14 มิ.ย. 2021 เวลา 10:53 • การเกษตร
ผลผลิต ตลาดและพ่อค้าคนกลาง🥬
สามสิ่งนี้แทบจะเป็นเครื่องวัดความสำเร็จของเกษตรกรไทย👩‍🌾 ถึงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าผลผลิตไม่ใช่คำตอบของการเข้าสู่ระบบตลาดได้ 100% แต่การมีผลผลิตในปริมาณมากถือเป็นแต้มต่อให้เข้าสู่ระบบตลาดไม่มากก็น้อย
เพนพ้อยของเกษตรกร (รายเล็ก) ในประเทศไทยเจอปัญหาการหาตลาด หรือต่อให้หาตลาดได้ ก็ขายได้แค่ชั่วครั้งชั่วคราว ไม่สามารถสู้กับอุตสาหกรรมเกษตรโดยนายทุน นี่เป็นเหตุผลที่ “ฟาร์มที่ออร์แกนิคมักถูกตัดออกจากตลาด เพราะ capacity ไม่มากพอที่จะเข้าซูเปอร์มาร์เก็ต”🛒
โม - สุธาสินี สุดประเสริฐ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Happy Grocers จึงลุกขึ้นมาแก้ปัญหานี้โดยเชื่อมต่อ ‘เกษตรกร’ ให้เข้าถึง ‘ตลาด’ โดยเฉพาะผู้บริโภคในเมือง
“ช่วงล็อกดาวน์ปีที่แล้ว ผู้ประกอบการที่ปรับตัวทำ delivery ได้ มีแต่เจ้าใหญ่ๆ เกษตรกรเล็กๆ เหมือนถูกตัดออกจากตลาดเพราะ capacity ไม่มากพอจะอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ต”
จากจุดเริ่มต้นที่เห็นเกษตรกรประสบปัญหานำไปสู่การลงมือทำและตั้งเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าเกษตรอินทรีย์💸 ต่อมาเริ่มหาเครือข่ายเกษตรกรเพื่อป้อนผลผลิตเข้ามาสู่ในแพลตฟอร์ม📲
จุดยืนของ Happy Grocers จับกลุ่มสินค้าเกษตรที่ออร์แกนิค🌽 ตลอดจนช่วยเหลือเกษตรกรสายออร์แกนิค โดยต้องได้รับการประเมินเบื้องต้นว่าขั้นตอนกระบวนการปลูกจะต้องเป็นไปตามหลักความยั่งยืน (sustainability) และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม🥰
“ตอนทำแรกๆ เราไปเจอ supplier คนนึง บอกกับเราว่า I have everything organic คุณสามารถสั่งมาได้เลย จนเวลาผ่านไป ทีม HG ก็ไปเจอกับพี่ที่เขามีความรู้จริงๆ เขาก็เหมือนตั้งคำถามกับเราว่า supplier คนนี้เขามีใบรับรองหรือเปล่า ออแกนิคจริงหรือเปล่า ทีม HG ก็เลยไปเช็กดูก็รู้ความจริงว่าโดน supplier คนนี้หลอก อีกทั้งยังโดนเขาต่อว่าด้วย ก็เลยเลิกรับไป เราปิดร้านไปประมาณ 2 อาทิตย์ เพราะเรารู้สึกว่ามันไม่แฟร์กับกลุ่มลูกค้าเราที่ไม่ได้สินค้าออแกนิคจริงๆ จากเหตุการณ์นี้ก็เลยเป็นสิ่งที่ทำให้เราลุกขึ้นมาหา supplier เอง และไปฟาร์มเอง "
ตัวอย่างเกษตรกรเครือข่ายเช่น ลุงไกว - กะเหรี่ยงอพยพตั้งแต่ 30 ปีก่อน กับแนวคิดว่าถ้าทำอะไรที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก็จะไม่ยั่งยืน บวกกับความเชื่อเรื่องสารเคมีจะไปลบหลู่ผีป่าผีไม้ 🧟
บ่อปลาที่ชุมพร🐟 ที่นี่ไม่มีใบรับรองเป็นกิจลักษณะ แต่ทีมงานเห็นความพิเศษคือเป็นหนึ่งในไม่กี่ชุมชนที่เลี้ยงปลาในแม่น้ำกร่อย ซึ่งจะเลี้ยงให้ดีต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เช่น ขยะ อุณหภูมิน้ำ ที่นี่เลยต้องพิถีพิถันในการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เลี้ยงปลาได้ และที่นี่ยอมรับว่าไม่สามารถจับปลาได้ทุกเดือนเพื่อไม่ให้แหล่งน้ำเกิดผลกระทบที่ตามมาถึงแหล่งน้ำธรรมชาติ
“พี่คนหนึ่งเคยเป็นผู้จัดการฟาร์มไก่🐔 (ชื่อแบรนด์) เห็นทุกอย่างในความน่าเกลียดของอุตสาหกรรมนี้ ไก่พวกนี้ 30,000 กว่าตัวอยู่ด้วยกันในที่เดียว ไม่มีไฟ ถ้าเอาไก่มาเลี้ยงข้างนอกไก่ตายหมด ตัวใดตัวหนึ่งป่วยก็ไปทั้งหมด เขาฉีด antibiotic ยาปฏิชีวนะ💉 เพื่อให้ไก่ไม่ป่วย คนจะกินยาปฏิชีวนะที่มาจากไก่ด้วย” แต่ไก่ที่เขามาเปิดฟาร์มเองจะเป็นไก่ธรรมชาติพันธุ์ของมหาลัยเกษตรฯ (เกษตรศาสตร์ตะเพาทอง) คุณภาพเนื้อดี มั่นใจได้ว่าไก่ไม่ถูกฉีดยาปฏิชีวนะ และถูกเลี้ยงในพื้นที่กว้าง ถ้าป่วย 1 ตัวเขาจะจับกักตัว ไก่จะสามารถทำกิจกรรมได้ เมื่อไก่อึจะเอาขี้ไก่มาทำปุ๋ย และนำมาใช้หมุนเวียนในฟาร์มเป็น Ecosystem🍃
กลุ่มลูกค้าของ Happy Grocers กว่า 95% เป็นชาวต่างชาติที่พักอาศัยในไทย (expat) เช่นคนทำงานใน UN, ครูโรงเรียนอินเตอร์ สถานฑูต ฯลฯ และเป็นคนที่มีจริตเข้าใจมิติสิ่งแวดล้อมและเห็นความสำคัญถึงการช่วยเหลือเกษตรกรโดยตรง เพราะ Happy Grocers ก็ขาย story ของเกษตรกร-ผลผลิต ต่างจากภาพของอุตสาหกรรมเกษตรในซูเปอร์มาร์เก็ตที่ได้เปรียบเรื่องช่องทางการขาย
“Happy Grocers เลยเชื่อม demand คนต้องการออร์แกนิค เข้ากับฟาร์มที่เกษตรยั่งยืนจริงๆ ไม่ใช่ออร์แกนิคที่ติดป้ายใหญ่ๆ แต่ตรวจแล้วพบสารเคมี”🦠
ปัญหาหลักคือเรื่องค่าขนส่งที่ต้นทุนสูง เนื่องจากไม่สามารถซื้อในปริมาณมากได้ ถึงการดีลกับเกษตรกรโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางจะทำให้ได้ราคาผลผลิตจากหน้าฟาร์ม แต่ปริมาณผลผลิตก็อยู่ในหน่วยที่ต่ำทำให้ค่าขนส่งต่อหน่วยสูงเมื่อเทียบกับปริมาณผลผลิตที่เท่าๆ กันต่อหนึ่งรอบการขนส่ง🚛
"สิ่งที่รัฐบาลสามารถทำได้คือ ทำให้เกษตรกรมีทรัพยากรในการปลูกแบบออร์แกนิคได้ในสเกลใหญ่ เพราะตอนนี้ปริมาณมันน้อย ราคาเลยสูง ไม่ได้เข้าถึงคนระดับกลางหรือระดับล่างที่จะซื้อได้"
"ถ้าจะฟีดออร์แกนิคให้พอกับคนทั้งประเทศอาจต้องปลูกหลายๆ ที่พร้อมกัน แทนที่จะทำเหมือนธุรกิจหนึ่งที่เลี้ยงคนทั้งประเทศ เราอาจต้องแบ่งสาขาปลูกออร์แกนิค”
“เราทำงานกับเกษตรกรเล็กๆ เสิร์ฟคนกลุ่มเล็กๆ แต่หลายที่พร้อมกัน แปลว่าเราจะสามารถผลผลิตที่มั่นคงและยั่งยืนเพื่อเสิร์ฟให้คนกลุ่มหนึ่ง ในตลาดจะเห็นว่ามีคนสนใจและต้องการออร์แกนิค เพียงแต่เราต้องทำให้เกษตรกรมั่นใจว่ามีคนรอซื้ออยู่”
ทั้งหมดนี้คือการเชื่อม ‘ความยั่งยืน’ ของเกษตรกรและผู้บริโภคเข้าหากัน โดยมี Happy Grocers เป็นสะพาน💚
#มนุษย์เขียว
โฆษณา