10 มิ.ย. 2021 เวลา 14:09 • ธุรกิจ
# อยากประสบความสำเร็จเร็ว ทำรายได้ 10 เท่าแบบไม่เหนื่อย มาเป็นผู้นำกันเถอะ !!# EP.3
จาก EP.1 และ EP.2 ที่ผ่านมา ผู้เขียนเล่า ถึง การเป็น "ผู้นำ"
ไม่ได้เป็นแค่ "คนสั่ง" หรือ "บัญชาการ" ให้คนอื่นทำตาม
หรือเป็นคนกำหนดว่า ถ้าไม่ทำตาม จะโดนลงโืทษอย่างไร
หรือ ถ้าทำจะได้ผลตอบแทนเท่าไหร่
แต่ผู้นำ มี 5 ระดับ และระดับที่หนึ่งเป็นอย่างไร
ซึ่ง ท่านสามารถกลับไปอ่านได้ใน ลิงค์นี้
EP.1 : ผู้นำ 5 ระดับที่จะสร้างรายได้ 10 เท่า
EP. 2 ผู้นำระดับที่ 1
ใน EP.นี้ ผู้เขียนจะมาสรุปการเป็นผู้นำในระดับ 2 ให้ประสบความสำเร็จ
และทำอย่างไร จึงจะสามารถพัฒนาตนเอง
ให้เป็นผู้นำในระดับที่สูงขึ้น
และ เราต้องมี Mindset แบบใดที่จะเป็นผู้นำที่ดีในระดับนี้
จากหนังสือ The 5 Levels of Leadership ของ John C Maxwell
ได้พูดถึงผู้นำในระดับ 2 ว่า
เป็นผู้นำที่คนทำตามเพราะได้รับการยอมรับ
คนทำตามเพราะอยากทำ
ซึ่งหมายถึงว่า ผู้นำแบบนี้ ได้รับความรัก
เป็นที่ชื่นชอบของคนในทีมจนอยากทำงานด้วย
การเป็นผู้นำในระดับ 2 มีข้อดีหลายประการ
เช่น ทำให้การทำงานสนุกขึ้น เพราะคนอยากมาทำงานด้วย
ทำให้เกิดความกระตือรือร้น ทำงานเป็นทีม
มีความไว้วางใจกันเพราะความรักใคร่ชอบพอกัน
แต่ในความดี ก็มีข้อเสียถ้า
ผู้นำท่านนั้น อ่อนโยนจนอ่อนแอ
มัวแค่รอมชอม กลัวเสียน้ำใจไม่กล้าตัดสินใจ
อาจจะทำให้คนไฟแรงบางคนอึดอัด
อาจจะเกิดการเอาเปรียบกันได้
ดังนั้น เพื่อแก้จุดอ่อนของการเป็นผู้นำในระดับที่ 2
ใครก็ตามที่ดูเหมือนจะอยู่ในระดับนี้
ควรทำสิ่งเหล่านี้ -:
1) ต้องรู้จักตัวเอง ว่า เรามีจุดดี และจุดด้อยในเรื่องใด
และเข้าใจ จุดดี และจุดด้อย ของคนในทีม
แล้วพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
2) สร้างสภาวะผู้นำแบบที่ให้ความสำคัญกับผู้อื่น
ต้องคิดถึงระบบหรือกฎเกณฑ์ให้น้อยลง
แต่เข้าใจผู้อื่น รับฟังความคิดเห็น
3) ปฏิบัติต่อผู้อื่นในแบบที่คุณเองก็อยากให้เขาปฎิบัติต่อคุณ
4) เป็นผู้ให้กำลังใจของทีม
"คำพูดดีๆ อาจจะสั้นและพูดง่าย
แต่เสียงสะท้อนของมัน
จะกึกก้องอยู่ไม่รู้จบ"
(แม่ชีเทเรซา)
5) สร้างความสมดุลระหว่างการเอาใจใส่ และ ความตรงไปตรงมา
กล้าพูดตรงๆ ถ้าลูกน้องมีอะไรต้องพัฒนา
อย่ากลัวคนเสียใจ
จากการเป็นผู้นำระดับที่ 2 นั้น ถ้ายังไม่พัฒนาตนเอง
ให้กลายเป็นผู้นำระดับที่ 3 ก็ยังจะเหนื่อยอีกนาน
Mindset ที่จะช่วยให้ก้าวขึ้นไปในระดับที่ 3 คือ
1) ต้องรู้ว่า แค่ความสัมพันธ์อย่างเดียวไม่พอ
ต้องสามารถพาคนให้ประสบความสำเร็จด้วย
2) การสร้างความสัมพันธ์ต้องใช้การพัฒนาสองขั้นตอน
คือต้องเข้าหาผู้อื่น และทำความรู้จักคนอื่นให้มากขี้น
จะได้รู้ว่า เราต้องทำงานกับคนเหล่านี่อย่างไร
3) กล้าเสี่ยงที่จะทำอะไรใหม่ๆ แม้สิ่งนั้นอาจจะกระทบความสัมพันธ์
เพราะถ้ามัวแต่แคร์ความรู้สึกของคนอื่น
อาจจะไม่กล่้าทำอะไรที่ต้องทำ และอาจจะสร้างความเสียหายได้
หนังสือนี้ยังได้ให้แนวทางในการพัฒนาตนเอง
ให้ก้าวสู่การเป็นผู้นำในระดับที่ 3 ดังนี้
1. ต้องมีทัศนคติที่ดีต่อคนอื่น
2) ทำความรู้จักตัวเอง พัฒนาตัวเองทั้งทักษะความสามารถ
บุคลิก ภาพลักษณ์ อารมณ์ ความคิด
3) เข้าใจตัวเอง ว่า ปกติเราชอบอะไร ไม่ชอบอะไร
ถนัดอะไร
4) แสดงให้ทีมงานแต่ละคนรู้ว่า คุณเห็นคุณค่าของพวกเขา
นึกถึงข้อดีของแต่ละคน เพื่อใช้ในการขอบคุณและชื่นชม
5) เราควรประเมินตนเองว่า เรารู้จักทีมงานดีแค่ไหน
6)ยอมรับว่า ส่วนหนึ่งของการเป็นผู้นำ
คือการยอมรับทั้งข้อดีและข้อเสียของคนอื่น
7) ตั้งเป้าหมายไว้ที่ความสนุกสนาน
สร้างบรรยากาศการทำงานให้กระตือรือร้น สนุกสนาน
8) สนใจคนอื่นอย่างเต็มที่
9) จงเป็นผู้ให้กำลังใจของทีม
10) เอาใจใส่และพูดอย่างตรงไปตรงมา
จากประสบการณ์ทำงานโดยตรงของผู้เขียน
ผู้เขียนเคยพบผู้บริหาร ผู้นำองค์กร
ที่เป็นผู้นำในระดับที่ 1 และ ระดับที่ 2
ซึ่งธุรกิจที่ทำงานคนเดียว หรือ SMEs มักจะเป็นแบบนี้
องค์กรที่มีผู้นำ เป็นผู้นำแบบระดับที่ 1
ประเภทชี้นิ้วสั่ง หรือ คิดว่า เอาเงินจ้างพนักงาน
และใช้การจ้ำจี้จ้ำไช หรือจิก คนให้ทำงาน
ไม่งั้นไม่มีผลลัพธ์
ปัญหาขององค์กรที่มีผู้นำในระดับนี้ คือ
การที่มีปัญหาการลาออกสูง โดยเฉพาะคนเก่ง**
คนที่เหลืออยู่ คือคนที่ไม่มีทักษะความสามารถ
และสามารถอดทนต่อนิสัยแบบนี้ได้
องค์กรที่มีผู้นำ เป็นผู้นำแบบระดับที่ 2
เป็นประเภทใจดีค่ะ ลูกน้องรักมาก
อยู่กันนานๆ เป็นพนักงานอาวุโส
และเห็นอกเห็นใจ ร่วมทุกข์ร่วมสุขมา
หลายคนอาจจะเริ่มตั้งกิจการมาด้วยกัน
ในตอนที่ธุรกิจเล็กๆ ไม่ต้องใช้ความรู้ความสามารถมากนัก
การที่เป็นผู้นำในระดับที่ 1 จ้างลูกน้องมา
ให้ความรัก ความเมตตา จนเป็นที่รัก
ทำให้ลูกน้องอดทนพยายาม จนบริษัทเติบโต
แต่ไม่ได้พัฒนาทักษะความสามารถของลูกน้อง
อาจจะด้วยความเกรงใจ กลัวรู้น้องรำคาญ เบื่อ เพราะตัวเองสอนไม่เป็น
หรืออาจจะตนเองก็ยังไม่เชี่ยวชาญพอที่จะสอน
เมื่อบริษัทเติบโต ทักษะลูกน้องเก่า อาจจะไม่ทันยุคสมัย
และอาจจะเคยชินกับความยืดหยุ่น
ทำผิดกฎระเบียบก็อะลุ้มอะหล่วย หยวนๆกัน
ดูแลกันด้วยความรัก
ก็ทำให้เสียการปกครอง เพราะมีกฎแล้วไม่กล้าใช้
SMEs ในประเทศไทยจำนวนมากมีปัญหาแบบนี้
จึงไม่ค่อยโต และเปิดมามากมายก็เสียหายไปเยอะ
ที่รอดจริงๆ ก็มีไม่ถึง 10%
ส่วนมากจะปิดกิจการก่อน 5 ปี
ปัญหาเพราะการขาดภาวะผู้นำ
และที่อยู่เกิน 10% ก็จะโตเป็นขนาดใหญ่ยาก
หลายๆองค์กรที่อายุยาวนาน
ก็มีปัญหาเรื่องทีมเก่า ทีมใหม่
และมีปัญหาการเมืองในองค์กร
เพราะ ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ ของผู้นำระดับที่ 2
จากการที่ผู้เขียนได้ติดตามและวิเคราะห์ดู
ปัญหาของผู้นำทั้ง 2 ระดับ ที่ไม่สามารถก้าวข้ามได้
ทำให้องค์กร เติบโตยาก เพราะขาดทักษะการโค้ชชิ่ง
บางองค์กร ผู้นำ อาจจะไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ได้เอง
ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในสิ่งที่ทำ
ไม่สามารถสอนคนได้
จึงต้องโอนอ่อนผ่อนตาม ลูกน้องผู้มีบารมีบางคน
จึงต้องยืดหยุ่น ไม่ทำตามกฎเกณฑ์
กลัวลูกน้องลาออก
หรือผู้นำระดับที่ 1 อาจจะเก่งงาน แต่ไม่เก่งคน
และขาดมนุษยสัมพันธ์ ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องคน
ก็ทำให้ไม่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ หรือทักษะที่มีได้
ดังนั้น ผู้นำในระดับที่ 1 และ 2 จะต้องทำงานหนัก
และได้ผลลัพธ์น้อย
ถ้าสามารถพัฒนาตนเองให้เป็น ระดับที่ 3 และ 4
ธุรกิจจะติดจรวดและโตเร็ว
ถ้ายิ่งในระดับ 5 แล้ว แทบจะไม่ต้องเหนื่อยเลย
เพราะรอดูการเติบโตอย่างเดียว
และใช้วิสัยทัศน์และความน่าเชื่อถือ สร้างธุรกิจใหม่ๆได้เลยค่ะ
เอาไว้ EP หน้า เรามาคุยกันในรายละเอียดต่อไป
เพื่อยกระดับทางความคิดกันนะคะ
เมื่อความคิดเปลี่ยน จะทำให้การกระทำเปลี่ยน
เมื่อการกระทำเปลี่ยน จะทำให้การเป็นของเราเปลี่ยนไปค่ะ
ถ้าคุณคิดว่า บทความนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆของคุณ
หรือคนในองค์กรของคุณ หรือคุณเอง ก็ฝากช่วยแชร์นะคะ
สิ่งที่คุณแชร์ อาจจะช่วยใครบางคนได้
เรียบเรียงโดย
รัตนา ธนสารกิจ
ที่ปรึกษาธุรกิจ และองค์กรธุรกิจ
โฆษณา