝรั่งเหงาๆในโตเกียว Bill Murrey เล่นเป็น Bob Harrison นักแสดงอเมริกันบินมาที่โตเกียวเพื่อถ่ายโฆษณาวิสกี้ยี่ห้อ Suntori ประโยคนั้นยังคงติดอยู่ในหัวผมดีจนถึงทุกวันนี้ ประโยค “For the relaxing time. Make it Suntory” ถึงแม้ว่าเรื่องนี้จะออกแนวหนังอินดี้หน่อยๆ แต่ก็ถือว่าเป็นหนังอินดี้ที่ดังมากเลยทีเดียว และทำให้หนังเรื่องนี้ผ่านตาคนนับล้าน ผมรู้จักประโยคนี้ก่อนที่จะรู้จักบริษัท Suntory ซะด้วยซ้ำ
ในปี 2009 Suntory ไม่ได้ขายแค่วิสกี้อย่างเดียว บริษัทขยายไลน์ไปทางเครื่องดื่มด้านอื่นด้วย เช่น ชา เบียร์ ไวน์ น้ำเปล่า น้ำผลไม้ รวมไปถึง suppliment ต่างๆ และในปี 2014 เกินข่าวใหญ่ในวงการแอลกอฮอล์ Suntory ซื้อบริษัท Jim Beam หนึ่งใบบริษัทวิสกี้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอเมริกา ไปในราคา 16 พันล้าน ดอลล่าสหรัฐ ทำให้ทั้งโลกได้รับรู้ว่าบริษัท Beam Suntory คือหนึ่งในสามบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในวงการสุรา
ถึงแม้ว่าทั่วทั้งโลกจะแตกตื่นกับขาขึ้นของวิสกี้ญี่ปุ่น แต่คนญี่ปุ่นกันเองก็ไม่ได้ความสนใจมากเท่าไรเพราะตอนนี้น วิสกี้ญี่ปุ่นไม่ได้เป็นที่นิยมตั้งแต่สมัย 90s จนกระทั้งมี TV series เรื่อง Massan ออกมาในปี 2014 ที่มีเรื่องราวโรแมนติกของ ทาเคะซูรุ บิดาแห่งวงการวิสกี้ หลังจากนั้นคนญี่ปุ่นก็หันมาให้ความสนใจวิสกี้ญี่ปุ่น และมีความภาคภูมิใจในการดื่มมัน
ในปีถัดไป หากท่านใดเป็นคอวิสกี้แบบลึกหน่อยอาจเคยได้ยินชื่อนี้ Jim Murray เขาเป็นคนดังในวงการวิสกี้ ที่ขึ้นชื่อเรื่องการรีวิววิสกี้ เขาเขียนหนังสือเกี่ยวกับวิสกี้มากมายหลายเล่ม และแต่ละปีเขาจะออกหนังสืออกมาชื่อ Whisky Bible แล้วอยู่ดีๆในปี 2015 เขาให้ Yamazaki Sherry Cask เป็นวิสกี้ที่ดีที่สุดในโลก พวกผู้ผลิต Scotch ที่เคยครองบัลลังค์ถึงกับยืนเกาหัวกันเลยทีเดียว
ความต่างระหว่าง​ Japanese Whisky​ & Scotch​Whisky
หลายๆคนอาจสงสัย ในเมื่อ วิสกี้ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจาก Scotch Whisky แล้วมันต่างกันอย่างไร?
