13 มิ.ย. 2021 เวลา 12:49 • สุขภาพ
เพราะอะไร ถึงหัวใจวายเฉียบพลัน❔
1
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือที่รู้จักกันดีว่า หัวใจวาย (Heart attack) เป็นโรคที่ทำให้มีการเสียชีวิตค่อนข้างสูง ❗
4
สิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของโรคนี้และทำให้ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตได้ดีตามปกติคือ การวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็วและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ควรทำความรู้จักโรคนี้กันให้ดี เพราะทุกนาทีมีค่าต่อชีวิต ⏰
5
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เกิดจากภาวะที่เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ซึ่งไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร ในบางรายอาจมีสุขภาพปกติ แข็งแรง แต่อยู่ๆ ก็กลับมีอาการผิดปกติ เช่น แน่นหน้าอก รู้สึกอึดอัด เหนื่อย เกิดขึ้น
1
โดยลิ่มเลือดเหล่านี้เกิดจากการที่ร่างกายมีภาวะไขมันมากเกินไปจนพอกเป็นตะกรัน (Plaque) เกาะอยู่ตามผนังของหลอดเลือด เมื่อรวมเข้ากับเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มากัดกินก็ทำให้เกิดเป็นกลุ่มเซลล์ที่ไม่สามารถดูดกลับเข้าไปในร่างกายได้ แต่กลับฝังตัวอยู่ในผนังหลอดเลือดแทน
12
เมื่อเวลาผ่านไป ตะกรันนี้จะแตกตัวหรือปริออก หลอดเลือดจะพยายามซ่อมแซมตัวเอง จนเกิดลิ่มเลือดไปอุดกั้นหลอดเลือด ถ้าเป็นการแตกตัวที่หลอดเลือดแขนงเล็ก ผู้ป่วยจะมีเพียงอาการเจ็บหน้าอก แต่ถ้าลิ่มเลือดนี้อุดตันหลอดเลือดขนาดใหญ่ก็อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
4
รวมถึง 'หินปูน' ที่เกาะอยู่บริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากการเสื่อมโดยธรรมชาติของแคลเซียมในร่างกาย ที่สะสมจนกลายเป็นก้อนแข็ง หรืออาจเกิดจากกลไกของร่างกาย สร้างแคลเซียมมาป้องกันบริเวณที่เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังอาจแฝงตัวมากับคราบไขมัน และเกาะติดบริเวณหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนเลือดไปสู่หัวใจลดน้อยลง ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน และนำไปสู่ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้
4
รู้ระดับความเสี่ยง ด้วยการตรวจ Calcium Scoring CT
ซึ่งจะบอกระดับคะแนน ตั้งแต่ 0-400 ขึ้นไป เพื่อประเมินว่า จะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากน้อยเพียงใด สู่การปรับไลฟ์สไตล์อย่างเหมาะสม หรือวางแผนในการรักษาได้อย่างทันท่วงที
4
Calcium Scoring CT
ระดับหินปูน 0 ความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลันต่ำ
ระดับหินปูน 1-10 ความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลันน้อย หรือเพียง 10%
ระดับหินปูน 11-100 ความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลันปานกลาง แพทย์อาจแนะนำให้ออกกำลังกาย หรือปรับอาหารให้เหมาะสม
ระดับหินปูน 101-400 ปริมาณหินปูนปานกลางถึงสูง แพทย์อาจแนะนำการรักษาหรือการตรวจเพิ่มเติม
ระดับหินปูน 400 ขึ้นไป อาจมีภาวะหลอดเลือดตีบแฝงอยู่ และมีโอกาสหัวใจวายเฉียบพลันสูง แพทย์อาจพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
3
อาการผิดปกติที่สำคัญที่สุดที่สามารถสังเกตได้ ได้แก่
🔸เจ็บแน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรมากดทับอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตรงกลางอก และเป็นนานเกินกว่าหนึ่งนาทีขึ้นไป
🔸เจ็บแน่นหน้าอกร้าวไปยังบริเวณคอ กราม ไหล่และแขนทั้งสองข้าง
🔸มีเหงื่อออกตามร่างกาย
🔸เหนื่อยง่าย หายใจถี่กระชั้น
🔸วิงเวียน หน้ามืด
🔸ชีพจรเต้นเร็ว
2
ปัจจัยเสี่ยงของหัวใจวาย หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ได้แก่
🔴 ความดันโลหิตสูง
🔴 ไขมันในเลือดสูง
🔴 เบาหวาน
🔴 การสูบบุหรี่
🔴มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
🔴 โรคอ้วน
3
นอกจากนี้ ในปัจจุบันหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่า การนอนกรนรุนแรงที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ เนื่องจากการหยุดหายใจขณะหลับทำให้ขาดออกซิเจน ซึ่งทำให้หลอดเลือดเสื่อมและส่งผลกระตุ้นให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ
3
ดังนั้น ในคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้จำเป็นจะต้องทำการตรวจหัวใจและปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต รวมถึงทำการรักษาโรคที่เป็นอยู่ เพื่อป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
2
🔑 กุญแจสำคัญของการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่เกิดจากการมีลิ่มเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน คือ เวลา
เพราะทุกนาทีที่เสียไปขณะที่เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน จะสามารถบอกได้ว่าอนาคตของผู้ป่วยจะเป็นอย่างไร
3
ดังนั้นถ้ามีอาการผิดปกติต่างๆ เช่น แน่นหน้าอกเฉียบพลัน เหนื่อย หรือสงสัยว่าตนเองจะเป็นโรคหัวใจหรือไม่ อย่ารอช้า ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะแพทย์จะสามารถทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าและให้การวินิจฉัยได้ภายใน 5 นาที
แนวทางการป้องกันโรคหัวใจวาย หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
✔ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันและแคลอรีสูง หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเค็มจัด อาหารจานด่วนหรืออาหารสำเร็จรูป ลดเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาล และเน้นการบริโภคผักและผลไม้ให้มากขึ้น
✔หยุดสูบบุหรี่
✔ลดความเครียด
✔ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
10
รับฟังวิธีสังเกตอาการ และการเตรียมพร้อมรับมือจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ https://bit.ly/3wjwPMn
โฆษณา