12 มิ.ย. 2021 เวลา 03:05 • สุขภาพ
อาการปวดหลังที่ไม่มีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย
1
สาเหตุอาการปวดหลังที่ไม่มีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย
การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหรือเอ็น เช่น การยกของหนัก
หมอนรองกระดูกสันหลังโป่งนูนหรือปริแตก
ข้อเสื่อม
โรคกระดูกสันหลังคดงอผิดปกติ
กระดูกหักทรุดจากภาวะกระดูกพรุน
อุบัติเหตุ
การติดเชื้อ
เนื้องอก
การปฏิบัติตัว
พยายามนั่งหลังตรง
พักผ่อน
รับประทานยาบรรเทาปวด
ออกกำลังกาย
เมื่อไรที่ควรพบแพทย์
หากอาการปวดไม่ทุเลาลงภายใน 2-3 วัน หรือมีอาการรุนแรง ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการ ทำการนัดหมายแพทย์
หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยทันที
มีอาการปวดหลังเรื้อรังติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน
มีอาการปวดร้าวลงไปบริเวณสะโพก ขา และเท้า
มีอาการปวดรุนแรงที่ไม่ทุเลาลงหลังการพัก
มีอาการปวดหลังการบาดเจ็บหรือการหกล้ม
มีอาการปวดร่วมกับอาการต่อไปนี้
1
ไม่สามารถควบคุมปัสสาวะได้
ขาอ่อนแรง
มีอาการชาบริเวณขา เท้า หรือรอบทวารหนัก
คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีไข้
น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
อ่านทั้งหมดที่
การรักษาอาการปวดหลังที่ไม่มีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย
แพทย์จะทำการตรวจร่างกายทางระบบประสาทอย่างละเอียด และอาจให้ผู้ป่วยเข้ารับการเอกซเรย์ และ/หรือ ตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) รวมถึงวัดการนำกระแสไฟฟ้าของเส้นประสาท เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย โดยแนวทางการรักษาประกอบด้วย
การรักษาที่ไม่ใช่การผ่าตัด เช่น การรับประทานยา การออกกำลังกายกล้ามเนื้อ กายทำกายภาพบำบัด และการฉีดยาเข้าโพรงกระดูกสันหลัง เป็นต้น
ประเภทของการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว
การผ่าตัดแบบเชื่อมข้อกระดูก (fusion surgery)
Posterolateral lumbar fusion (PL Fusion)
Tranforaminal lumbar interbody fusion (TLIF)
Direct lateral lumbar interbody fusion (DLIF)
Oblique lumbar interbody fusion (OLIF)
Anterior lumbar interbody fusion (ALIF)
การผ่าตัดวิธีอื่นๆ
การฉีดซีเมนต์เพื่อเสริมโครงกระดูกสันหลัง (vertebroplasty/kyphoplasty)
การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบลามิเนกโตมี (laminectomy)
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องจุลทรรศน์ (microdiscectomy)
การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังและโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบผ่านกล้องเอ็น

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา