1. ปรับพื้นที่สร้างกิจกรรมเชิงวัฒนธรรมของเมือง ให้เป็นพื้นที่การแสดง ศิลปะ และแหล่งเรียนรู้
🔸บริเวณลานอาคารบันเทิง ปรับพื้นที่เวทีการแสดง ให้มีที่นั่งชมเป็นรูปวงกลม รองรับผู้ใช้งานกว่า 25,000 คน
🔸บริเวณลานเกษตรเมือง เพิ่มพันธุ์ไม้ ดอกไม้ตลอดแนว มีพื้นที่นั่งพักผ่อนหย่อนใจมากขึ้น
.
2. พัฒนาพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน
🔸ปรับปรุงสวนป่า เพื่อการเรียนรู้ธรรมชาติ ให้เป็นป่าที่มีพันธุ์ไม้ที่หลากหลาย มีพื้นที่ป่าลักษณะต่างๆ มีน้ำตกจำลองระบบนิเวศเมืองที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ
🔸สร้างพื้นที่ป่าในเมือง ลดปัญหาสภาพแวดล้อมของเมืองอย่างปัญหาฝุ่น
.
3. พื้นที่ทำกิจกรรมที่หลายหลาย และเหมาะกับยุคสมัย
🔸มีพื้นที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น ศูนย์กีฬา ลานหญ้า ลานสำหรับสัตว์เลี้ยง ลานศิลปะ และลานกิจกรรมสันทนาการต่างๆ เป็นต้น
🔸ปรับพื้นที่ทางเดิน ทางวิ่ง และทางจักรยาน
🔸ปรับพื้นที่ริมบึงน้ำให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์มากขึ้น
🔸มีศาลาพาเพื่อนวิ่ง ที่นักวิ่งสามารถพาเพื่อนคนพิการทางสายตาวิ่งออกกำลังกายในสวน
.
4.การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคภายในสวน
🔸การปรับพื้นที่ถนนทางเดินแนวแกนกลางของสวน ตั้งแต่ประตูทางเข้า ร.6 ไปจนถึงฝั่งถนนวิทยุ นำสายไฟลงดิน นำเกาะกลางออก เพิ่มพื้นที่ทางเดินให้กว้างขึ้น
🔸สร้างระบบระบายน้ำใต้ดินเพิ่ม เชื่อมท่อระบายรอบสวน เพื่อไม่ให้มีน้ำท่วมขังถนนทางเดินในสวน และเพิ่มพื้นที่เก็บน้ำในสวน พร้อมมีระบบหมุนเวียนน้ำในบึงน้ำ
🔸ปรับปรุงระบบไฟฟ้าส่องสว่าง
.
5. จุดเชื่อมต่อสวนลุมพินี สะพานเขียว และสวนเบญจกิติ ให้มีชีวิตชีวา ด้วยทางเดิน และทางจักรยาน
📍เพื่อให้เป็นพื้นที่ของทุกๆ คน ทุกเพศทุกวัย และคนพิการให้สามารถใช้สวนสาธารณะได้ ตามแนวคิด Universal Design