Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Farang VS Thai
•
ติดตาม
11 มิ.ย. 2021 เวลา 22:59 • ครอบครัว & เด็ก
“ชุดนักเรียน” ฝรั่ง VS ไทย (ตอนที่ 1)
เคยสงสัยหรือไม่ ในประเทศที่นักเรียนใส่ชุดไปรเวทไปเรียน พวกเขารู้สึกอย่างไร และ การใส่ชุดไปรเวทของพวกเขาทำให้เกิดความเลื่อมล้ำในสถานศึกษาหรือไม่? ทำไม และ เพราะอะไรถึงเป็นเช่นนั้น? มาจับเขาคุยกันจ้า 😊
6
อาทิตย์ที่ผ่านมา มีกระแสที่พูดถึงการให้นักเรียนใส่ชุดนักเรียนในขณะที่นั่งเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้าน!😱
เราจึงเกิดความคิดว่าน่าจะเล่าเรื่องการแต่งกายของนักเรียนที่ประเทศสวีเดนกันบ้าง
ในประเทศสวีเดนไม่มีการกำหนดเครื่องแบบให้นักเรียนต้องใช้
ตลอดชีวิตการเรียนจนจบมัธยมปลาย มีเครื่องแบบที่พวกเขาใช้เพียงชุดเดียวและใช้ครั้งเดียววันเดียว เป็นชุดสีขาวทั้งชายและหญิง และหมวกสีขาวซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์ที่สำคัญ
ซึ่งเป็นยูนิฟอร์มที่พวกเขาใช้ใส่สำหรับพิธีจบการศึกษามัธยมปลายหรือ ม.6 (ดูรูปภาพเพิ่มเติมจากลิ้งค์ด้านล่าง)
เรามาดูกันว่าพวกเขาคิดอย่างไรกับการแต่งชุดไปเวทไปเรียน และมาวิเคราะห์กันว่าอะไรที่ทำให้เขารู้สึกอย่างนั้น
โดยเราได้คุยกับลูกของเรา, เพื่อนๆ ของเขาที่ยังเป็นนักเรียน และชาวสวีดีสบางคนทั้งวัยรุ่นและในวัยทำงาน
👉🏻 เมื่อเราถามว่า พวกเขารู้สึกอย่างไรกับการแต่งกายไปรเวทไปเรียน
🔸คำตอบที่ได้จากทุกคนทุกรุ่น คือ พวกเขาพอใจกับการไปเรียนด้วยการแต่งตัวไปรเวท
👉🏻 เมื่อถามว่า พวกเขารู้สึกถึงความเลื่อมล้ำ หรือการแข่งขันกันเรื่องแฟชั่นการแต่งกาย เช่น เสื้อผ้า รองเท้ายี่ห้อที่กำลังดัง หรือไม่อย่างไร และรู้สึกอย่างไรหากพวกเขาต้องใส่ชุดนักเรียนเหมือนกันทุกคน
1
🔸เด็กวัยรุ่นตอนต้น ช่วงอายุ 13-15 ปี กล่าวว่า
พวกเขาคิดว่าเสื้อผ้าเป็นเพียงเครื่องแต่งกายภายนอก พวกเขาไม่ให้ความสำคัญที่ยี่ห้อแต่ดูที่คุณภาพและความเหมาะสม
1
มีเพื่อนของพวกเขาบางคน ที่นิยมใช้เสื้อผ้าที่ตามแฟชั่น เพื่อนๆเหล่านั้นดูมีความสุขและสนุกกับสิ่งที่พวกเขาทำ
มันเป็นเรื่องส่วนตัวและเป็นสิทธิของเพื่อน ส่วนตัวของพวกเขา ถ้าไม่รู้สึกชอบเป็นพิเศษ ก็ไม่รู้สึกว่าจะต้องหามาใช้ให้ได้ตามคนอื่น
1
และหากจะให้ใส่ชุดนักเรียนเหมือน ๆ กันทุกคน พวกเขาบอก "ลาก่อน!" 😱 (หมายถึงไม่เอาด้วย 😅)
🔸 คนในช่วงวัยรุ่น กล่าวว่า
บางทีก็รู้สึกสนุกเท่ห์และดูทันสมัยหากมีเสื้อผ้าแฟชั่นที่กำลังเป็นที่นิยมสวมใส แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่สำคัญที่สุด
หากเพื่อนๆ จะมีใช้แต่เขาไม่มี ก็ไม่ได้รู้สึกอะไรมาก ขึ้นอยู่กับว่าเขาต้องการมันไหม ถ้าเขาต้องและชอบก็ขอความช่วยเหลือจากทางบ้าน หรือใช้เงินสะสมของตัวเองหรือไม่ก็ทำงานเองช่วงซัมเมอร์
แต่ถ้าเขากำลังสะสมเงินเพื่อเป้าหมายอะไรสักอย่าง เช่น ฉันกำลังเก็บเงินซื้อรถในอนาคต เสื้อผ้าแฟชั่น (หมายถึงที่มียี่ห้อและมีราคา) ก็ไม่มีผลต่อความรู้สึกของฉัน
และถ้าจะให้เขาใส่ชุดยูนิฟอร์มนักเรียน เขาคิดว่าเขาคงไม่มีสมาธิกับการเรียนแน่ๆ 😱 (หมายถึงไม่เห็นด้วย)
🔸 กลุ่มคน 50+ กล่าวว่า
ช่วงที่เขาเป็นวันรุ่น มีบ้างบางครั้งที่มีแฟชั่นใหม่ๆมา มันก็รู้สึกเท่ห์และทันสมัยถ้าเขามีสิ่งนั้นด้วย สมัยก่อนสไตล์การแต่งตัวไม่มีหลากหลายดั่งปัจจุบัน
การแข่งขันหรือความเลื่อมล้ำในเรื่องการแต่งตัว ส่วนตัวพวกเขาไม่รู้สึกมาก มีบ้างบางครั้งที่ เช่น มียีนส์สไตล์ใหม่ๆ มา และค่อนข้างมีราคา แต่เขายังไม่มีใส่ ก็รู้สึกบ้างว่าอยากมี แต่ก็ไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด และหากต้องการจริงๆ ก็ยังพอหามาใช้ได้
เมื่อถามว่าถ้าเขาเป็นเด็กอีกครั้งจะอยากใส่ชุดนักเรียนไหม
อันนี้เขาบอกว่าไม่แน่ใจว่าจะรู้สึกอย่างไร แต่ถ้าเป็นชุดทำงานก็คงน่าเบื่อที่ต้องใช้เสื้อผ้าซ้ำๆ กันทุกวัน
แต่อย่างไรก็ตาม เขาคิดว่าการใส่ชุดนักเรียนอาจจะมีข้อดีตรงที่ไม่ต้องคิดวางแผนเรื่องการแต่งตัวมาก
สรุปคือ พวกเขาทุกรุ่นพอใจกับการที่ไม่ต้องใส่ชุดนักเรียน และการแต่งกายไปรเวทของพวกเขา ไม่ถือว่ามีผลทำให้เกิดการเลื่อมล้ำในกลุ่มเพื่อน
แน่นอนว่าเมื่อพวกเขาชินกับการแต่งไปรเวทแล้ว จะให้เปลี่ยนเป็นยูนิฟอร์มคงยาก เช่นเดียวกับนักเรียนไทยถ้าจะให้เปลี่ยนเป็นไปเวท ก็อาจจะมีนักเรียนส่วนหนึ่งที่รู้สึกแปลกๆ
ที่นี้เรามาวิเคราะห์กันว่า ทำไมการแต่งไปรเวทที่เมืองไทย ผู้คนจึงเชื่อกันว่าจะทำให้เกิดการเลื่อมล้ำ แต่ทำไมไม่เกิดขึ้น (มาก) ที่ประเทศสวีเดน นั้นเป็นเพราะ..
👉🏻 ระบบการศึกษาของเขา ที่กระตุ้นให้เด็กได้รู้จักตัวเอง
ระบบการศึกษาของสวีเดนนั้น พยายามกระตุ้นให้เด็กได้คิด ได้วิเคราะห์ แทนการท่องและจำ
พวกเขามีความเชื่อด้วยพื้นฐานว่า เด็กหรือมนุษย์ทุกคนนั้นมีความชอบ ความสามารถ และพรสวรรค์ ต่างกัน ระบบการศึกษาของพวกเขาจึงเน้นที่จะกระตุ้นให้เด็กสามารถค้นหาและค้นพบตัวเอง
แทนการเลียนแบบหรือเดินตามผู้ที่ประสบความสำเร็จก่อนหน้า หรือ การกำหนดแบบแผนชี้นำหน้าที่ให้เด็ก ว่าเด็กที่ดีจะต้องเป็นอย่างไร ทำอย่างไร หรือ ทำอะไรบ้าง
👉🏻 วัฒนธรรมที่สอนและสนับสนุนให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง
นอกจากระบบการศึกษาแล้ว สังคมแวดล้อมและวัฒนธรรม คำสอนของพวกเขา ยังสอนและกระตุ้นให้เด็กเดินหน้าต่อไปข้างหน้า ด้วยความเป็นตัวของตัวเอง
เช่น วลีที่เป็นที่รู้จักกันดี “เป็นตัวของตัวเอง (Var dig själv)” หรือ “จงกล้าที่จะเป็นตัวของตัวเอง (Våga vara dig själv)”
แทนคำสอนที่เราคนไทยมักได้ยินกัน ตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด หรือ ผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อน
เราไม่ได้หมายถึงคำสอนนี้ไม่ดี แต่ให้ลองคิดว่าเรากำลังสอนให้เด็กเดินอยู่กับที่ไหม การค้นพบตัวเองอาจจะเป็นการค้นพบสิ่งใหม่ที่เหมาะกับเด็ก แต่การสอนให้เด็กเดินตามเราซึ่งอาจจะไม่เหมาะที่สุดกับพวกเขา
เรากำลังสอนให้เด็กมองโลกดีเกินไปไหม เหมือนเราสอนให้เด็กอย่ากินของหรือขนมที่ได้รับจากคนแปลกหน้า เพื่อให้เด็กมีภูมิคุ้มกันตัวเองในสังคม
การสอนให้เด็กเดินตามผู้ใหญ่ มันเหมือนเรากำลังทำร้ายภูมิคุ้มกันทางสังคมเด็ก เพราะเรากำลังสอนให้เด็กเดินตามใครๆ ที่เป็นผู้ใหญ่ โดยไม่ให้ดูว่าผู้ใหญ่เป็นคนดีหรือไม่
1
การสอนและกระตุ้นให้เด็กเข้าใจและรู้จักตัวเอง รวมถึงการเป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่การสอนให้เด็กดื้อหรือไม่เชื่อฟัง
สิ่งที่เด็กที่นี่ได้เรียนรู้ควบคู่กับการกระตุ้นให้เป็นตัวของตัวเอง คือ การเป็นตัวเองภายใต้สิทธิของตัวเอง แต่ต้องไม่ระราน หรือ ทำลายสิทธิของผู้อื่น และต้องไม่ผิดกฎหมาย
รวมถึงพวกเขาถูกสอนให้เชื่อ เมื่อได้ฟังแล้ว ทำการคิดวิเคราะห์แล้ว ว่าสิ่งที่ฟังนั้นมีเหตุและผล ดังนั้น ถ้าผู้ใหญ่มีเหตุและผล พวกเขาก็ย่อมเชื่อและฟังรวมถึงเคารพ
กระนั้นเด็กส่วนใหญ่ของพวกเขาก็ไม่ได้ก้าวร้าว เพราะการศึกษาที่มีประสิทธิภาพได้สอนและกระตุ้นให้จิตสำนึกของความเป็นมนุษย์สูงขึ้น
