12 มิ.ย. 2021 เวลา 03:29 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน (ตอนที่ 24) ✴️
🌸 “กองทัพฝ่ายจิตวิญญาณ” กับ “กองทัพฝ่ายวัตถุ” 🌸
⚜️ โศลก 8️⃣ ⚜️ (ตอนที่ 4)
หน้า 91 – 93
3️⃣ #กรรณ_การติดยึด (ราคะ)
นาม กรรณ มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤต กริ “กระทำ ทำงาน”★ อุปมานามนี้มีที่มาจาก กรณศิล อิติ — “ผู้กระทำการตามความโน้มเอียงตามธรรมชาติ (ที่ให้ความเพลิดเพลิน)
★ นักปราชญ์หลายท่าน ใช้วิธีนิยามตามตัวอักษร ด้วยการเชื่อมโยงที่มาของชื่อนักรบในคีตาผู้นี้กับ คำว่า กรรณ (หู) ซึ่งมาจากราก กริ เหมือนกัน ในนิทานอุปมากล่าวกันว่าตอนกรรณถือกำเนิดนั้น มีตุ้มหูใหญ่กับเกราะติดมาด้วย ทำให้ใครก็ไม่อาจพิชิตเขาได้ แต่สุดท้ายกรรณได้ถวายเครื่องทรงเหล่านี้แด่พระอินทร์ ผู้ปลอมเป็นพราหมณ์มาขอจากกรรณเพื่อนำไปปกป้องอรชุนผู้ซึ่งกรรณสาบานว่าจะต้องสังหารให้ได้ การสละเครื่องทรงนี้เป็นเหตุให้กรรณพบหายนะ
'กรรณ' #บ่งชี้นิสัยชอบกระทำการที่เกี่ยวเนื่องกับวัตถุ #เขาจึงติดยึดกับความสุขและความเพลิดเพลินที่ได้จากการกระทำนั้น กรรณจึงเป็นตัวแทนของ 'ราคะ' ในปตัญชลี ซึ่งเป็นกิเลสตัวที่สาม โยคะสูตร 2:7 ได้พรรณนาถึงกิเลสนี้ไว้ว่า “ราคะ คือ ความโน้มเอียง (ติดยึดกาย) ที่อาศัยอยู่กับสุขผัสสะ”
กรรณเป็นพี่ร่วมมารดากับปาณฑพทั้งห้า ก่อนที่นางกุนตีจะอภิเษกสมรสกับท้าวปาณฑุ นางได้ใช้มนตัวิเศษที่ได้รับมา สวดขอพรจากสุริยา เทพแห่งดวงอาทิตย์ และได้ให้กำเนิดบุตรคือกรรณ แต่เนื่องจากขณะนั้นนางยังไม่ได้แต่งงาน นางจึงทิ้ง ลูกน้อย ซึ่งสารถีคนหนึ่งได้มาพบเข้าและนำไปเลี้ยง
กรรณกลายเป็นสหายสนิทของทุรโยธน์ เขาจึงอยู่ฝ่ายทุรโยธน์ในสงครามกรุเกษตร ทั้ง ๆ ที่เขารู้ความสัมพันธ์ที่แท้จริงระหว่างเขากับพี่น้องปาณฑพ แต่ด้วยความเกลียดชัง เขาสาบานที่จะเป็นศัตรูคู่แค้นกับพี่น้องปาณฑพโดยเฉพาะอรชุน
นัยสำคัญก็คือ กุนตีปลุกพลังมนตรา จนได้ทายาทจากพระอาทิตย์ 'แสงแห่งวิญญาณจักษุ' ซึ่งเป็นแสงที่เกี่ยวข้องอยู่กับกายของมนุษย์หรือผู้ภักดี “ตาเป็นประทีปของร่างกาย เพราะฉะนั้น #ถ้าตาของท่านรวมเป็นหนึ่ง_ทั้งตัวของท่านก็พลอยสว่างไปด้วย”★
★มัธทิว 6:22
เนื่องจากตอนร่ายมนต์นี้กุนตียังไม่ได้สมรสกับอำนาจทิพยปัญญา หรือท้าวปาณฑุ กรรณ (ติดยึด) ทายาทของนาง จึงตกอยู่ใต้อำนาจของจริตฝ่ายกาม จึงเข้าอยู่กับฝ่ายนั้น เพื่อต่อสู้กับความถูกต้องของฝ่ายปาณฑพ★ กรรณรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ของตนที่จะต้องภักดีต่อมิตรภาพที่เขามีต่อทุรโยธน์ หรือความใคร่ในกาม
