9 มิ.ย. 2021 เวลา 12:00 • ประวัติศาสตร์
ชื่อปืนใหญ่กรุงศรีอยุทธยา
จากคำให้การชาวกรุงเก่า
เกียรติศัพท์เกี่ยวกับปืนใหญ่ของอยุธยานั้น เรื่องลือว่ามีคุณภาพที่สุด ถึงขนาดว่าโชกุนจากญี่ปุ่นส่งคณะทูตมาอยุธยาเพื่อนำดาบซามูไรกับชุดเกราะแบบญี่ปุ่นมาแลกกับปืนใหญ่ของอยุธยากันเลยทีเดียวเจ้าค่ะ
2
และในบันทึกของฝรั่งที่เข้ามาสยามในสมัยสมเด็จพระนารายมหาราช ยังบันทึกไว้อีกว่า ชาวอยุธยานั้นมีปืนใหญ่ที่ติดตั้งประจำการอยู่บนกำแพงเมืองรอบกรุงกว่า 700- 800 กระบอกอีกด้วย
แลในส่วนของพงศาวดารพม่าก็ยังบันทึกไว้อีกว่า ช่วงอยุธยาได้เสียกรุงครั้งที่ 2 นั้น อยุธยาได้มีการนำปืนใหญ่ออกมาใช้เป็นจำนวนมากเจ้าค่ะ
1
จากข้อมูลต่างๆที่บอกถึงความมั่งมีทางด้านยุทโธประกรทางทหารของอยุธยา ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากในยุคนั้นรวมถึงเพื่อเป็นการแสดงแสงยานุภาพและความรุ่มรวยอีกด้วย
แต่หากเปรียบเทียบกับสมัยนี้แล้ว ก็อาจไม่มีความจำเป็นมากนักสำหรับเรือดำน้ำ เครื่องบินรบ หรือแม้กระทั้งรถถัง เพราะสยามเราได้หลุดออกจากวงโคจรแห่งสงครามแย่งชิงอาณาเขตกันมานานแล้ว คิดเหมือนญิงมั้ยเจ้าค่ะ ......
1
ด้วยเหตุแห่งการแสดงแสงยานุภาพและความรุ่มรวยนั้น จึงได้มีการตั้งชื่อปืนใหญ่ต่างๆเพื่อความเป็นสิริมงคลรวมถึงเพื่อเป็นการข่มขวัญอริราชศัตรูให้อยู่ต่ำกว่าตนอีกด้วยเจ้าค่ะ ดังชื่อปืนใหญ่จากคำให้การชาวกรุงเก่าที่หญิงจะนำเสนอจากนี้เจ้าค่ะ
1. ปืนใหญ่มหาฤกษ
2. ปืนใหญ่มหาไชย
3. ปืนใหญ่มหาจักร
4. ปืนใหญ่มหากาฬ
5. ปืนใหญ่ชนะหงษา หรือ พินาศหงษา
6. ปืนใหญ่ชะวาแตก
7. ปืนใหญ่อังวะแหลก
8. ปืนใหญ่ลแวกพินาศ
9. ปืนใหญ่พิฆาฏสังหาร หรือ พินาศสังหาร
10. ปืนใหญ่มารประไลย หรือ มานพิมาศ
11. ปืนใหญ่ภิรมย์สถาน หรือ ภิรมย์สตา
12. ปืนใหญ่ตาปขาวกวาดวัด หรือ ตาปขาวกุฎวัต
และนี้ก็คือชื่อปืนใหญ่ของอยุธยาที่คิดว่าคงมีความสำคัญมากๆเพราะเป็นที่จดจำของชาวกรุงเก่าและให้การลงในคำให้การมาจนถึงทุกวันนี้เจ้าค่ะ
ภาพปืนใหญ่อยุธยาจากสถานที่ต่างๆ
ปืนใหญ่อยุธยา ที่ Fort St.George ป้อมปราการในเจนไน ประเทศอินเดีย
ปืนใหญ่อยุธยา ที่ Fort St.George ป้อมปราการในเจนไน ประเทศอินเดีย
บางส่วนของกระบอกปืนใหญ่อยุธยา ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม
ปืนใหญ่ชนิดบรรจุกระสุนทางท้ายกระบอก ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร
ปืนใหญ่ชนิดบรรจุกระสุนทางปากกระบอก ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร
ปืนใหญ่หล่อด้วยสำริด ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร
การเดินทางของปืนใหญ่จากอยุธยาสู่พม่า - สู่เจนไน
เป็นที่ทราบกันดีเจ้าค่ะ กฎของการชนะสงคราม คือเผาทำลายและยึดทรัพท์สินของศัตรูผู้แพ้ทั้งหมดกลับมาเป็นสมบัติแห่งตน ดังนั้นเมื่อพม่าชนะสงครามกับอยุธยา ทรัพท์เงินทองร่วมถึงปืนใหญ่อันงดงามทั้งหมดจึงตกเป็นของพม่า และก็เป็นไปตามกฎแห่งกรรมที่มิอาจหนีได้อีกเช่นกันเมื่อพม่าต้องแพ้พ่ายให้กับอังกฤษและตกเป็นอาณานิคมเมื่อขึ้น ทรัพท์สมบัติของพม่าก็ต้องไปเป็นของอังกฤษรวมถึงปืนใหญ่ที่พม่ายึดจากอยุธยาด้วยเจ้าค่ะ
1
ในขณะนั้นศูนย์กลางอำนาจของอังกฤษใช้อินเดียเป็นที่มั่นดังนั้นสมบัติบางส่วนที่มีขนาดใหญ่และเคลือนย้ายยากจึงถูกทิ้งไว้ที่อินเดีย และปืนใหญ่อยุธยาตอนปลายเล่มนี้จึงถูกตั้งไว้ที่ Fort St George
ปืนใหญ่เล่มนี้เป็นหนึ่งในหลายเล่มที่ถูกทิ้งไว้ที่ Fort St George แต่เชื่อกันว่าเป็นเล่มที่สมบรูณ์และงดงามที่สุด โดยปืนใหญ่เล่มนี้ค้นพบครั้งแรกโดย อ.เชษฐ์ ติงสัญชลี ในปี พ.ศ. 2546 โดยบังเอิญขณะได้รับเชิญให้ไปแสดงทางวัฒนธรรมไทยที่เจนไนในงานฉลองอายุของท่านศรีศังกราจารย์
โดยครั้งแรกที่ท่านได้เจอ "นี่ลายกรวยเชิงอยุธยาตอนปลายนี่ ผมเคยอ่านหนังสือลวดลายอยุธยาตอนปลาของอาจารย์สันติ ไม่ผิดแน่"
หากใครที่เดินทางไปเที่ยวยัง Fort St George หรือ ป้อมปราการในเจนไน ประเทศอินเดียแล้วละก็ อย่าลืมไปเยี่ยมชมกับปืนใหญ่เล่มนี้กันนะเจ้าค่ะ อย่างน้อยไปยืนสงบนิ่งและระลึกถึงคุณงามความดีของมัน ที่มันได้ต่อสู่อย่างเต็มกำลังเพื่อป้องกันพระนคร ถึงแม้ในท้ายที่สุดเราจะต้องแพ้พ่ายไปก็ตาม
เขียนและเรียบเรียงและงานกราฟฟิกโดย : Le Siam
อ้างอิง :
- คำให้การชาวกรุงเก่า, ชื่อปืนใหญ่สำหรับกรุงศรีอยุทธยา
- อ.เชษฐ์ ติงสัญชลี
ขอบคุณภาพจาก :
- Fort St.George
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร
โฆษณา