Blended Whisky: ที่​ Scotland จะมีการเอาวิสกี้จาก​โรงกลั่นอื่นมาผสมกัน​ หรือที่เรียกว่า​ Blended Malt​เพื่อรสชาติที่มีเอกลักษณ์​ แต่​ Japanese Whisky​ ส่วนมากจะเป็น​ Single Malt เพราะที่ญี่ปุ่น​มีโรงกลั่นน้อยมากเมื่อเที่ยบกับ​ Scotland
โรงกลั่นหลายๆที่สามารถสร้างหม้อกลั่นชนิดต่างๆในโรงกลั่นของตัวเอง​ และ​ Blend​ ในนั้น​ ถึงแแม้ว่าจะมีการเอามาผสมกันเหมือน​ Scotch แต่ทุกอย่างมาจากโรงกลั่นเดียวกัน​ ด้วยขนาดและประเภทที่ต่างกัน​ในขณะที่โรงกลั่นใน​ Scotland ส่วนมากจะมีขนาดหรือรูปทรงที่ใกล้เคียงกันจึงทำให้​วิสกี้ญี่ปุ่น มีรสชาติที่หลากหลายและแตกต่าง
ยีสท์: เที่ยบกับ​ Scotland ที่ประเทศญี่ปุ่น​ใช้ยีสท์หลายประเภทในช่วงการหมัก ตัวอย่างเช่น​ Suntory​ มียีสท์สายพันธุ์​ของตัวเองที่เรียกว่า​ suntoryeus lactobacillus (ซันโตรี่ยีส แลคโตบาซีลัส)
การกลั่น​: บางโรงกลั่นในญี่ปุ่นใช้เทคนิกการกลั่นแบบ​ Low Pressure Distillation มันคือการที่ตั้งโรงกลั่นในที่สูง​ ในเมื่อที่ๆสูงจะมีแรงกดอากาศที่ต่ำกว่า​ จึงทำให้จุดเดือดต่ำกว่าที่ปรกติ​ การทำเช่นนี้ให้ผลลัพธ์​คือการที่​อโรมามีอยู่เยอะ​ แต่ให้​ Texture ที่เบากว่า 3 โรงกลั่นที่ใช้เทคนิคนี้คือ Karuizawa (ปิดไปแล้ว), Hakushu และ Mars Shinshu
1
ถังโอ๊คมิซุนาระ: ไม้โอ๊คชนิดนี้เป็นไม้โอ๊คที่โตในประเทศญี่ปุ่น ไม้มิซุนาระเริ่มดูกใช้ในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศญี่ปุ่นขาดแคลนทั้ง อาหาร ยา และสิ่งอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งรวมไปถึงถังไม้สำหรับการบ่มวิสกี้เช่นกัน ดังนั้นชาวญี่ปุ่นจึงเริ่มที่จะใช้ไม้พื้นบ้านของตัวเองน้มาใช้แก้ขัดไปก่อน
ลำต้นของมันไม่ได้โตสูงเป็นเส้นตรง และมีความชื้นในเนื้อไม้อยู่สูงเมื่อเทียบกับพันธุ์อื่นๆ คำว่า ‘มิซุ’ แปลว่าน้ำ ไม้โอ๊คพันธุ์ให้เอกลักษณ์เฉพาะที่จะมีรสชาติของ มะพร้าวและ sandlewood หรือไม้จันท์ แต่กว่าเอาไม้มิซุนาระมาทำเป็นถังสำหรับบ่ม ต้นไม้จะต้องมีอายุประมาณ 200 ปี แถมรวมกับความต้องการที่สูง จึงทำให้ถังชนิดนี้มีราคาแพงมาก ราในการประมูลสามารถสูงกว่า $6,000 ดอลล่าสหรัฐต่อหนึ่งถัง
กว่ารสอันนุ่มนวลของมะพร้าวและ sandalwood จะออกนั้น จะต้องให้เวลาในการบบมนานประมาณ 15-20 ปี หากน้อยกว่านั้น จะทำให้วิสกี้มีกลิ่นไม้อันรุนแรงจนเกินไป
Japanese Whisky วันนี้
สื่อต่างๆเริ่มให้ความสนใจกับวิสกี้ญี่ปุ่น สื่อชื่อดังอย่าง Wall Street Journal เขียนบทความในปี 2015 หัวข้อ, ‘Is Japanese Whisky Better Than Scotch?’ ตอนนี้คอวิสกี้ทั่วโลกต้องการที่จะดื่มวิสกี้ญี่ปุ่น ภายใน 4 ปีจากปี 2014-2018 ยอดขายเพื่มชึ้นถึง 700% จาก 6 ล้านดอลล่าสหรัฐ ไปเป็น 40 ล้านดอลล่าสหรัฐ demand ของผู้ดื่มมีเยอะมากในระยะเวลาข้ามปี แต่... เพราะวิสกี้แต่ละตัว ต่างใช้เวลานานกว่าจะได้ออกขาย ยกตัวอย่างเช่น Yamazaki 12 ปี (ที่ตอนนี้เลิกผลิตแล้ว) ไม่ใช่แค่การที่เอาวิสกี้ที่กลั่นออกไปใส่ในถังไม้ ทิ้งไว้ 12 ปีแล้วเอามาใส่ขวด แต่พวกเขาทำการ blend หรือผสมวิสกี้จากต่างถังเข้าด้วยกัน โดยที่ตัวที่อายุน้อยที่สุด มีอายุ 12 ปีดังนั้น ราคาของมันจึงสูงขึ้นตามธรรมชาติ ทางโรงกลั่นไม่สามารถผลิตตามความต้องการของตลาดได้ ทำให้วิสกี้ญี่ปุ่นขาดตลาด
อ้าว! ในเมื่อของขาดตลาดแล้วทำยังไงล่ะ ในเมื่อถึงแม้ว่าตัวที่มีอายุน้อยที่สุดอย่าง 12 ปี ใช้เวลาอย่างน้อยที่สุดก็ 12 ปีในการผลิด? ทางโรงกลั่นญี่ปุ่นจึงเลิกผลิตบางตัวลง เช่น Yamazaki 12 ปี, Hiniki 12 ปี, Hibiki 17 ปี ที่อยู่ในหนังเรื่อง Lost in Translation และอื่นๆ และเอาวิสกี้แบบ No Aged Statement (วิสกี้ที่ไม่บอกจำนวนปีในการบ่ม) เข้ามาเพื่อทดแทน เช่น Hibiki Japanese Harmony, Yamazaki, Nikka from the Barrel ถึงแม้ว่าจะไม่มีตัว 12 ปี ’ มันคือสินค้าที่ต้นทุนถูกกว่า และระยะเวลาในการผลิตที่สั้นลง เพื่อทดแทนสิ่งที่ไม่มีขาย ถือซะว่าอย่างน้อย ก็มีอะไรให้ดื่ม มีอะไรตอบสนองความต้องการของตลาด
แต่มันยังมีช่องโหว่อยู่อย่างหนึ่งครับ คือประเทศญี่ปุ่นถือเป็นประเทศน้องใหม่ในวงการวิสกี้ ทางรัฐบาลไม่ได้มีกำหมายควบคุมใดๆเหมือนเช่นสก็อตแลนด์ หรืออเมริกา ดังนั้นใครจะทำอะไรแล้วบอกว่าเป็น Japanese Whiky ก็ทำได้ อาจจะเป็นแค่การเขียนป้ายแปะขวดไว้ ก็ไม่ได้ผิดอะไร ไม่จำเป็นต้องกลั่นในประเทศญี่ปุ่นด้วยซ้ำ หรือแค่ซื้อวิสกี้จากสก๊อตแลนด์หรือแคนาดา บรรจุขวดในญี่ปุ่น แล้วเคลมว่าเป็นวิสกี้ญี่ปุ่นก็ยังได้ แล้วก็ตั้งราคาเรท “Japanese Whisky”
โลกก็ไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้นเสมอไป เพราะยังมีหลายเจ้าที่ออกตัวเคลมเลยว่าตัวเองนั้นเป็น World Blended Whisky อย่างเช่น Ichiro ที่ตั้งใจเอาวิสกี้ทั่วโลกมา blend กันให้เกินเป็นคาแรคเตอร์ที่มีเอกลักษณ์ เป็นการตั้งใจที่จะใช้ศาสตร์การ blend เข้ามาใช้ หรือแม้กระทั่ง Beam Suntory ที่ปล่อยวิสกี้ใหม่ชื่อ AO ในปี 2019 มันคือ World Blended Whisky ที่รวมจาก 5 ประเทศ สก็อตแลนด์ ไอร์แลนด์ แคนาดา อเมริกา และ ญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในวงการวิสกี้โลก
Reference:
โฆษณา