'ราคะหรือกรรณ' จึงเป็นเอกในหมู่มนุษย์ผู้มีโมหะ #ซึ่งทำให้เขาแสวงหาการกระทำที่เขายึดมั่นว่าจะได้รับความสุข และ #ให้ความชอบธรรมกับการกระทำนั้นด้วยการอ้างว่ามันเป็นหน้าที่ ดังนั้น ด้วย #ความติดยึด นี้ #ไม่ว่าเขาต้องการทำสิ่งใด_เขาสามารถให้เหตุผลได้ว่าสิ่งนั้นจำเป็นและเป็นสิ่งถูกต้อง
★แม้ว่ากรรณเกิดจาก 'แสงแห่งวิญญาณจักษุ' (ดวงอาทิตย์) แต่เขาได้รับ “การเลี้ยงดู” ที่ศูนย์พอนส์ วาโรลิอิ ที่อยู่ของมนัส หรือมนินทรีย์ ซึ่งมีธฤตราษฎร์เป็นสัญลักษณ์ (ดู บทที่ 1:1 หน้า 5) ซึ่งตรงนี้ก็เช่นกัน บุคคลสามารถหันเหเข้าไปภายในสู่โลกแห่งจิตวิญญาณได้
ท่านศรียุกเตศวร อาจารย์ของข้าพเจ้าได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของชื่อกรรณ ในการเล่นคำ ซึ่งเป็นสิ่งปกติในคัมภีร์ฮินดู คำ “กรรณ” อาจหมายถึง “หางเสือเรือ” ได้ด้วย จิตที่กรรณเป็นตัวแทนจึงอาจหมายถึง “การถือหางเสือเรือ” เข้าไปภายในสู่ประตูแห่งวิญญาณจักษุที่จักระตามแนวไขสันหลัง ซึ่งเป็นที่อยู่ของทิพยปัญญา — หรือจะถือหางเสือเรือออกไปภายนอกสู่ประสาทสัมผัสและมนัส
เมื่อเลือกที่จะอยู่ฝ่ายเดียวกับมนัส การติดยึดความเพลิดเพลินของกรรณ (ร่วมกับเพื่อนร่วมกองทัพ วิกรรณ, อ่านข้อ 4 หน้า 92-93) จึงก้าวต่อไปกับนิสัยฝ่ายวัตถุในจักระไขสันหลังส่วนบั้นเอว เพื่อห้ำหั่นกับการควบคุมตน (อ่านบทที่ 1:11 หน้า 114)
4️⃣ #วิกรรณ_รังเกียจ (เทวษ)
เมื่อกรรณเป็นตัวแทนของการติดยึด 'วิกรรณ' จึงมีนัยในทางตรงกันข้าม อุปมานามนี้มีที่มาจากศัพท์วิเคราะห์ว่า อกรณศิล อิติ — “ผู้ทำตามจริตที่จะหลีกเลี่ยงการกระทำ (สิ่งที่ไม่ให้ความเพลิดเพลิน – หรือไม่น่าพอใจ)”
1
วิกรรณเป็นสัญลักษณ์ของกิเลสตัวที่สี่ นั่นคือ เทวษ หรือ 'การรังเกียจ' ในโยคะสูตร 2:8 ปตัญชลีกล่าวว่า “เทวษ คือ #การรังเกียจสิ่งที่นำความทุกข์มาให้”
ตามปกติแล้วการหลีกหนีความทุกข์เป็นสิ่งประเสริฐ แต่เมื่อนำมาใช้ในบริบทนี้ 'ความทุกข์' คือสิ่งไม่น่าพอใจทั่ว ๆ ไป 'อวิชชา' ของมนุษย์ #ได้บิดเบือนความรู้ถูกรู้ผิด_ความดีและความชั่ว #ทำให้เขาเกิดภาวะที่ขัดแย้งกันสองอย่าง คือ 'ชอบ' กับ 'ไม่ชอบ' (#ราคะ_กับ_เทวษ) #เขาสนใจสิ่งที่ชอบ_และหลีกหนีสิ่งที่ไม่ชอบ — #แทนที่จะใช้การเลือกเสรีอย่างมีปัญญา #และทำตามสิ่งที่ถูกต้อง_หรือดีที่สุดสำหรับเขาอย่างแท้จริง
1
(มีต่อ)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา