7 มิ.ย. 2021 เวลา 06:09 • หุ้น & เศรษฐกิจ
มูลค่าตามบัญชี(Book Value)คืออะไร?
เวลาที่พูดถึงมูลค่าตามบัญชี โดยหลักการแล้วมูลค่าตามบัญชีถูกนำไปใช้ในหลายแง่มุมด้วยกัน คือ
1)ในแง่มุมของสินทรัพย์ที่แสดงในงบการเงิน ซึ่งมูลค่าของสินทรัพย์จะขึ้นอยู่กับราคาทุนเดิม(Orginal Cost)หักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสม(Depreciation accumulated)
2)ในแง่มุมของมูลค่าสุทธิของบริษัท ซึ่งสามารถคำนวณได้จากการนำสินทรัพย์รวม(Total Assets) หักลบด้วยสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน(Intangible assets) และหนี้สิน(liabilities) อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ บางองค์กรอาจคำนวณโดยการรวมสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนเข้าไปด้วย ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยการนำสินทรัพย์รวม(Total Assets)หักลบด้วยหนี้สินรวม(Total Liabilities) ซึ่งเนื้อหาในบทความนี้จะหมายถึงมูลค่าตามบัญชีตามการใช้งานในแง่มุมของมูลค่าสุทธิของบริษัท
ตามทฤษฎีแล้วมูลค่าตามบัญชีบอกให้เราทราบว่านักลงทุนจะได้รับเงินเท่าไรหากกิจการขายสินทรัพย์ทั้งหมดเพื่อชำระหนี้สิน รวมทั้งภาระผูกพันธ์ที่มีสิทธิ์เรียกร้องเหนือผู้ถือหุ้นสามัญทั้งหมด มูลค่าตามบัญชีจึงเป็นการประมาณการแบบหยาบๆที่บอกให้เราทราบถึงจำนวนเงินที่นักลงทุนจะได้รับหากบริษัทตัดสินใจที่จะหยุดดำเนินกิจการ
มูลค่าตามบัญชีส่วนมากแล้วมักถูกนำไปใช้ในการประเมินมูลค่า หรือที่เราเรียกว่า "อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชี (Price Per Book Value: P/BV)" สามารถคำนวณได้โดยการนำมูลค่าตามราคาตลาด(Market Capitalization)หารด้วยมูลค่าตามบัญชี(Book Value) หรืออาจจะนำราคาต่อหุ้น(Price Per Share)มาหารด้วยมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น(Book Value Per Share)ก็ได้
โดยมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น(Price Per Book Value: P/BV) สามารถคำนวณได้โดยการนำ ส่วนของผู้ถือหุ้น(Total Equity) หักลบด้วยส่วนที่เป็นส่วนของหุ้นบุริมสิทธิ์(Preferred Stock) จากนั้นจึงนำมาหารด้วย จำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่ชำระแล้ว (Total Shares Outstanding)
สามารถทำได้โดยการนำอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชี(Price to Book Value)มาเปรียบเทียบกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยเฉพาะหากบริษัทเหล่านั้นใช้นโยบายทางบัญชีเหมือนกัน อย่างไรก็ตามอัตราส่วนที่สูงไม่สามารถบอกได้ว่าหุ้นมีราคาสูง ในทางกลับกันอัตราส่วนที่ต่ำก็ไม่ได้บอกว่าหุ้นมีราคาถูกเช่นเดียวกัน เพราะอัตราส่วนนี้เหล่านี้ไม่ได้บอกให้นักลงทุนทราบว่าเมื่อเทียบกับเงินที่จ่ายไปแล้วหุ้นตัวนั้นสามารถทำกำไรได้เท่าไร เพียงแต่บอกว่าเงินที่จ่ายไปเพื่อหุ้นตัวนั้นหากเกิดบริษัทจำเป็นที่จะต้องเลิกกิจการเงินจะเหลือกลับมาถึงผู้มือผู้ถือหุ้นเท่าไร
อย่างไรก็ตามนักลงทุนบางท่านอาจเห็นว่า อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชีที่ต่ำโดยเฉพาะหากมีค่าต่ำกว่า 1 นั้นหมายถึงหุ้นนั้นมีราคาถูกเพราะจ่ายเงินซื้อหุ้นนั้นในราคาที่น้อยกว่าเจ้าของ ซึ่งก็อาจจะถูก อย่างไรก็ตามมีหลายบริษัทที่มีมูลค่าบัญชีที่ต่ำ แต่สามารถทำกำไรได้สูง ส่งผลให้อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชีมีค่าสูงไปด้วย การสรุปว่าบริษัทเหล่านี้มีราคาแพงก็ดูจะไม่สมเหตุสมผลเท่าไรนัก หรือในกรณีกลับกันก็เช่นเดียวกัน
สุดท้ายถึงแม้ประโยชน์ของมูลค่าตามบัญชีนั้นสามารถเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ให้กับนักลงทุน อย่างไรก็ตามมูลค่าตามบัญชีเองก็เต็มไปด้วยข้อจำกัดในการใช้วัดมูลค่าเนื่องจาก มูลค่าของบริษัทที่แท้จริงควรมีค่าเท่ากับการคิดลดกระแสเงินสดอิสระที่กิจการสามารถจ่ายให้ผู้ถือหุ้นได้ อีกทั้งมูลค่าเงินที่นักลงทุนจะได้รับหากบริษัทเลิกกิจการนั้นเป็นจริงแค่ในทางทฤษฎีเท่านั้น ในทางปฏิบัติเงินที่ได้รับนั้นส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่เท่ากันเสียทีเดียว ดังนั้นจึงควรใช้เครื่องมืออื่นๆมาประกอบในการวิเคราะห์ด้วยเสมอ
โฆษณา