7 มิ.ย. 2021 เวลา 01:00 • การศึกษา
อาชีพแห่งอนาคต
วันนี้ Keep Telling จะมาเล่าถึงอีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจ และที่สำคัญเป็นอาชีพที่ยังขาดแคลนและมีความต้องการสูง
อาชีพนั้นก็คือ “อาชีพนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst)”
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ Data analytics กันเสียก่อน ว่าคืออะไร ?
Data Analytics เป็นศาสตร์ของการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ จาก ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) เพื่อนําข้อมูลเหล่าน้ันมาแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมจะประมวลผลได้โดยเทคโนโลยีหรือชุดคําสั่งและแบบจําลองที่สร้างขึ้น เพื่อนําข้อมูลที่ได้ผ่านการวิเคราะห์แล้วมาใช้หรือแปลความหมายโดยบุคคลที่ได้รับการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น โดยรูปแบบของการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถแบ่งได้ดังนี้
1. การวิเคราะห์ข้อมูลแบบพื้นฐาน (Descriptive analytics) เป็นการวิเคราะห์เพื่อแสดงผลของรายการทางธุรกิจ เหตุการณ์หรือกิจกรรมต่างๆ ที่ได้เกิดขึ้น หรืออาจกำลังเกิดขึ้นในลักษณะที่ง่ายต่อการเข้าใจหรือต่อการตัดสินใจ ตัวอย่างเช่น รายงานการขาย รายงานผลการดำเนินงาน
2. การวิเคราะห์แบบเชิงวินิจฉัย (Diagnostic analytics) เป็นการอธิบายถึงสาเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้น ปัจจัยต่างๆ และความสัมพันธ์ของปัจจัยหรือตัวแปรต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ต่อกันของสิ่งที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างยอดขายต่อกิจกรรมทางการตลาดแต่ละประเภท ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมให้ตัดสินใจไปในทางท่ีถูกต้อง
3. การวิเคราะห์แบบพยากรณ์ (Predictive analytics) เป็นการวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์สิ่งที่กำลังจะเกิดข้ึนหรือน่าจะเกิดขึ้น โดยใช้ข้อมูลที่ได้เกิดขึ้นแล้วกับแบบจําลองทางสถิติ หรือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ต่างๆ (Artificial intelligence) ตัวอย่างเช่น การพยากรณ์ยอดขาย การพยากรณ์ผลประชามติ
4. การวิเคราะห์แบบให้คําแนะนํา (Prescriptive analytics) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความซับซ้อนที่สุด เป็นทั้งการพยากรณ์ส่ิงต่างๆ ที่จะเกิดข้ึน ข้อดี ข้อเสีย สาเหตุ และระยะเวลาของสิ่งที่จะเกิดขึ้น และการให้คําแนะนําทางเลือกต่างๆ ที่มีอยู่ และผลของแต่ละทางเลือก
ถามว่าทำไมอาชีพนี้ถึงสำคัญ ?
คำตอบก็คือ ในโลกยุคปัจจุบันมีข้อมูลจำนวนมากในทุกๆ ส่วนงาน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ หรือในภาคอุตสาหกรรม บริการ ย่อมจำเป็นต้องมีการใช้ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน การตัดสินใจ การกำหนดกลยุทธ์ แนวทางต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจเป็นไปตามเป้าหมาย
นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) จึงกลายเป็นบุคคลที่สำคัญขององค์กร ดังคำกล่าวที่ว่า ถึงจะมีข้อมูลมหาศาลเท่าไร แต่หากไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ได้ ข้อมูลมหาศาลเหล่านั้นก็ไร้ประโยชน์
ดังนั้น งานของนักวิเคราะห์ข้อมูล ก็คือการรับโจทย์หรือตั้งโจทย์ปัญหาและแก้ไขโดยการค้นคว้าข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big Data) เหล่าตั้น มาทำการวิเคราะห์ เพื่อหาคำตอบหรือทางเลือกที่ถูกต้องเหมาะสม โดยใช้พื้นฐานทางข้อมูลมาทำเป็นโมเดลสถิติ
จากข้อมูลที่ Keep Telling ประมวลมาเล่า พบว่าการจะเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลได้นั้น คุณสมบัติที่สำคัญที่พึงมีคือ
1. มีความเข้าใจแนวคิดในด้านธุรกิจ (Business Domain) 2 2. สามารถวิเคราะห์ และทำแผนภาพสรุป (Data Visualization) เป็น
3. ถนัดใช้เครื่องมือทางสถิติ เช่น SPSS, Microsoft Excel และ Stata รวมถึงเครื่องมือวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลทั่วไป เช่น Tableau, Power BI, Google Data Studio เป็นต้น
4. ใช้ภาษา เช่น SQL, Python, R เป็น
จะเห็นได้ว่า การทำงานเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูล ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย การต้องอยู่กับข้อมูลจำนวนมากๆ การต้องใช้ทักษะด้านการวิเคราะห์ หารที่ต้องรอบรู้เรื่องของเทคโนโลยี และทักษะอื่นๆ เช่นทักษะการแก้ไขปัญหา ทักษะทางคณิตศาสตร์ แต่แน่นอนว่าความยากย่อมมาพร้อมกับผลตอบแทนที่สูงเช่นเดียวกัน โดยเงินเดือนเริ่มต้นของนักวิเคราะห์ข้อมูลโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 25,000 – 45,000 บาท และเมื่อเจริญเติบโตในสายอาชีพ เงินเดือนจะไม่ต่ำกว่าหลักแสนแน่นอน
สุดท้าย น้องๆ ที่กำลังตัดสินใจไปในสายอาชีพนี้ มีสถาบันอุดมศึกษาของไทย ที่เปิดสอนสาขาวิชาและหลักสูตรที่รองรับงานด้านนี้โดยเฉพาะ เช่น
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงลึก (Data Science and Analytics : DSA)
เว็บไซต์ : https://www.tni.ac.th/home/faculty
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดสอนระดับปริญญาตรี
เว็บไซต์ : http://www.it.kmitl.ac.th
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
คณะวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ
มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดสอน Institute for Data Analytics
หลักสูตรปริญญาตรี และปริญญาโท
Reference
1. เยาวลักษณ์ ชาติบัญชาชัย. FQA - Data Analytics. สํา
นักงานตรวจสอบบัญชีและที่ปรึกษาทางธุรกิจ อีวาย
Keep Telling
7 มิถุนายน 2564
โฆษณา