🔺ทำให้พวกเขาส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่น เป็นตัวของตัวเอง แต่ด้วยความสุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นมิตร และเชื่อฟังอย่างมีเหตุมีผล
เรารู้ว่าการพูดตรงๆ กระทบกับสิ่งที่ผู้คนผูกพัน และ ถูกปลูกฝังมาเนินนานนั้น อาจจะทำให้หลายคนยากที่จะรับมันได้ แต่ทั้งหมดเราเพียงอธิบายว่าคนที่นี้เขาช่วยให้เด็กเดินไปข้างหน้าสู่โลกความเป็นจริงอย่างไร
และท่านไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หากท่านไม่ต้องการ
👉🏻 การสามารถเลียงลำดับความสำคัญของความจำเป็น
เด็กจะถูกสอนให้มีความมุงมั่นและเรียงลำดับความสำคัญสิ่งที่ต้องทำ ดั่งที่มีการตอบว่าหากเขาตั้งใจจะสะสมเงินเพื่อซื้ออะไรสักอย่าง
เขาสามารถตัดค่าใช้จ่ายอื่นหรือความต้องการอื่นที่มีความสำคัญน้อยกว่าทิ้ง อย่างเช่น เสื้อผ้าแฟชั่น (ที่มีราคา) เพื่อมุ่งสะสมเงินสำหรับซื้อสิ่งที่เขาตั้งเป้าหมายไว้
👉🏻 เศรษฐกิจและค่าเงิน
ด้วยเศรษฐกิจของประเทศที่มีความสมดุล และค่าเงินที่ทำให้พวกเขาสามารถซื้อสินค้าหรือเสื้อผ้าแฟชั่นที่มีราคาได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกับเด็กวัยรุ่นส่วนหนึ่งที่ประเทศไทย
ทำให้สิ่งเหล่านี้ที่แม้จะเป็นแฟชั่น แต่ก็ไม่ได้มีความหมายพิเศษอะไรมากสำหรับพวกเขา
3
👉🏻 ความเป็นอยู่ของผู้คน มีความใกล้เคียงกัน
ในประเทศสวีเดนช่องว่างระหว่างคนจน - คนรวย มีให้เห็นน้อย ผู้คน (ไม่ค่อย) รู้สึกว่าต้องแข่งขัน หรือแสดงความเป็นอยู่ที่ดีเพื่อพิสูจน์ตัวเอง ผู้คนส่วนใหญ่สามารถมีความสุขจากข้างใน
ทั้งหมดทำให้เด็กที่นี่ค่อนข้างจะมีความมั่นใจในตัวเอง มีความเป็นตัวของตัวเองสูง และมีความเข้มแข็งจากข้างใน
เมื่อมีความพร้อมจากข้างใน ทำให้ปัจจัยภายนอกอย่างเครื่องแต่งกาย เป็นเพียงแฟชั่นหรือสิ่งที่ช่วยเสริมเพิ่มความมั่นใจภายนอก แต่ไม่ถึงกับทำให้เกิดปัญหาการแข่งขันหรือการเลื่อมล้ำกัน มากนัก
จะเห็นว่า “ระบบการศึกษา” และวัฒนธรรมคำสอนต่างๆ นั้น มีความสำคัญมากที่จะช่วยสร้างและสนับสนุนให้เด็กคนหนึ่ง กลายเป็นผู้ใหญ่แบบไหนในอนาคต
ระบบการศึกษาของประเทศที่พัฒนาแล้วทุุกประเทศ จะถูกออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ค้นพบตัวเอง และดึงศักยภาพความเป็นตัวของตัวเองออกมาพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
นอกจากมีระบบการศึกษาที่ดีในวันนี้แล้ว พวกเขายังไม่ยอมหยุดนิ่ง เพราะพวกเขายังคอยตรวจ สำรวจ ทดสอบ วัดผล เพื่อประเมินว่าระบบการศึกษาที่มีอยู่วันนี้จะสามารถปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้น เพื่อให้ทันกับโลกที่เดินหน้าอย่างไม่หยุดนิ่งนั้นได้อย่างไร
ทั้งหมด เพื่อให้ได้ระบบที่จะผลิตหรือช่วยให้ประชากรของเขาให้มีคุณภาพที่สุด
ประเทศประเทศหนึ่งจะพัฒนาได้ ต้องประกอบได้ด้วยประชากรที่มีความรู้ ความสามารถ และ อยู่ในโลกปัจจุบันที่สุด
แน่นอนว่าหากมีท่านใดที่คิดว่าทำไมต้องพัฒนา หรือ ทำไมต้องเป็นประเทศพัฒนา อยู่อย่างนี้ก็ดีอยู่แล้ว
การที่ประเทศ ๆ หนึ่ง จะถูกยอมรับว่าพัฒนาแล้วนั้น มีหลายสิ่งหลายอย่างที่จะถูกพิจารณา หนึ่งในสิ่งสำคัญคือ คุณภาพชีวิตที่ดี มีประสิทธภาพของประชากร และมีความเท่าเทียมกันในสังคม
หากประเทศไทยมีสิ่งเหล่านี้อยู่แล้วจริงๆ ก็อาจจะไม่มีคำตอบสำหรับคำถาม “ทำไมต้องพัฒนา”
จากชุดนักเรียนที่มาลงท้ายกันที่ระบบการศึกษา ทั้งหมดที่เล่ามาไม่ใช่เพื่อให้ท่านต้องเห็นด้วยหรือเห็นดีกับสิ่งที่บ้านเขาทำ แต่เพื่อให้เห็นว่าในบ้านเขารู้สึกอย่างไรกับ “ชุดนักเรียน” ชุดไปรเวทบ้านเขาทำไมถึงให้ความรู้สึกที่ต่างออกไป และ เพราะอะไร
และไม่ใช่การเล่าเพื่อมายกประเทศอื่นเพื่อข่มประเทศตัวเอง แต่เพื่อให้เมื่อเห็นประเทศอื่น อาจจะทำให้หลายท่านมองเห็นและเข้าใจประเทศเรา...
ตอนต่อไปเราจะมาเล่าให้ฟังว่า ชุดนักเรียนมีความหมายอย่างไรต่อความเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ และ เขามีกฎหมายต่อเครื่องแบบนักเรียนอย่างไร
ในประเทศไทยที่คนส่วนหนึ่งเชื่อว่า ชุดนักเรียน จะช่วยทำให้เกิดความเป็นระเบียบและส่งเสริมวินัย
แต่ทำไมในประเทศสวีเดนที่ไม่มีชุดนักเรียน จึงมีความเป็นระเบียบวินัยในสังคมสูง จนได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว🤔
ขอบคุณทุกท่านที่อยู่เป็นเพื่อนกันจนถึงตรงนี้ อย่าลืมติดตามตอนที่ 2 เร็วๆ นี้ สำหรับวันนี้ เราต้องไปก่อนละ บาย บาย 🤗🤗
ปล.
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการวิเคราะห์ของผู้เขียนจากประสบการณ์ที่ได้รับในสังคมประเทศสวีเดน ประกอบกับคุณภาพและมาตราฐานของสวีเดนที่ได้รับในปัจจุบัน
การวิเคราะห์เป็นการวิเคราะห์ในภาพรวม หรือมุมมองประเทศโดยรวม ดังนั้นไม่สามารถตัดสินได้ว่าชาวสวีดีสหรือเด็กชาวสวีดีสทุกๆ คนจะคิดเช่นเดียวกันกับที่ผู้เขีนได้สนทนาด้วย
🔷 ภาพพิธีวันสำเร็จการศึกษามัธยมปลาย
http://sandaservice.sandagymnasiet.se/nytt/examen.asp
🔷 เรื่องเล่าตอนอื่นๆ Farang VS Thai
https://www.blockdit.com/alex_andra
7 บันทึก
8
9
7
8
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย