8 มิ.ย. 2021 เวลา 02:47 • ไลฟ์สไตล์
🍪 ข้อคิดจากฟอร์เวิร์ดเมล เรื่อง "ศึกชิงคุ้กกี้สองชิ้น"
🍪 สวัสดีครับ วันนี้มีเหตุที่ทำให้ผมต้องคิดถึงเรื่องที่เคยได้อ่านมาจาก forward mail เมื่อหลายปีก่อน เพื่อนๆ อาจจะเคยได้ยินกันมาบ้าง เกี่ยวกับศึกชิงคุ้กกี้ 2 ชิ้น ที่สนามบิน
เรื่องย่อๆ มีอยู่ว่า
ชายหนึ่ง นั่งรอเวลาเดินทางที่สนามบินแห่งหนึ่ง ขณะนั่งรอหยิบขนมคุ้กกี้ที่ซื้อมาจากร้านค้าแถวนั้นมานั่งกิน โดยวางถุงไว้ที่เก้าอี้ข้างๆ
ระหว่างนั้นเอง เขาก็สังเกตเห็นคุณป้า ที่นั่งเก้าอี้ตัวถัดไป หยิบขนมคุ้กกี้ของเขามากินอย่างหน้าตาเฉย
ผมอ่านถึงตรงนี้มีการบรรยายความรู้สึกของชายหนุ่ม ที่แสดงความไม่พอใจอยู่ลึกๆ แต่ก็ไม่ได้เอ่ยปากว่าคุณป้าแต่อย่างไร ในใจก็คิดว่าทำไมหญิงผู้นี้หรือไร้ยางอาย มาหยิบของคนอื่นกินไปซึ่งๆ หน้าอย่างหน้าตาเฉย
ผมจำตอนจบไม่ได้ว่า ชายหนุ่มดึงถุงคุ้กกี้กลับมาหรือเปล่า แต่คุณป้าก็ยิ้มให้เขา
เมื่อถึงเวลาต้องเดินทาง ชายหนุ่มกลับพบว่า ในกระเป๋าของเขา มีถุงคุ้กกี้ที่ยังไม่ได้แกะอยู่เต็มห่อ
ใช่แล้วครับ
ถุงที่เขากินหมดไปนั้น เป็นของคุณป้าเขา..
Forward Mail เรื่องนี้ไม่รู้ว่าเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า
แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าในชีวิตเรา ย่อมเคยเจอเรื่องราวแบบนี้อยู่จริงๆ
ตอนจบ ก็ไม่ได้จบดีแบบเรื่องนี้ทุกครั้ง
การหยิบของคนอื่นไปใช้ โดยคิดว่าเป็นของตัวเอง เคยเป็นปัญหาน้ำผึ้งหยดเดียว ระหว่างเพื่อนบ้าน และคนที่อยู่อาศัยใกล้ชิดกันมาแล้ว
มักเกิดขึ้นเมื่อเราไปอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ใช้สิ่งของที่เหมือนกัน แล้วเราก็คิดว่าเป็นของเราเฉยเลย
ไม่ผิดครับถ้าจะเอ่ยปากขอโทษ และชดใช้ส่วนที่เราใช้ไป
แล้วทุกครั้งก็ไม่ได้เจอคนใจดีแบบคุณป้า ที่นั่งยิ้มให้คนแปลกหน้าหยิบขนมเราไปไม่รู้ตัว
✏✏✏✏✏✏✏✏✏✏✏✏✏✏✏✏✏✏✏✏✏✏
1
1.
ในงาน Content
เมื่อเจอคนอื่นนำ Source ที่เหมือนกันไปใช้นั้น มักจะเจอปัญหาว่า ลอกเลียนแบบหรือเปล่า
ถ้าเป็นงานแปล ภาษาประโยคที่แปลออกมานั้น จะไม่ค่อยเหมือนกันเท่าไหร่ แม้ใจความสำคัญจะเหมือนกันก็ตาม
แต่ที่เจอบ่อย ก็คือคนที่เอางานของเราไปเป๊ะๆ ไม่ตัดออก มีเพียงเติมคำสันธาน ที่ ซึ่ง อัน ฯลฯ แล้วก็นำงานเขียนชิ้นนั้นส่งให้กับบรรณาธิการของเขา
บรรณาธิการของเขาเห็นงานแล้วก็คิดว่าดีงาม จึงเผยแพร่ต่อ
ปรากฎว่าเจ้าตัวที่เป็นเจ้าของต้นฉบับมาเห็นจริงๆ ก็ต้องติดต่อกลับไป ขอให้ ให้เครดิต
2.
ปัญหาต่อมาคือ
ทางนู้นเขาก็ต้องสืบว่าคนของเขาลอกงานมาส่งจริง
หรือทางผู้ติดต่ออ้างแบล็คเมลเฉยๆ
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ บริษัทใหญ่ๆ ที่จ้างพนักงานกินเงินเดือน ลอกงานคนอื่นไปส่ง บางคนเขามั่นใจมากว่าพนักงานของตัวเองไม่ได้ลอกงาน ส่วนพนักงานเองก็กลัวความผิด ไม่บอกบ้าง บอกบ้าง ปนเปกันไป
ช่วงทำงานแรกๆ ผมก็ไม่ยอม
ไฟล์ทเป็นไฟล์ท
3.
วิธีดิบ ก็คือ แจ้งไปก่อนว่าเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น หรือ ลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ โดยรวบรวมหลักฐานให้ดีก่อนแจ้ง Save เป็นไฟล์ html ใส่ CD และ Print
หลังจากนั้นก็ขอชื่อผู้กระทำผิดจากบริษัทดังกล่าว หากเขาไม่ให้ ก็ลงเป็นชื่อเจ้าของบริษัท เพราะถือว่าเป็นผู้เช่าใช้ลิขสิทธิ์
4.
หน่วยงานที่ดีหน่อย ก็จะรีบสืบว่าทางเขาทำผิดจริงหรือเปล่า แล้วจะนัดเรียกไกล่เกลี่ย
5.
ถ้าไม่จบตอนไกล่เกลี่ย ก็ต้องดำเนินคดีต่อไปในชั้นศาล ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้อยู่ราว 200,000 - 300,000 บาท จะจ้างหรือไม่จ้างทนายก็ได้ แต่เจ้าของลิขสิทธิ์ต้องเป็นงานเสียหน่อย รู้รายละเอียดการฟ้อง และมาตรากระทำความผิดตามกฎหมาย
6.
เรื่องควรจะจบตั้งแต่ขั้นตอนไกล่เกลี่ย จะเอาอย่างไรก็ต่อรองกัน จะเรียกเป็นเงินสดชดเชยค่าเสียหาย หรือให้ลบบทความ ให้เครดิตกลับ ก็ว่ากันไป เพราะไม่มีใครอยากเป็นเรื่องต่อ
ถ้าไม่จบจริงๆ พิสูจน์ได้ว่าอีกฝ่ายกระทำความผิด จะมีชื่อติดประวัติฐานข้อมูลอาชญากรรม สมัครทำงานที่ไหนต่อไม่ได้
นี่แหละครับ ⚖
เวลารับคนใหม่ๆ เข้ามาทำงาน ก็ต้องระวังว่าจะเป็นคนที่ชอบ Copy งานคนอื่นมาส่งเหมือนกัน แต่หากมีประสบการณ์เยอะๆ จะรู้เองครับว่างานแบบไหนคืองานก็อบ งานแบบไหนคือต้นฉบับ
ขอบคุณที่แวะมาครับ
08.06.2021
โฆษณา