6 มิ.ย. 2021 เวลา 14:19 • หนังสือ
วันนี้ผมจะมารีวิวและสรุปหนังสือที่มีชื่อว่า
‘กล้าที่จะถูกเกลียด’
หนังสือเล่มนี้เขียนโดยคุณคิชิมิ อิชิโรและคุณ โคะกะ ฟุมิทะเกะ
แปลโดยคุณโยซุเกะ และ คุณนิพดา เขียวอุไร
หนังสือเล่มนี้ได้เขียนแก่นเกี่ยวกับนักจิตวิทยาคนหนึ่ง
ที่ชื่อว่า ‘อัลเฟรด แอดเลอร์ ’ ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น
‘บิดาแห่งการพัฒนาตนเอง’
ผ่านบทสนทนาระหว่างชายหนุ่มและอาจารย์นักปรัชญา
ที่จะมาพูดคุยกันในเรื่องของ การมีชีวิตที่เรียบง่าย
เราควรจะทำอะไร อะไรคือ กล้าที่จะถูกเกลียด
ผมได้สรุปมาในส่วนที่คิดว่ามีประโยชน์ และเข้าใจได้
เพราะในแต่ละบทสนทนา มีความเข้าใจได้ยากอยู่บ้าง
แต่การนำไปปฏิบัติ ยากยิ่งกว่า
ใครมีความเห็นใดๆ หรือผมตีความไม่เหมือนกับใครก็แลกเปลี่ยนกันได้นะครับ
3
ความคิดเห็นหลังอ่าน
เป็นหนังสือแนวจิตวิทยาที่ไม่เคยอ่านมาก่อน
เพราะเป็นการเล่าผ่านบทสนาของคน 2 คน
ถกเถียงกันไปมา ผลัดกันตั้งคำถาม ผลัดกันตอบ
เป็นการเขียนร่วมกันระหว่างคุณอิชิโร และคุณฟุมิทาเกะ อาจารย์และศิษย์
เปรียบกับโซเครตีสและเพลโต ที่ศิษย์เขียนหนังสือจากบทสนทนาของอาจารย์
ได้รู้เกี่ยวกับปรัชญาของแอดเลอร์
ว่าไม่ยึดกับอดีต
เน้นเปลี่ยนที่ตนเอง เน้นที่ปัจจุบัน ฯลฯ
หนังสือบอกให้เราทำตามที่เราต้องการ แต่ก็ยังคงต้องอยู่ในสังคมต่อ
ต้องมีการช่วยเหลือคนอื่น ยอมรับตนเอง
เป็นเล่มที่น่าสนใจมากๆครับ
ต้องมีโอกาสได้ลองอ่านอีกสักรอบเพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นครับ
1
เนื่องจากแปลกของหนังสือเล่มนี้
ทำให้ผมเข้าใจว่าทำไมถึงขายดีทั้งในญี่ปุ่นและในไทยครับ
ใครมีความคิดเห็นใดๆ บอกกันได้เลยนะครับ ^^
ขอบคุณครับ
อย่าเชื่อเรื่องแผลใจ
ตามหลักจิตวิทยาแบบแอดเลอร์ บอกไว้ว่า
ไม่ควรยึดติดกับอดีตที่เป็นแผลใจของเรา
เพราะมันจะนำไปสู่การมองโลกในแง่ร้าย
มนุษย์นั้นกำหนดเป้าหมายก่อนที่จะทำสิ่งใด แล้วหลอกตัวเองโดยเอาแผลใจในอดีต
มาเป็นข้ออ้างให้กับตนเองในการใช้ชีวิตแต่ละวัน
โดยสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราแม้เราจะแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่เราเลือกได้ว่าจะมองมันในมุมไหน
หรือก็คือความหมายที่เรามอบให้ประสบการณ์ ซึ่งจะกำหนดตัวตนของเรา
1
คนเราเปลี่ยนแปลงได้ โดยการตัดสินใจเลิกมีไลฟ์สไตล์ในตอนนี้ที่เป็นอยู่
ที่เราเปลี่ยนแปลงกันไม่ได้เพราะเราตัดสินใจที่จะ ‘ไม่เปลี่ยนแปลง’ มากกว่า
2
ความทุกข์ใจทั้งหมดเกิดจากความสัมพันธ์
คุณแอดเลอร์ได้บอกไว้ว่า
ถ้าหากอยากกำจัดความทุกข์ใจให้หมดไปก็ต้องอยู่คนเดียวในจักรวาลเท่านั้น
ซึ่งก็คือเป็นไปไม่ได้นั่นเองครับ
และเราจะหลุดพบความทุกข์ได้เมื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขัน
เพราะจะนำไปสู่ความสัมพันธ์แบบชนชั้น มีแพ้มีชนะ มีเหนือกว่าต่ำกว่า
ดังนั้นหลีกเลี่ยงการแข่งขันจึงเป็นความแตกต่างแต่เท่าเทียม
แตกต่างจากความรู้ ประสบการณ์ ความรับผิดชอบ แต่เท่ากันในฐานะความเป็นมนุษย์
มองว่าเราทุกคนเป็นมิตรกันได้ ถ้าทำได้มุมมองโลกของเราจะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
ไม่ต้องคอยกลัวว่าจะมีอันตรายใดๆ
ความทุกข์ใจจากความสัมพันธ์จะลดลงอย่างเห็นได้ชัด
แยกธุระคนอื่น
เพื่อลดปัญหาจากความสัมพันธ์วิธีที่ช่วยได้คือ การแยกธุระคนอื่น
โดยถามว่า นี่เป็นธุระของใคร หรือดูง่ายๆจาก ใครได้รับผลการตัดสินใจ
เมื่อรู้แล้วว่าเป็นธุระของใคร
ก็ไม่ควรไปก้าวก่ายธุระของคนอื่น
รวมถึงไม่ยอมให้ใครมาก้าวก่ายเราด้วย
ผมชอบประโยคหนึ่งในหนังสือครับ
เราสามารถจูงม้าไปริมน้ำได้
แต่ไม่สามารถบังคับให้ม้ากินน้ำได้
เพราะเราให้คำปรึกษาได้ เราทำเต็มที่ได้
แต่เขาจะนำคำแนะนำไปทำหรือไม่มันก็เป็นธุระของเขา
และเรื่องการแยกธุระคนอื่นนำมาซึ่งชื่อหนังสือ ‘กล้าที่จะถูกเกลียด’
เพราะการที่คนอื่นจะเกลียดเราหรือไม่
มันไม่ใช่ธุระของเรา
คนอื่นคิดอย่างไรไม่สำคัญเท่ากับเราเข้าใจตนเองดีหรือไม่
ซึ่งเป็นชีวิตที่มีอิสรภาพครับ
3
ทำให้ตนเองมีคุณค่า
ทุกๆความสัมพันธ์ที่ดีต้องเริ่มจากตนเอง
มองว่าเราจะทำอะไรให้ผู้อื่นได้บ้าง
ไม่ตัดสินคุณค่าของคนอื่น แต่ตัดสินไปถึงตัวตนของเขา
คุณแอดเลอร์ ต่อต้านทั้งการลงโทษและการชม แต่ให้ขอบคุณอย่างจริงใจแทน
จะเป็นการปลุกความกล้าที่จะเผชิญกับปัญหา
ซึ่งเป็นพื้นฐานของความเท่าเทียมครับ
เมื่อเราเรามีคุณค่า เราจะรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม รู้สึกว่าเป็นที่ของเรา
และความเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนี้เอง เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุดว่า
เราจะมีความสัมพันธ์ที่เป็นสุขได้หรือไม่
ใช้ชีวิต ‘ณ วินาทีนี้’ อย่างจริงจัง
1
คุณแอดเลอร์บอกว่าเราไม่ควรไม่สนใจในอดีตและมองไปในอนาคต
เพียงแต่ทำปัจจุบัน ณ วินาทีนี้ให้ดีที่สุด
เป็นเพราะชีวิตที่ผ่านเราไปในแต่ละวินาที คือชีวิตที่สมบูรณ์ในตัวเอง
คือ ชีวิตที่เน้น การทำสิ่งที่อยู่ข้างหน้าในขณะนี้ จน สำเร็จไปเองโดยไม่รู้ตัว
เพราะชีวิตคือจุดที่เชื่อมต่อกันครับ
เป้าหมายมนุษย์ของแอดเลอร์
จะมี 2 ด้าน คือ
1 ด้านพฤติกรรม คือ พึ่งพาตนเองได้ และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ดี
2 ด้านจิตวิทยา คือ รู้ว่าตนเองมีความสามารถ และ รู้ว่าทุกคนเป็นมิตรกับเรา
ในส่วนของ พึ่งพาตนเองได้ และ รู้ว่าตนเองมีความสามารถ จะสอดคล้องกับ การยอมรับตนเอง
ในส่วนของ ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ดี และ รู้ว่าทุกคนเป็นมิตรกับเรา จะสอดคล้องกับการเชื่อใจและการช่วยเหลือคนอื่น
การยอมรับตนเอง การเชื่อใจและการช่วยเหลือคนอื่น
3 อย่างนี้เมื่อสำเร็จเราจะรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในจิตวิทยาแอดเลอร์นั่นเองครับ
1
ขอบคุณสำหรับการรับชมครับ
คิดเห็นอย่างไร บอกกันได้เลยนะครับ ^^
โฆษณา