10 มิ.ย. 2021 เวลา 06:50 • ไลฟ์สไตล์
กาแฟแคปซูลนั้นดีต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่?
Coffee Capsule & Environmental Effects
2
หากเราต้องการผสานความรักในเอสเพรสโซเข้ากับความปรารถนาที่จะใช้ชีวิตแบบกรีนลีฟวิ่ง เราอาจต้องเลือกว่ากาแฟที่ดื่มนั้นจะใช้วิธีการใดในการชง กาแฟแบบแคปซูลส่งผลกระทบอย่างไรบ้างต่อสิ่งแวดล้อม มาหคำตอบกันครับ
2
การดื่มกาแฟที่ชงจากแคปซูลนั้นเชื่อกันอย่างแพร่หลายว่าไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากพลังงานในการปลูกเมล็ดกาแฟ การทำแคปซูล การชงกาแฟ และการกำจัดของเสีย แต่ก็ยังมีข้อดีคือกาแฟแคปซูลเป็นวิธีดื่มเอสเปรสโซที่ยั่งยืนกว่าวิธีการชงกาแฟแทบทุกวิธี และจากการวิจัยใหม่ๆเราพบว่าแคปซูลอะลูมิเนียมที่รีไซเคิลได้นั้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าแคปซูลชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะที่ทำจากพลาสติกหรือวัสดุที่ย่อยสลายได้
1
แคปซูลเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นของ Nespresso/Bosch Tassimo/ Nestle หรือบริษัทเล็กๆอื่นๆ กำลังแพร่หลายอย่างรวดเร็ว แม้แต่นักชิมและร้านอาหารระดับมิชลินสตาร์หลายร้านก็ยังเลือกใช้กาแฟแคปซูล
ปัจจุบันนี้มากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของครอบครัวในสหรัฐและกว่าหนึ่งในสามของครัวเรือนในอังกฤษเป็นเจ้าของเครื่องทำกาแฟแบบแคปซูล อย่างไรก็ตามนักรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมได้วิพากษ์วิจารณ์การนำแคปซูลกาแฟไปใช้อย่างกว้างขวาง โดยต่างวิตกกังวลถึงการเพิ่มขึ้นของขยะจากเครื่องชงกาแฟแบบแคปซูล จากการวิจัยของ Halo ผู้ผลิตแคปซูลกาแฟที่ย่อยสลายได้ในอังกฤษ ทุกๆ นาทีจะมีการผลิตแคปซูลเหล่านี้ประมาณ 39,000 แคปซูลทั่วโลก ในขณะที่มีการทิ้งขยะจากแคปซูลมากถึง 29,000 แคปซูลในหลุมฝังกลบ
2
ข้อมูลเหล่านี้ดูไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อมแต่นั่นยังไม่ใช่เรื่องราวทั้งหมด เพื่อให้เราเข้าใจถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการบริโภคกาแฟ สิ่งสำคัญคือต้องศึกษาและประเมินวิธีการชงกาแฟแบบครบวงจร
1
จากการศึกษาและพิจารณาทุกขั้นตอนของการผลิตกาแฟตั้งแต่การปลูกเมล็ดกาแฟไปจนถึงการกำจัดขยะ การประเมินผลกระทบต่อระบบนิเวศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และน้ำ ทีมงานของ University of Bath พบว่ากาแฟสำเร็จรูปนั้นดีที่สุดต่อสิ่งแวดล้อม กาแฟแคปซูลอยู่ในอันดับสองในเรื่องผลกระทบ กาแฟดริปมาเป็นอันดับสาม ในขณะที่การชงเอสเปรสโซแบบดั้งเดิมนั้นมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
1
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้น้ำ และปุ๋ย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในสถานที่ที่เราปลูกกาแฟ เนื่องจากการชงกาแฟจากเครื่องชงแบบแคปซูลในแต่ละแก้วใช้ปริมาณกาแฟน้อยกว่า ดังนั้นผลกระทบโดยรวมจะลดลงแม้ว่าเราจะมีปริมาณขยะมากขึ้นจากแคปซูลที่ใช้ไป
3
