Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย
•
ติดตาม
14 มิ.ย. 2021 เวลา 13:58 • ข่าว
ข่าวดีมาก !! วัคซีนไทย ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มฉีดทดลองในมนุษย์เป็นครั้งแรกแล้ว
7
วันนี้ (14 มิถุนายน 2564) ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สังกัดสภากาชาดไทย ร่วมกับศูนย์วิจัยวัคซีนของคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2
ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธ์ุ คณบดี
ได้เริ่มทดลองวัคซีนชื่อ ChulaCov19 เป็นครั้งแรกกับมนุษย์ หลังจากที่ผ่านการทดลองในหนูและในลิงได้ผลดีมากมาแล้ว
2
1
โดยการฉีดวัคซีนดังกล่าว เป็นการทดลองในเฟส 1/2 กับอาสาสมัครจำนวน 100 คน
ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม
ลองมาดูรายละเอียดของวัคซีนนี้กันดูนะครับ
วัคซีน ChulaCov19 ใช้เทคโนโลยี mRNA (messenger Ribonucleic acid) แบบเดียวกับของบริษัท Pfizer และ Moderna
2
โดยเทคโนโลยีนี้ จะทำการสังเคราะห์สารพันธุกรรม (mRNA) ขึ้นมา
1
ซึ่งสารพันธุกรรมดังกล่าว จะมีความสามารถในการออกคำสั่งให้เซลล์สร้างโปรตีนในส่วนที่เป็นหนาม (Spike protein) ของไวรัสก่อโรคโควิดได้
1
เมื่อฉีดวัคซีนเข้าไปในร่างกายแล้ว mRNA ดังกล่าว ก็จะสั่งให้เซลล์มนุษย์ สร้างโปรตีนส่วนหนามของไวรัสก่อโรคโควิดขึ้น
1
เมื่อร่างกายของมนุษย์ มาพบกับโปรตีนส่วนหนามของไวรัสดังกล่าว ก็คิดว่าเป็นไวรัสทั้งตัว จึงสร้างภูมิคุ้มกันออกมาต่อสู้
3
การมีภูมิคุ้มกันนี้เอง ก็คือผลโดยตรงจากการฉีดวัคซีนที่เราต้องการ
1
เมื่อร่างกายพบกับไวรัสก่อโรคโควิดจริง ก็จะสามารถต่อสู้ ทำให้ติดเชื้อได้ยาก หรือแม้ติดเชื้อแล้ว อาการป่วยก็จะไม่รุนแรง ไม่ถึงขั้นเสียชีวิต
5
วัคซีนดังกล่าว เป็นเทคโนโลยีที่ทางคณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ (ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกในเรื่องเทคโนโลยี mRNA ได้เคยทำงานร่วมกันในการทำวัคซีนรักษาโรคภูมิแพ้มาก่อนแล้ว
11
วัคซีนเข็มประวัติศาสตร์
ข้อเด่นของวัคซีนไทยชนิดนี้ ที่อาจจะถือว่าเหนือกว่าวัคซีนของ Pfizer และ Moderna คือ สามารถเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส หรือเก็บในตู้เย็นธรรมดาได้อย่างน้อย 3 เดือน
14
1
และเก็บที่อุณหภูมิห้อง 25 องศาเซลเซียส ได้นาน 2 สัปดาห์
4
ในขณะที่วัคซีนของ Pfizer ตอนเริ่มต้นวิจัย ต้องเก็บที่อุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส (ปัจจุบันลดลงมาเป็น -20 องศาเซลเซียสได้แล้ว)
ส่วนวัคซีนของ Moderna ต้องเก็บที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส
ซึ่งทำให้ต้องสิ้นเปลือง ค่าตู้เย็นพิเศษใบละนับล้านบาท เพื่อเก็บวัคซีนดังกล่าว และไม่สะดวกในการขนส่งไปฉีดตามจังหวัดต่างๆของประเทศไทยที่เป็นเมืองร้อน
2
นอกจากนั้น ทางคณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ ยังได้เตรียมการวิจัยคู่ขนานเพื่อทำการเปลี่ยนรหัสพันธุกรรม
(mRNA) ให้วัคซีนสามารถรับมือกับไวรัสกลายพันธุ์ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ หรือสายพันธุ์อังกฤษได้ด้วย
15
นับเป็นข่าวดีมาก และนับเป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทย ที่มีความสามารถในการผลิตวัคซีนของตนเอง
6
1
คาดว่าจะเสร็จสิ้นการวิจัยในสิ้นปีนี้ และจะสามารถผลิตวัคซีนฉีดให้คนไทยได้ ในต้นปีหน้า
11
พร้อมไปกับอีกสองวัคซีนของไทย ที่ใช้โปรตีนเป็นฐานแบบบริษัท Novavax ก็คือ วัคซีนของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพชื่อ ใบยาไฟโตฟาร์ม
18
และวัคซีนเทคโนโลยีเชื้อตาย แบบเดียวกับของจีน คือ Sinovac และ Sinopharm ซึ่งผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ
3
ทั้งนี้โครงการวิจัยวัคซีนดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากทางรัฐบาล ที่จัดสรรให้อย่างต่อเนื่อง
14
Reference
ศ.นพ.เกียรติ รักรักษ์รุ่งธรรม
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6
40 บันทึก
250
48
195
40
250
48
195
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย