7 มิ.ย. 2021 เวลา 04:28 • ประวัติศาสตร์
ขอโทษที... ที่ผมหายหน้าหายตาไปนาน เพราะเพิ่งทำธุระส่วนตัวเสร็จ ทั้ง เรื่องเรียน และ เรื่องสอบปลายภาค เพิ่งปิดเทอม บวกกับช่วงนี้ ผมทำอะไรหลายๆอย่าง ทั้ง หาข้อมูลมาเขียนนวนิยายของผมต่อ เริ่มศึกษาทดลองเล่นหุ้น เริ่มทำเพจ Gaming Facebook Live และ อื่นๆ อีกมากมาย เลยทำให้ผมค่อนข้างวุ่นๆกับตัวเองเยอะมาก แต่จะพยายามมาลงบทความให้ลูกเพจได้อ่านต่อไป...
หากจะพูดถึง กองกำลังสะเทินน้ำสะเทินบก แล้ว หลายคนคงต้องนึกถึง หน่วยนาวิกโยธิน เป็นอันดับแรก กองกำลังที่ไปได้เกือบทุกหนทุกแห่งในโลก ไม่ว่าจะเป็น ท้องทะเล ท้องฟ้า มหาสมุทร จากชายฝั่งลึกเข้าสู่ใจกลางแผ่น พวกเขาไปได้เกือบทุกหนทุกแห่ง หน่วยนาวิกโยธิน ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก ก็คงจะหนีไม่พ้น “หน่วยนาวิกโยธินสหรัฐฯ (United States Marine Corps : USMC)” อันเลื่องชื่อ ขณะเดียวกัน ประเทศในอีกซีกโลกนึง ได้พยายามผลักดัน หน่วยนาวิกโยธินของตัวเอง ให้เทียบชั้นกับหน่วยนาวิกโยธินชั้นยอดของประเทศอื่นๆ อย่างไม่น้อยหน้า นั่นก็คือ “หน่วยนาวิกโยธินจีน” นั้นเอง
หลังจากโพสต์บทความครั้งก่อน ผมได้ลงบทความเกี่ยวกับ “กองทัพจีน” วันนี้ ผมก็เลยถือโอกาสมาเจาะลึกเรื่องราวของ “หน่วยนาวิกโยธินจีน” กันซะหน่อย
บทความ “กองทัพจีน” ของครั้งที่แล้ว
หน่วยนาวิกโยธินจีน (People's Liberation Army Marine Corps : PLAMC)
ประวัติความเป็นมา
หน่วยนาวิกโยธินจีน ก่อตั้งครั้งแรก วันที่ 18 มีนาคม 1953 ช่วงระหว่างสงครามกลางเมืองจีน (Chinese Civil War) เพื่อตอบสนองปฏิบัติการยกพลขึ้นบกของกองทัพคอมมิวนิสต์จีน บนหมู่เกาะที่ถูกยึดครองโดย กองทัพจีนคณะชาติ (National Revolutionary Army) ของพรรคก๊กมินตั๋ง (Kuomintang) กองทัพจีนภาคตะวันออก (East China Military Region) จึงได้จัดตั้ง หน่วยนาวิกโยธินที่ 1 (1st Marine Corps) ขึ้น ประกอบไปด้วย 1 กรมทหาราบ และอีก 2 กองพันทหาราบ อันเป็นการสถาปนา หน่วยนาวิกโยธินจีน ของกองทัพปลดปล่อยบประชาชนจีน (People's Liberation Army) อย่างเป็นทางการ
หลังจาก สงครามเกาหลี (Korean War) ได้สิ้นสุดลง กองกำลังอาสาประชาชนจีน (Chinese People's Volunteers) ที่ได้เข้าร่วมรบในสงครามเกาหลี บางส่วนได้รับการบรรจุเข้าประจำการใน หน่วยนาวิกโยธินจีน ทำให้หน่วยนาวิกโยธินจีน มีกำลังพลถึง 110,000 นาย หรือ 8 กองพล (Division) ในขณะนั้น ต่อมา เดือนมกราคม ปี 1957 ทางคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลาง (Central Military Commission : CMC) ได้มีการปรับโครงสร้างกองทัพขนานใหญ่ทั้งหมด เลยทำให้หน่วยนาวิกโยธินจีนถูกยุบไป
ต่อมา เดือนมกราคม 1974 ความตึงเครียดตรงบริเวณทะเลจีนใต้ (South China Sea) ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น จากที่ประเทศเวียดนามใต้ (South Vietnam) ได้บุกยึดหมู่เกาะ Yongle Islands ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะ Paracel Islands ในทะเลจีนใต้ ทำให้ทางการจีนตอบโต้กลับด้วยปฏิบัติการทางการทหารทันที แม้ว่าหลังจากนั้น ประเทศจีนจะได้รับชัยชนะก็ตามในศึกครั้งนี้ แต่ก็พบเจอปัญหาต่าง ๆมากมาย ระหว่างการต่อสู้ ไม่ว่าจะเป็น กำลังพลส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์การต่อสู้แบบสะเทินน้ำ สะเทินบก หรือ ยกพลขึ้นบก แถมกำลังพลที่ใช้ในการต่อสู้เป็นทหารบก ที่ไม่ได้เชี่ยวการสู้รบในลักษณะเช่นนี้โดยตรง รวมถึง อาการเมาคลื่นทะเลของเหล่าทหารอีกด้วย หลังจากเหตุการณ์ นายพลเรือ Liu Huaqing ได้เรียนรายงาน เรื่อง “รายงานปัญหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ (Report on Naval Equipment Issues / 關於海軍裝備問題的報告)” และ ได้กล่าวว่า “ควรมีการจัดตั้งกองกำลังที่สามารถส่งไปทำภารกิจ ได้ตลอดเวลา เพื่อปฏิบัติภารกิจยึดหมู่เกาะ (A force that "can be deployed at any time to take part in the island capture operation." / “可以隨時部署參與奪島作戰”)”
ดังนั้น ในปี 1979 ทางคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลาง ได้มีการจัดตั้งหน่วยนาวิกโยธินจีน อีกครั้ง โดยจัดกำลังในลักษณะ กองพลน้อย (Brigade) ต่อมา เดือนธันวาคม 1979 ได้มีการปรับย้ายโอนกำลังมาจาก กรมทหารที่ 391 (391th Regiment) ของ กองพลทหารที่ 131 (131st Division) ของกองทัพบก ซึ่งประกอบไปด้วย 1 กองพันรถถังสะเทินน้ำสะเทินบก 2 กองร้อยทหาราบยานเกราะ แปรสภาพมาเป็น กองพลน้อยนาวิกโยธินที่ 1 ดังนั้น กองพลน้อยนาวิกโยธินที่ 1 (1st Marine Brigade) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 1980 โดยมีฐานทัพอยู่ที่เกาะไฮ่หนาน (Hainan Island) ขึ้นตรงต่อ กองเรือภาคใต้ของจีน (South China Sea Fleet) 18 ปีต่อมา วันที่ 1กรกฎาคม 1998 ได้มีการปรับย้ายโอนกำลังมาจาก กองพลทหารที่ 164 (164th Division) ของ กลุ่มกองทัพที่ 41 (41st Group Army ปัจจุบัน คือ 75 th Group Army) แปรสภาพกลายเป็น กองพลน้อยนาวิกโยธินที่ 164 (164th Marine Brigade) นับแต่นั้น ทางหน่วยนาวิกโยธินจีน ก็ได้มีการพัฒนา เสริมสร้างขีดความสามารถของนาวิกโยธินมาโดยตลอด
 
จนกระทั่ง วันที่ 18 เมษายน ปี 2017 ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง และ คณะกรรมาธิการทหารส่วนกลาง ได้มีการปรับเปลี่ยน และ ปรับปรุงโครงสร้างกองทัพทั้งระบบ รวมถึงการขยายกำลังของหน่วยนาวิกโยธินจีนด้วย โดยได้มีการเพิ่มกองพลน้อยนาวิกโยธินเพิ่มเติมอีก 6 กองพลน้อย และ ได้เปลี่ยนชื่อ กองพลน้อยนาวิกโยธินที่ 164 เป็น กองพลน้อยนาวิกโยธินที่ 2 (2 nd Marine Brigade)
เอกสารรายงานของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ประจำปี 2020 ระบุว่า จีนได้มีการขยายกองกำลังนาวิกโยธินเพิ่มมากขึ้น จากยุคอดีต ที่มีเพียงแค่ 2 กองพลน้อย เนื่องจากข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ ภารกิจยกพลขึ้นบกของจีน และ การป้องกันฐานทัพในทะเลจีนใต้ในขณะนั้น จนปี 2019 จีนได้เพิ่มขนาดของกำลังนาวิกโยธิน เป็น 8 กองพลน้อย เพื่อตอบสนองภารกิจปฏิบัติการร่วมนอกประเทศ (Joint Expeditionary Operations) ของจีน ขณะเดียวกันประเทศจีนเอง ก็มองเสาะแสวงหาฐานทัพนอกประเทศ เพื่อขยายฐานอำนาจและอิทธิพลของจีนในเวทีเช่นกัน โดยพยายามผลักดันให้หน่วยนาวิกโยธินจีนมีบทบาทสำคัญในการนี้ด้วย ดังที่เห็นได้จาก ฐานทัพนอกประเทศแห่งแรกของจีน ที่ประเทศจิบูติ ที่จีนส่งหน่วยนาวิกโยธินจีนเข้าไปประจำการอยู่ที่นั่น
ปัจจุบัน หน้าที่หลัก ๆ ของหน่วยนาวิกโยธินจีน คือ การปกป้องฐานทัพของกองทัพจีนบนจีนแผ่นดินใหญ่ที่ติดชายฝั่งทะเล และ ฐานทัพจีนในทะเลจีนใต้ ตลอดจน รับผิดชอบภารกิจยกพลขึ้นบก และรวมไปถึงการคุ้มกันผลประโยชน์แห่งชาติของประเทศจีนในต่างแดนอีกด้วย
ข้อแตกต่างระหว่าง หน่วยนาวิกโยธินจีน (PLAMC) กับ หน่วยนาวิกโยธินสหรัฐฯ (USMC)
หน่วยนาวิกโยธินจีน (PLAMC) นั้นเป็นกำลังรบส่วนหนึ่งของกองทัพเรือจีน (People's Liberation Army Navy : PLAN) ไม่ได้แยกเหล่าออกมาต่างหาก เหมือนกับ หน่วยนาวิกโยธินสหรัฐฯ (USMC) แม้ว่า หน่วยนาวิกโยธินสหรัฐฯ จะแยกเหล่าออกมาจากกองทัพสหรัฐฯ (U.S. Navy) ก็ตาม แต่ก็ยังคงสังกัดขึ้นตรงต่อ กระทรวงกองทัพเรือสหรัฐฯ (US Department of Navy) เช่นเดียวกับเหล่ากองทัพเรือสหรัฐฯ
โครงสร้างการจัดกำลังของหน่วยนาวิกโยธินจีน
1 กองพลน้อยนาวิกโยธิน มี การจัดกำลังในลักษณะ ดังนี้ ประกอบไปด้วย
• กองบัญชาการกองพลน้อย (Brigade HQ Company) จำนวน 1 กองร้อย
• กองพันหน่วยสนับสนุนช่วยรบ (Combat Support Battalion) จำนวน 1 กองพัน
• กองพันหน่วยสนับสนุน (Service Support Battalion) จำนวน 1 กองพัน
• กองพันยานเกราะผสมนาวิกโยธิน (Marine Combined Arms Battalion) จำนวน 3 กองพัน
• กองพันจู่โจมทางอากาศ (Air Assault Battalion) จำนวน 1 กองพัน
• กองพันปืนใหญ่ (Marine Artillery Battalion) จำนวน 1 กองพัน
• กองพันป้องกันภัยทางอากาศ (Air Defense Battalion) จำนวน 1 กองพัน
• กองพันลาดตระเวน (Marine Reconnaissance Battalion) จำนวน 1 กองพัน
กองพลน้อยนาวิกโยธิน (Marine Brigade) ทั้งหมดของหน่วยนาวิกโยธินจีน
• กองพลน้อยนาวิกโยธินที่ 1 (1 st Marine Brigade ) มีฐานทัพตั้งอยู่ที่เมือง Zhanjiang มณฑล Guangdong
• กองพลน้อยนาวิกโยธินที่ 2 (2 nd Marine Brigade) มีฐานทัพตั้งอยู่ที่เมือง Zhanjiang มณฑล Guangdong
• กองพลน้อยนาวิกโยธินที่ 3 (3 rd Marine Brigade) มีฐานทัพตั้งอยู่ที่เมือง Jieyang มณฑล Guangdong
• กองพลน้อยนาวิกโยธินที่ 4 (4 th Marine Brigade) มีฐานทัพตั้งอยู่ที่เมือง Quanzhou มณฑล Fujian
• กองพลน้อยนาวิกโยธินที่ 5 (5 th Marine Brigade) มีฐานทัพตั้งอยู่ที่เมือง Qingdao มณฑล Shandong
• กองพลน้อยนาวิกโยธินที่ 6 (6 th Marine Brigade) มีฐานทัพตั้งอยู่ที่เมือง Linyi มณฑล Shandong
• กองพลน้อยปฏิบัติการพิเศษนาวิกโยธิน (Special Forces Brigade) มีฐานทัพตั้งอยู่ที่เมือง Sanya มณฑล Hainan
• กองพลน้อยบิน (Aviation Brigade) มีฐานทัพตั้งอยู่ที่เมือง Zhucheng มณฑล Shandong
นอกจากนี้ ยังมี หน่วยบัญชากการนาวิกโยธิน (PLAMC HQ) และ ฐานฝึกหน่วยนาวิกโยธิน (Marine Training Base) ส่วนของหน่วยนาวิกโยธินจีน อีกด้วย
ผลงาน
เพราะ หน่วยนาวิกโยธินจีน เพิ่งก่อตั้งมาได้เพียง 4 ปี ตั้งแต่ปี 1953- 1957 แล้วก็ถูกยุบwx และถูกจัดตั้งขึ้นมาอีกครั้ง ในปี 1979 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลาการก่อตั้ง ทั้งหมด 46 ปี เลยทำให้หน่วยนาวิกโยธินจีน จึงยังไม่มีผลงานอะไรมากมายนัก
• วันที่ 18-19 มกราคม 1955 : สมรภูมิเกาะ Yijiangshan (Battle of Yijiangshan Island) – นำกองกำลังสู้กับกองทัพจันคณะชาติของพรรคก๊กมินตั๋ง ที่เกาะ Yijiangshan
• วันที่ 19-20 มกราคม 1974 : สมรภูมิหมู่เกาะ Paracel (Battle of the Paracel Islands) – ภารกิจแย่งชิงหมู่เกาะ Paracel ในทะเลจีนใต้จากประเทศเวียดนามใต้ (South Vietnam)
• วันที่ 14 มีนาคม 1988 : สมรภูมิหมู่เกาะ Nansha Islands (Battle of Chigua Reef / Battle of Nansha) – ภารกิจแย่งชิงหมู่เกาะในทะเลจีนใต้จากประเทศเวียดนาม
• วันที่ 21 กรกฎาคม 1995 - วันที่ 23 มีนาคม 1996 : วิกฤตการณ์มิสไซต์ที่ช่องแคบไต้หวัน (Missile crisis in the Taiwan Strait / Third Taiwan Strait Crisis) – สถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่ กับ จีนไต้หวัน จนเกือบมีการใช้กำลังทางทหาร
• วันที่ 12 พฤษภาคม 2008 : ภารกิจช่วยเหลือ และ กู้ภัย เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มณฑล Sichuan ปี 2008 (2008 Sichuan Earthquake)
• วันที่ 8 - 24 สิงหาคม 2008 : การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปี 2008 - ทำภารกิจรักษาความปลอดภัยงานกีฬาโอลิมปิก
• ปี 2008 - ปัจจุบัน : ภารกิจปราบปรามโจรสลัดโซมาเลีย (The Somali escort)
• วันที่ 29 มีนาคม – 12 เมษายน 2015 : ภารกิจอพยพออกจากประเทศเยเมน (Yemen evacuation) หรือที่รู้จักในชื่อว่า “Operation Red Sea” – ภารกิจอพยพคนจีน 571 คน และ ชาวต่างชาติอีก 279 คน ออกจากสงครามกลางเมืองเยเมน ต่อมา เหตุการณ์นี้ ได้ถูกนำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ในปี 2018 เรื่อง “Operation Red Sea” ภายหลัง
• ปี 2016 - ปัจจุบัน : ฐานทัพนอกประเทศแห่งของจีน ที่ประเทศจิบูติ (Djibouti) โดยจีนได้ส่งหน่วยนาวิกโยธินจีนไปประจำการอยู่ที่นั้น
• ปี 1947 – ปัจจุบัน : ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ (South China Sea dispute) - จีนได้สร้างฐานทัพเกาะเทียมต่าง ๆในทะเลจีนใต้ และ ได้ส่งหน่วยนาวิกโยธินจีนไปประจำการตามฐานทัพเหล่านั้น
แม้ว่า หน่วยนาวิกโยธินจีน จะไม่ได้มีประวัติศาสตร์การก่อตั้งหน่วยนาวิกโยธินมาอย่างยาวนาน และ ประวัติการรบอันโชกโชน เฉกเช่นเดียวกับ หน่วยนาวิกโยธินสหรัฐฯ และ หน่วยนาวิกโยธินของประเทศอื่น ๆ แต่ก็พยายามที่จะเป็น หรือ “Try to be” เพื่อเทียบชั้นกับหน่วยนาวิกโยธินชั้นนำของโลก อย่าง หน่วยนาวิกโยธินสหรัฐฯ และ ประเทศอื่น ๆ จากการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่าง ๆ ระหว่างทาง ตลอดจน การออกไปปฏิบัติภารกิจนอกประเทศ ก็ทำให้สร้างชื่อเสียงให้กับหน่วยนาวิกโยธินจีน ไม่น้อย ดังคำขวัญของหน่วยนาวิกโยธินจีน ว่า “พยัคฆ์แห่งผืนปฐพี มังกรแห่งมหาสมุทร (Fierce Tiger of the land, Jiaolong of the sea) / "陆地猛虎、海上蛟龙"
สามารถอ่านบทความเรื่องนี้ ได้ที่ Facebook
สามารถติดตามเพจ Military Weapons and SPY Tactical GEARS ได้ที่
เพจ Facebook
เพจ Blockdit
อย่าลืมไปกดติดตามกันด้วย ด้วยรักจาก แอดมิน (^w^)
ถ้าข้อมูลตกหล่น หรือ ผิดพลาดประการใด ขอ อภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก...
คลิปวีดิโอ นาวิกโยธินจีน
ภาพประกอบ
ภาพของหน่วยรบพิเศษนาวิกโยธินจีน "Jiaolong Commando Unit" กำลังฝึกซ้อมการต่อต้านการก่อการร้าย
ภาพแรก หน่วยรบพิเศษนาวิกโยธินจีน "Jiaolong Commando Unit" กำลังฝึก CQB (Close Quarters Battle)
ภาพของหน่วยรบพิเศษนาวิกโยธินจีน "Jiaolong Commando Unit" (ชุดสีดำ กับ อาร์มสามสี) กับ หน่วยนาวิกโยธินจีน บนเรือรบ
ภาพของหน่วยรบพิเศษนาวิกโยธินจีน "Jiaolong Commando Unit" (ชุดสีดำ) กับ หน่วยนาวิกโยธินจีน กำลังฝึกซ้อมตรวจค้นเรือ
หน่วยนาวิกโยธินจีน กำลังลาดตระเวนหมู่เกาะทะเลจีนใต้
ภาพ (1) หน่วยนาวิกโยธินจีน กับ หน่วยนาวิกโยธินสหรัฐฯ ฝึกร่วมกัน ปี 2005 ภาพ (2) หน่วยรบพิเศษนาวิกโยธินจีน "Jiaolong Commando Unit" ฝึกกับกองทัพเรือสหรัฐฯที่อ่าวเอเดน ปี 2014 ภาพ (3)  หน่วยนาวิกโยธินจีน กับ ทหารเรือสหรัฐฯ ที่อ่าวเอเดน ปี 2013 ภาพ (4)  หน่วยนาวิกโยธินจีนเข้าร่วมการฝึก RIMPAC ปี 2014
หน่วยนาวิกโยธินจีน กับ หน่วยนาวิกโยธินรัสเซียฝึกร่วมกัน ปี 2016
หน่วยนาวิกโยธินจีน กับ หน่วยนาวิกโยธินไทยฝึกร่วมกัน ปี 2016
หน่วยนาวิกโยธินจีน กับ หน่วยนาวิกโยธินซาอุดิอาระเบีย ปี 2019
หน่วยนาวิกโยธินจีน ที่ประจำการอยู่นอกประเทศ ที่ประเทศจิบูติ พร้อมกับชุดลายพรางสีน้ำตาลใหม่ (ภาพสุดท้าย)
ภาพของหน่วยรบพิเศษนาวิกโยธินจีน "Jiaolong Commando Unit"
แผนที่ฐานทัพต่างๆ ของ หน่วยนาวิกโยธินจีน
ตราประจำหน่วยนาวิกโยธินจีน
ธงชาติจีน
โฆษณา