ผลการวิจัยของ University of Bath สนับสนุนผลการศึกษาอื่นๆ ที่ดำเนินการในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาซึ่งชี้ให้เห็นว่าแคปซูลเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าวิธีการชงกาแฟแบบอื่น นอกเหนือจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการปลูกกาแฟแล้ว ผลกระทบที่ใหญ่เป็นอันดับสองคือพลังงานที่เราใช้ในการชงกาแฟ เหตุผลที่ว่าทำไมกาแฟเอสเปรสโซที่ชงโดยบาริสต้าจึงแย่ในแง่ของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก็เพราะการชงเอสเพรสโซ่ถ้วยเล็กเพียงถ้วยเดียวจำเป็นต้องใช้พลังงานมหาศาล ในทางกลับกันกาแฟแคปซูลมีประสิทธิภาพมากกว่า เครื่องชงกาแฟแบบแคปซูลจะให้ความร้อนสูงอย่างรวดเร็วตามปริมาณน้ำที่จำเป็นสำหรับการชงต่อหนึ่งแคปซูลเท่านั้น
3
แม้จะมีการศึกษาจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่ากาแฟดริปและเครื่องชงเอสเปรสโซตามร้านกาแฟส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ากาแฟแคปซูล แต่คนทั่วไปก็ไม่ได้สังเกตเห็นหรือรับรู้ ผู้คนส่วนใหญ่มุ่งความสนใจไปที่ “กาแฟแคปซูลกำลังทำร้ายโลก”
ปัจจุบันการทำงานร่วมกันของบริษัทต่างๆและนักวิจัยจำนวนมากกำลังทำให้กาแฟแคปซูลมีความยั่งยืนมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะโอกาสในการขายแคปซูลที่มีความยั่งยืน (เพราะคนส่วนใหญ่ยังคิดว่ากาแฟแคปซูลไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เพราะว่ากาแฟแคปซูลเป็นวิธีการดื่มกาแฟที่ไม่ยั่งยืนจริงๆ)
2
การศึกษาโดยบริษัท Quantis เปรียบเทียบการใช้ไฟฟ้าในระหว่างการต้ม การให้ความร้อน และการสูญเสียกาแฟสำหรับการเตรียมกาแฟหนึ่งแก้วจากเครื่องชงแบบแคปซูลและการชงแบบดริป การศึกษาพบว่ากาแฟแบบแคปซูลใช้ปริมาณกาแฟสดเท่าที่จำเป็นซึ่งช่วยลดปริมาณขยะกาแฟ ในขณะที่ผู้ทำกาแฟดริปมักจะมีกาแฟที่เหลือทิ้ง และเครื่องทำเอสเปรสโซที่ใช้แก๊สหรือจานร้อนนั้นใช้พลังงานมากกว่าเครื่องชงแบบแคปซูลมาก
การวิจัยโดยบริษัท KTH ในสตอกโฮล์ม พบว่ากาแฟกรองมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกันแบบถ้วยต่อถ้วย กาแฟกรองจะใช้เมล็ดกาแฟประมาณ 7 กรัมต่อถ้วย เทียบกับ 5.7 กรัมสำหรับกาแฟแคปซูล เมื่อนำไปคูณกับจำนวนกาแฟที่ดื่มไปทั่วโลกหลายพันล้านถ้วยในแต่ละปี จะทำให้ปริมาณเมล็ดกาแฟที่ต้องปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูป และขนส่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บวกกับพลังงานทั้งหมดที่จำเป็นในการให้ความร้อนแก่น้ำเมื่อเราต้องชงกาแฟยิ่งทำให้ผลกระทบมากขึ้นมหาศาล
1
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันแคปซูลกาแฟในตลาดส่วนใหญ่ยังเป็นพลาสติก แคปซูลส่วนใหญ่ผลิตโดย Lavazza/ Nestle/Nescafé Dolce Gusto และ L'Or Tassimo แคปซูลพลาสติกบางชนิด เช่น เม็ดพลาสติกผสมใน Nescafé Dolce Gusto ของเนสท์เล่ สามารถนำไปรีไซเคิลได้ แคปซูลพลาสติก L'Or Tassimo สามารถนำไปรีไซเคิลได้ แต่ต้องส่งที่จุดรับส่งสาธารณะ
ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา Nespresso ได้ผลิตแคปซูลอะลูมิเนียมที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ทั้งหมด แต่ข้อเสียก็คือ ผู้บริโภคต้องส่งแคปซูลคืนให้แก่ Nespresso เพื่อไปดำเนินการที่โรงงานรีไซเคิลของบริษัท นั่นเป็นเพราะแคปซูล Nespresso ไม่ใช่อะลูมิเนียมบริสุทธิ์และด้านในมีซับด้วยซิลิกอน ดังนั้นแคปซูลจึงต้องมีกระบวนการรีไซเคิลแบบพิเศษ
Nespresso ยังพยายามกระตุ้นให้ผู้บริโภคเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นโดยบริษัทให้ถุงส่งคืนฟรีสำหรับแคปซูลที่ซื้อหรือผู้บริโภคสามารถส่งแคปซูลที่ใช้แล้วที่ร้าน Nespresso ที่จุดรับสินค้าโดยในขณะนี้อัตราการ รีไซเคิลอยู่ที่ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์
1
แม้ว่าโรงงานรีไซเคิลของ Nespresso จะอยู่ในอันดับต้นๆ แต่ความยุ่งยากและภาระที่ตกอยู่กับลูกค้าทำให้อัตราการนำกลับมาใช้นั้นไม่สูงเท่าที่ควร นอกจากนี้ถึงแม้จะใช้แคปซูลอะลูมิเนียมที่สามารถทิ้งลงในถังขยะรีไซเคิลตามบ้านได้ การจะนำแคปซูลไปรีไซเคิลกาแฟจากแต่ละแคปซูลจะต้องถูกเททิ้งก่อน ซึ่งคนส่วนใหญ่คงไม่คิดว่าการทำเช่นนั้นทุกๆครั้งที่ดื่มกาแฟจะเป็นเรื่องสะดวก ดังนั้นการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคจึงมีบทบาทสำคัญมาก
1
บริษัทกาแฟแคปซูลอ้างว่าผลิตภัณฑ์ของตนสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และนั่นก็ถูกต้อง ปัญหาคือการรวบรวมแคปซูลที่ใช้แล้วและการรีไซเคิลที่ซับซ้อนนักดื่มกาแฟจำนวนมากจึงไม่สนใจ การให้ค่าตอบแทนจากการส่งคืนอาจจูงใจให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นส่งคืนแคปซูลที่ใช้แล้ว แต่ปัจจุบันเรายังไม่ได้เห็นรูปแบบธุรกิจนี้จาก Nespresso หรือคู่แข่ง
1
หาก Nespresso และบริษัทอื่นๆ ทั้งหมดเปลี่ยนไปใช้แคปซูลอะลูมิเนียมที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ทั้งหมดอาจเป็นการง่ายกว่าที่จะโน้มน้าวให้ผู้บริโภคโยนกาแฟที่เหลือทิ้งลงในถังขยะที่บ้านแล้วโยนแคปซูลลงในถังรีไซเคิล นี่เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในแง่สิ่งแวดล้อม ยกเว้นเมื่อเทียบกับกาแฟสำเร็จรูปซึ่งให้ผลดีที่สุดในการศึกษาการประเมินวงจรชีวิตการผลิตและบริโภคกาแฟทั้งหมด
อย่างไรก็ตามไม่น่าจะเป็นไปได้ที่ Nespresso จะตัดสินใจเอาซิลิคอนออกจากแคปซูล สำหรับบริษัทการรีไซเคิลแบบพิเศษเกี่ยวข้องกับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากแคปซูลที่มีซิลิกอนได้รับการจดสิทธิบัตร (แต่เดิมวิธีนี้ใช้เพื่อป้องกันไม่ให้คู่แข่งผลิตแคปซูลกาแฟที่ใช้งานได้กับเครื่องชงกาแฟ Nespresso ซึ่งสุดท้ายแล้วการฟ้องร้องก็ทำให้แนวทางนี้ต้องยุติไป) เนื่องจากเครื่องชงกาแฟ Nespresso ผลิตขึ้นให้เหมาะกับแคปซูลของ Nespresso เองมากที่สุดดังนั้นหาก Nespresso เลิกใช้แผ่นซิลิคอนพวกเขาจะสูญเสียสิ่งที่บริษัทเห็นว่าเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันไป
หากผู้บริโภคส่วนใหญ่นำแคปซูลอะลูมิเนียมกลับมาใช้ใหม่ นั่นย่อมจะดีสำหรับสิ่งแวดล้อมมากกว่าการใช้แคปซูลพลาสติก อย่างไรก็ตามการวิจัยล่าสุดของ Quantis ชี้ให้เห็นว่าการผลิตแคปซูลพลาสติกใช้พลังงานน้อยกว่าการผลิตอลูมิเนียม ดังนั้นหากการรีไซเคิลแคปซูลอะลูมิเนียมไม่แพร่หลายการใช้แคปซูลพลาสติกก็อาจจะเป็นทางออกที่ดีกว่า (ข้อสังเกต : ผลการศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่าถุงพลาสติกที่อ้างว่าย่อยสลายได้ทางชีวภาพสามารถใช้จับจ่ายซื้อของได้หลังจากถูกฝังอยู่ในพื้นดินหรือในมหาสมุทรเป็นเวลากว่า 3 ปี แคปซูลพลาสติกเองก็จะมีอายุการใช้งานยาวนานเท่าๆกันเป็นอย่างน้อย)
3
