7 มิ.ย. 2021 เวลา 23:17 • การศึกษา
มรณภาพของท่านพุทธทาส
ด้วยโรคที่รุมเร้ามากมาย ในหลวงท่านจึงทรงส่งหมอมาดูแล “ท่านป่วยเป็นความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเก๊า เป็นสารพัดโรค กินยาวันละเป็นกำๆ ตอนนั้นก็อายุ 80 กว่าแล้ว แต่ท่านไม่เคยมีปัญหาเรื่องอารมณ์ ไม่เคยหงุดหงิดเลย เพราะถ้าเป็นแบบนั้น คงจะไม่เป็นพุทธทาส ถ้าคุณทำได้แบบท่าน คุณรวยอารมณ์แน่นอน
ท่านเป็นโรคเก๊า ปวดจนลุกไม่ขึ้น ก็แค่เอายาลดกรดเล็กๆ เข้าไปในปาก แล้วบอกว่าไปตามคนทำหนังสือมา มาทำหนังสือกัน ถ้าเป็นเรา เราจะมีใจทำไหม ปวดเก๊าแบบนี้ แต่ท่านรู้ทันไง ท่านก็ปล่อยให้ร่างกายเจ็บปวดไป ส่วนท่านก็เอาจิตไปเพ่งไว้ที่การเขียนหนังสือ ไม่เดือดร้อนกับมัน ในเมื่อเอามันไม่อยู่ ห้ามมันไม่ได้ ก็ปล่อยมันไป ให้พิจารณาหนังสือ พร้อมกับปล่อยให้มันปวดไป เดี๋ยวความปวดมันก็หายไปพร้อมๆ กับหนังสือเสร็จตอนเย็นนั่นแหละ
เวลานัดใคร เขาจะมาไม่มาก็ช่าง นายกฯ จะมาเยี่ยมก็ช่างเขา ไม่ไปนั่งกังวล ท่านก็นั่งเขียนหนังสือของท่านไปเรื่อย พอแขกมาท่านก็ไปต้อนรับ เสร็จท่านก็มาเขียนหนังสือต่อ ท่านจัดสรรชีวิตของท่าน ไม่เคยปล่อยให้ขึ้นลงไปตามอารมณ์ แต่คนทั่วไป ไม่เคยจัดสรร เพราะมัวแต่ไปนอนกอดอารมณ์ ทุกข์มันก็เลยเกิด”
เวลาล่วงเลย จากตอนปลุกท่านพระสิงห์ทองจนถึงหกโมงเช้า ท่านสั่งลาว่า “เธอฉันเพลแทนเราด้วยนะ” แล้วก็หยิบพวงกุญแจที่บั้นเอวออกมาและบอกว่า “เราไม่อยากตายคาพวงกุญแจ” จากนั้น ยื่นให้พระสิงห์ทอง
“ท่านจัดการทุกอย่างไว้หมดเลย แสดงว่าท่านรู้ว่ากำลังจะตาย จนประมาณ 7 โมง คนอื่นที่นั่งเฝ้าอยู่ด้วยกันก็เลยบอกว่า อย่ากวนท่านเลย ไปเถอะ หลังจากนั้น 30 นาทีให้หลัง ท่านก็ถึงเริ่มบอกว่า “ทอง ลิ้นเราแข็งแล้วนะ”
ท่านลองตามอาการไปเรื่อยๆ นี่แหละคือธรรมะข้อสุดท้ายที่ท่านให้ไว้ ใช้สังขารของท่านสอน ให้ตามรู้ตามเห็นทุกอย่าง ท่านไม่เผลอ มองเห็นสภาวะการเปลี่ยนแปลงของร่างกายทุกขณะจริงๆ”
กระทั่งวาระปลงศพในวัย 87 “พุทธทาส อินทปัญโญ” ก็ยังได้แสดงธรรมบทสุดท้ายเอาไว้ เป็นธรรมบนกองเพลิงให้เห็นความไม่เที่ยงแท้ ทั้งยังฝากฝังแนวคิดสำคัญ เตือนใจพุทธศาสนิกชนทุกผู้ทุกนามเอาไว้ว่า
“โลงศพของอาตมา ก็คือ ความดีที่ทำไว้ในโลก ด้วยการเผยแผ่พระธรรม, ป่าช้าสำหรับอาตมา ก็คือ บรรดาประโยชน์และคุณทั้งหลาย ที่ทำไว้ในโลกเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์”
admin ธรรมวาที : 26 พุทธศตวรรษ
Good morning all fc
Thanks like love comments follow all fc @min Rookie
โฆษณา