18 มิ.ย. 2021 เวลา 06:34 • สุขภาพ
รู้ตัวก่อนเสี่ยงล้ม
การล้ม เป็นอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกกลุ่มวัย และจะมีโอกาสเกิดมากขึ้น สำหรับวัยผู้สูงอายุ
การล้มมีหลากหลายสาเหตุ ทั้งเกิดจากปัจจัยภายในของแต่ละบุคคล เช่น ความเสื่อมของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ โรคประจำตัวที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและการทรงตัว
หรืออาจเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก อย่างเช่น สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลื่นล้ม (พื้นลื่น บริเวณมืด มีพื้นต่างระดับ หรือพื้นผิวที่ยวบยาบ) รองเท้าที่สวมใส่ หรือยาที่ส่งผลต่อระบบประสาท เป็นต้น
และเมื่อเกิดการล้มขึ้น สามารถส่งผลต่อการบาดเจ็บทางด้านร่างกายและจิตใจแก่ผู้ที่ประสบกับเหตุการณ์ดังกล่าวได้ค่อนข้างมาก
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO (26 April 2021) พบว่า อัตราการเสียชีวิตจากการล้มมักเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และในแต่ละปีจะมีประชากรทั่วโลก เสียชีวิตโดยมีสาเหตุจากการล้ม ประมาณ 684,000 คน
ซึ่งมากกว่า 80% มักเกิดขึ้นกับประเทศที่มีรายได้อยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง รวมถึงตัวเลขดังกล่าวมีรายงานระบุเพิ่มเติมอีกว่า 60% มาจากภูมิภาคแปซิฟิคตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ดังนั้นวันนี้ผู้เขียนจึงอยากจะเน้นย้ำ และให้ข้อมูลถึงการคัดกรองภาวะเสี่ยงล้มอย่างง่ายๆ ที่ทุกท่านสามารถปฏิบัติได้เอง หรือนำไปใช้คัดกรองกับผู้อื่น
ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้น โอกาสในการเสี่ยงล้มจะยิ่งมากขึ้นตาม ที่มาภาพ https://goldage.com.au/preventing-falls-elderly/
การคัดกรองการล้ม ทำได้อย่างไร
ในปัจจุบันมีการประเมินภาวะเสี่ยงล้มในรูปแบบต่างๆ มากมาย ทั้งรูปแบบของแบบประเมิน หรือการทดสอบต่างๆ
วันนี้เราจะนำเสนอการทดสอบอย่างง่าย ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถด้านการทรงตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการล้มค่อนข้างมาก
1. การทดสอบลุกขึ้นยืนและลงนั่งจากเก้าอี้ต่อเนื่อง 30 วินาที หรือชื่อภาษาอังกฤษ คือ 30 seconds sit to stand test หรือ 30 seconds chair stand test
รายละเอียดการทดสอบลุกขึ้นยืน-ลงนั่ง ต่อเนื่อง 30 วินาที
ท่าทดสอบการลุกขึ้นยืน-ลงนั่ง ต่อเนื่อง 30 วินาที
การแปลผลการทดสอบลุกขึ้นยืน-ลงนั่ง ต่อเนื่อง 30 วินาที
2. การทดสอบการทรงตัว 4 ระดับ หรือชื่อภาษาอังกฤษ คือ The 4 stages balance test
รายละเอียดการทดสอบทรงตัวในท่ายืน 4 ระดับ
ท่าทดสอบการทรงตัวในท่ายืน 4 ระดับ
การแปลผลการทดสอบทรงตัวในท่ายืน 4 ระดับ
ข้อเสนอแนะ 1: ระหว่างการทดสอบควรมีบุคคลอย่างน้อย 1 คน เป็นผู้คอยเฝ้าระวังให้กับผู้ทดสอบ และคอยจับเวลาในการทดสอบ
ข้อเสนอแนะ 2: การทดสอบที่กล่าวไปเป็นการทดสอบเพื่อคัดกรองและบ่งบอกถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวผู้รับการทดสอบ หากท่านต้องการทดสอบอย่างละเอียด หรือต้องการประเมินปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและนักกายภาพบำบัดเพิ่มเติมครับ
ในส่วนของรายละเอียดแนวทางการดูแลตัวเองเกี่ยวกับภาวะเสี่ยงล้มเบื้องต้น ผู้เขียนได้เคยทำบทความเกี่ยวกับ "สูงวัย ห่างไกลการล้ม" ท่านผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปศึกษา และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดกันได้ตามลิงค์นี้เลยครับ
อ้างอิงรูปภาพ
อ้างอิงข้อมูล
- CDC 30-Second Chair Stand Test. Available online: http://www.cdc.gov/steadi/pdf/30_second_chair_ stand_test-a.pdf (accessed on 10 June 2021).
- แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและการประเมินภาวะหกล้ม. เข้าถึงได้จาก: http://agingthai.dms.go.th/agingthai/wp-content/uploads/2021/01/book_9.pdf (เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2564)
โฆษณา