แล้วแคปซูลที่ย่อยสลายได้ล่ะ? นักวิจัยเห็นพ้องต้องกันว่าแคปซูลที่ย่อยสลายได้ไม่ใช่ทางออกเนื่องจากแคปซูลเหล่านั้นมักไม่ค่อยถูกกำจัดอย่างถูกต้อง หากเราทิ้งแคปซูลที่ย่อยสลายได้ลงในเตาเผาขยะในเขตเทศบาล การย่อยสลายได้นั้นจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย
การผลิตแคปซูลที่ย่อยสลายได้ยังก่อให้เกิดมลพิษมากพอๆ กับการผลิตพลาสติก และถ้าแคปซูลเหล่านั้นลงเอยในหลุมฝังกลบมันจะสลายตัว ทำให้เกิดก๊าซมีเทนและไปสิ้นสุดในชั้นบรรยากาศ ในหลุมฝังกลบเราต้องการให้สิ่งต่างๆ คงอยู่และเสถียร แต่ถ้าเราฝังแคปซูลไว้ในสวนหลังบ้านนั่นยังไม่ดีพอเพราะกว่าที่แคปซูลจะถูกย่อยสลายจะต้องใช้เวลานานหลายปี
1
อย่างไรก็ตามหากเราไม่ได้ทิ้งแคปซูลที่ย่อยสลายได้ลงในถังขยะธรรมดาแต่ใส่ลงในถังขยะพิเศษที่นำไปทำปุ๋ยหมักแคปซูลเหล่านั้นก็ดีกว่าอะลูมิเนียมหรือพลาสติก (แม้ว่าทั้งสองสิ่งนี้จะถูกนำไปรีไซเคิลอย่างแพร่หลายก็ตาม) ปัญหาคือการแยกขยะนั้นยังไม่ค่อยเกิดขึ้น
ถึงอย่างนั้นหลายๆบริษัทก็กำลังทดลองกับวัสดุที่ย่อยสลายได้ เช่น Sendero Specialty Coffee ซึ่งตั้งอยู่ในลอนดอนได้ทำแคปซูลที่ย่อยสลายได้จากพอลิเมอร์ชีวภาพ เช่น แป้ง กลูโคส และลิกนิน ซึ่งพบได้ในเปลือกไม้ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทกล่าวว่า แคปซูลสามารถย่อยสลายได้ภายในหกเดือน และสามารถทิ้งได้เช่นเดียวกับการทิ้งเศษอาหาร
2
บริษัท Atomo สตาร์ทอัพในซีแอตเทิลได้เสนอวิธีการแก้ปัญหาใหม่โดยเปิดตัว “โมเลกุลกาแฟ” ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้เมล็ดกาแฟจริงทั้งหมดแต่ใช้สารประกอบโมเลกุลที่ออกแบบทางวิทยาศาสตร์ให้ยังคงคาเฟอีนเอาไว้ บริษัทพิจารณาสารประกอบทั้งหมดในกาแฟในระดับโมเลกุล ทั้งรสชาติ ความรู้สึกในปาก กลิ่น สี และสารประกอบมากกว่า 1,000 ชนิดในการออกแบบกลิ่นหอมและรสชาติ Atomo ใช้สารประกอบที่ได้มาจากธรรมชาติ ในขณะที่ไม่ใช้ โพลีแซ็กคาไรด์ น้ำมัน และโปรตีนที่พบในส่วนที่ไม่ละลายน้ำของเมล็ดกาแฟ ดังนั้นการผลิตกาแฟด้วยวิธีนี้จึงมีผลกระทบน้อยกว่า
การวิจัยของ Atomo อาจมีประโยชน์อย่างยิ่งในอนาคต เนื่องจากการศึกษาจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ได้เตือนว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ต้นกาแฟอยู่รอดและเติบโตได้ยากขึ้น กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของกาแฟที่ผู้บริโภคดื่มมาจากสายพันธุ์อาราบิก้าและอาราบิก้ามีความอ่อนไหวต่ออุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นอย่างมากซึ่งส่งผลต่อสรีรวิทยาของพืช เมื่อพื้นดินชั้นล่างอุ่นขึ้นอาราบิก้าจะหยุดการเติบโต นิตยสาร Nature มีบทความที่เตือนว่าในเอธิโอเปียซึ่งปลูกอาราบิก้าเป็นหลัก การเพาะปลูกกาแฟกว่า 60% จะไม่สามารถทำได้ภายในปี 2100 ในขณะเดียวกันนักวิจัยในคอสตาริกาได้สร้างพืชกาแฟไฮบริดที่ดัดแปลงพันธุกรรมซึ่งทนทานกว่าต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่รุนแรงขึ้น
ข้อสรุป
เมื่อคิดถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการดื่มกาแฟแคปซูลนั้นดีกว่าวิธีการชงกาแฟแบบอื่นๆยกเว้นเพียงการดื่มกาแฟสำเร็จรูป อย่างไรก็ตามสิ่งนี้ไม่ได้ขจัดข้อเท็จจริงพื้นฐานที่ว่าผลิตภัณฑ์ใดๆ ที่สร้างของเสียย่อมก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม
โฆษณา