7 ก.ค. 2021 เวลา 02:55 • การตลาด
5 วิธีการตั้งชื่อร้านค้าออนไลน์ให้เฟี้ยวโดนใจ จนคนต้องกดเข้ามาดู
4
ทุกวันนี้กระแสของ ‘ร้านค้าออนไลน์’ กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องผนวกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดเองก็ยิ่งทำให้ร้านค้าออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เพื่อนๆ คนไหนที่มีความคิดอยากจะทำร้านค้าออนไลน์ช่วงนี้นับว่าเป็นชาวงเวลาที่ดีในกาทดลองดูนะครับ
2
และอีกในปัจจัยสำคัญของการสร้างร้านออนไลน์ก็คงหนีไปพ้นเรื่อง ‘ชื่อร้าน’ ที่จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงตัวตนสินค้าและการบริการของร้านเราจนทำให้ให้เป็นที่จดจำแก่ผู้บริโภค แล้วตั้งชื่อร้านแบบไหนดีล่ะถึงจะไม่ยาวเกินไปจนจำไม่หมดหรือสั้นเกินไปจนจำไม่ได้หรืออ่านยากจนไม่น่าสนใจ
2
วันนี้แอดเลยรวบรวม 5 วิธีการพื้นฐานในการตั้งชื่อร้านมาฝากเพื่อนๆ จะได้มีชื่อร้านเก๋ๆ ไปใช้จนไม่ว่าใครเห็นก็ต้องกดเข้าไปเยี่ยมชมกันเลยทีเดียว จะมีวิธีอะไรน่าสนใจบ้างมาดูกัน
1
(1) ใช้คำสั้นๆ จดจำง่าย
เชื่อว่าหลายคนที่จะเปิดร้านจะต้องมีคำมากมายอยู่ในหัวแน่ๆ แต่เก็บอาการลิงโลดเหล่านั้นเอาไว้ซะ! เพราะชื่อที่คนมักจะจดจำได้ง่ายเป็นชื่อที่สั้นๆ ติดปาก, ออกเสียงง่าย, มีความหมายคุ้นหู ยกตัวอย่างแบรนด์ดังๆ เช่น Apple, Adidas, Nike เป็นต้น หรือยกตัวอย่างแบรนด์ไทยที่ชัดเจนมากๆ เช่น แบรนด์เสื้อยืด “ยืดเปล่า” ที่ใช้คำติดหูเวลาคนจะซื้อเสื้อยืดมาตั้งเป็นชื่อแบรนด์และชื่อร้านซะเลย
3
จะสังเกตได้ว่าชื่อของแบรนด์ดังต่างๆ นั้นส่วนใหญ่แล้วจะมีแค่ 2-3 พยางค์เท่านั้น หรือถ้าหากเกินกว่านี้ก็จะเป็นคำที่รวมเอาไว้ในคำเดียวเช่น PlayStation เห็นไหมว่าไม่ค่อยมีแบรนด์ไหนใช้ชื่อมากกว่า 2-4 พยางค์สักเท่าไหร่ และถ้าหากจะให้ดีคำที่ใช้ตั้งเป็นชื่อร้านจะต้องเชื่อมโยงกับสินค้าหรือการบริการด้วย
3
(2) คำต่อท้ายเฟี้ยวๆ บ่งบอกสิ่งที่เป็น
เคยสังเกตไหมร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่มักจะมีคำต่อท้ายชื่ออย่างเช่น BKK, Lifewear, Lifestyle, Studio, Official, TH ฯลฯ คำเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่เอามาใส่ไว้ให้ดูเก๋ๆ เท่ๆ (ถึงจะดูเท่จริงๆ นั่นแหละ) แต่คำเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสินค้าและการบริการของแบรนด์รวมไปถึง Mood&Tone ของร้านค้าด้วย
1
หมายความว่าหากเราสามารถเลือกใช้คำที่บ่งบอกถึงร้านค้าของเราได้เป็นอย่างเหมาะสม ก็จะเป็นผลดีกับการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของเรา และเมื่อเราแข็งแรงพอที่จะขยายไปสู่สินค้าชนิดอื่นเราก็สามารถนำคำเหล่านี้ออกจากหลังชื่อร้านแล้วไปใส่ไว้ในคอลเลกชันเท่านั้นก็ได้
(3) ตรวจสอบชื่อร้านว่าซ้ำใครไหม
เมื่อได้ชื่อเก๋ๆ มาแล้วจากความชอบและสมองอันชาญฉลาดของเรา แต่ลองคิดดูว่าถ้าเราคิดได้คนอื่นก็มีโอกาสที่จะคิดได้เหมือนกัน ชื่อร้านของเราที่คิดออกมาอาจจะมีคนใช้ไปแล้วก็ได้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องตรวจสอบก่อนว่าชื่อร้านเรานั้นไปซ้ำกับของใครหรือไม่ ถ้าซ้ำแนะนำให้เปลี่ยนชื่อหรือถ้าอยากจะใช้ชื่อนี้จริงๆ ก็ลองบิดคำนิดหน่อยหรือใช้เทคนิคแบบข้อ (2) เพื่อสร้างความแตกต่างดูก็ได้
(4) ผสมผสานภาษาที่แตกต่างในชื่อ
ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะตั้งชื่อร้านค้าเป็น ‘ภาษาอังกฤษ’ เพื่อให้ดูเป็นกลางและเข้าถึงง่ายกับลูกค้าทั่วโลก แต่ก็ไม่เสมอไปภาษาอังกฤษนั้นเป็นเพียงภาพเบื้องหน้าที่ใครต้องคุ้นตากันเท่านั้น เราสามารถนำภาษาต่างประเทศอื่นๆ มาใช้เป็นชื่อร้านค้าได้เช่น Nintendo แค่อ่านชื่อก็ญี่ปุ่นแล้วใช่ไหม แต่ก็ถูกนำเสนอออกไปในรูปลักษณ์ของภาษาอังกฤษ หรือ Onitsuka Tiger ที่ผสานภาษาญี่ปุ่นอย่าง Onitsuka กับ Tiger ที่เป็นภาษาอังกฤษ เข้าด้วยได้อย่างลงตัว
1
(5) ใช้ Keyword ที่ค้นหาได้ง่าย
อีกหนึ่งเทคนิคที่ดีมากๆ กับการทำร้านค้าออนไลน์ยุคนี้ก็คือ SEO หรือก็คือการใช้ Keyword เพื่อให้ร้านค้าหรือคอนเทนต์ของเพื่อนๆ ไปอยู่ในหน้าค้นหาแรกๆ ของ Google ซึ่งโดยปกติแล้ว Keyword เหล่านี้จะถูกนำม่ใช้ในบทความ แต่ถ้าหากเราสามารถนำคำที่เข้าถึงผู้คนได้ง่ายมาตั้งเป็นชื่อร้านได้ด้วย ก็มีโอกาสที่ร้านค้าของเพื่อนๆ จะถูกค้าพบในสินค้าประเภทนั้นