7 มิ.ย. 2021 เวลา 09:39 • สุขภาพ
"เมื่อเกิดความเครียดที่ต้องไปรับวัคซีน ป้องกัน โควิด 19" เชื่อแน่ว่าหลายคนคงรู้สึกเหมือนกัน ตอนระบาดว่าน่ากลัวแล้วพอมีวัคซีนป้องกันโรคเข้ามาให้เลือกรับ ยิ่งเครียดหนักกว่าเดิม รับดีไม่ดีถ้ารับแล้วมีข่าวไม่ดีแพ้ ป่วยสารพัดจะเป็นเหมือนเขาไม่นะ เราจะรอดจะปกติไหมถ้าไม่รับเราจะป่วยหนักอยู่คนเดียว หรือเสียชีวิตได้ โอยยสารพัด ทำให้กินไม่ได้นอนไม่หลับ แต่ที่แน่ๆ การที่เรารับวัคซีนคงจะดีกว่าไม่มีอะไรป้องกันแน่แท้ ดิฉันเลยตัดสินใจจองได้คิวได้วันเวลา แจ้งกลับมา เริ่มกลัว เริ่มคิดวนไปวนมา เครียดใช่ไหม นี่คือเครียดแล้วขนาดใหน ความเครียดเป็นภาวะของอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเราต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ และทำให้รู้สึกถูกกดดัน ไม่สบายใจ วุ่นวายใจ กลัว วิตกกังวล ตลอดจนถูกบีบคั้นหรืออาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จะส่งผลให้ขาดความสมดุลของร่างกายและจิตใจ ผลต่อร่างกาย ภาวะที่เครียดเกิดขึ้นจะกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้เกิดอาการหน้ามืด เป็นลม เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดอุดตัน โรคอ้วน แผลในกระเพาะอาหาร เมื่อเราเครียดนานๆ จะแสดงอาการทางกายหลายอย่างแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ตั้งแต่ปวดศีรษะ ปวดหลัง อ่อนเพลีย และถ้าเผชิญกับความเครียดที่รุนแรงมากๆ อาจทำให้บุคคลเสียชีวิตได้เนื่องจากระบบการทำงานที่ล้มเหลวของร่างกาย ผลด้านจิตใจและอารมณ์
จิตใจของคนที่เครียดจะเต็มไปด้วยการหมกมุ่นครุ่นคิด ไม่สนใจสิ่งรอบตัว ใจลอย
ขาดสมาธิ จิตใจขุ่นมัว โมโหโกรธง่าย สูญเสียความเชื่อมั่นในความสามารถที่จะจัดการกับชีวิตของตนเอง เศร้าซึม คับข้องใจ วิตกกังวล ขาดความภูมิใจในตนเองทำให้ความจำและสติปัญญาลดลง ผลด้านพฤติกรรม
คนที่เครียดมากๆ อาจมีอาการเบื่ออาหารหรือบางคนบริโภคอาหารมากกว่าปกติ มีอาการนอนหลับยากหรือนอนไม่หลับหลายคืนติดต่อกัน ประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลง เริ่มปลีกตัวจากสังคม และเผชิญกับความเครียดอย่างโดดเดี่ยว บ่อยครั้งจะมีพฤติกรรมการปรับตัวต่อความเครียดในทางที่ผิด เช่น สูบบุหรี่จัด ดื่มสุรา
คนที่รับวัคซีนเข๊มที่ 2 แล้วก็จะเฟรซซี่ๆ
อาการข้างเคียง "ความเครียด" นี่เยอะและรุนแรงเหมือนกันนะค่ะ เมื่อเรายอมรับว่าเราเครียด มาสู่ขั้นตอนการควบคุมความเครียดกันค่ะ คิดในแง่ดี การที่เรามีโอกาสรับวัคซีนป้องกันโรค เท่ากับเรามีเสื้อกันกระสุน ถ้านี้คือสงคราม เราต้องรีบคว้าเสื้อกันกระสุนที่มีอยู่ ณ.ตอนนี้ให้ได้เพื่อตัวเองโดยไม่ต้องสนใจยี่ห้อ ฝึกเทคนิกคลายเครียดด้วยวิธีการต่างๆ เช่นการฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ 10กลุ่ม การฝึกการหายใจ การทำสมาธิเบื้องต้น การใช้เทคนิคความเงียบ ดนตรีบำบัด ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข การรักษาสุขภาพกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย การนอน พักผ่อนที่เพียงพอ ปฎิบัติตัวตามคำแนะนำในการรับวัคซีนโดยเคร่งครัด คือ ก่อนรับวัคซีน ควรพักผ่อนให้เพียงพอ งดออกกำลังกายแบบหนักอย่างน้อย 2 วัน หากเจ็บป่วยมีไข้ให้เลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อน เลี่ยงดื่มแอลกอฮอล ชากาแฟ และข้อมูลที่สำคัญควรปรึกษาแพทย์ก่อนฉีด คือ มีโรคประจำตัวหรือมียาที่ต้องกินประจำ หรือมีประวัติแพ้ยาหรือวัคซีน หรือการอยู่ระหว่างการตั้งครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ การปฏิบัติตัวในวันเข้ารับการฉีดวัคซีน ดื่มน้ำอย่างน้อย 500-1000 ml. สวมเสื้อที่สะดวกต่อการฉีดวัคซีน เตรียมเอกสารที่ต้องใช้ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน สวมหน้ากากอนามัยล้างมือให้สะอาด เว้นระยะห่าง กินยาโรคประจำตัวได้ตามปกติ การปฎิบัติตัวหลังรับวัคซีน อันนี้สำคัญมาก เฝ้าดูอาการ ณ.จุดที่ฉีดอย่างน้อย 30 นาที หากมีอาการผิดปกติเช่น เวียนศรีษะ คลื่นใส้อาเจียน หรือมีอาการรุนแรง เช่น ชาครึ่งซีก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยวให้รีบแจ้ง เจ้าหน้าที่ทันที เมื่อกลับถึงบ้านแล้วให้สังเกตุอาการตัวเอง ต่ออีก 2-3 วัน หลีกเลี่ยงการใช้แขนข้างที่ฉีดวัคซีนอย่างน้อย 4 ชม ถ้ามีอาการผิดปกติให้รีบมา โรงพยาบาล การที่มีคำแนะจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการวัคซีน ช่วยเพื่มความเชื่อมั่นว่าเราจะถูกดูแลอย่างดีในช่วงที่รับและหลังรับวัคซีนแล้ว การที่เราปฎิบัติตัวตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดก็ทำให้เรารู้สึกปลอดภัยและอุ่นใจขึ้นมาก อ้างอิง กรมควบคุมโรค https://www.dmh.go.th/download/ebooks/tight.pdf http://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=1012
โฆษณา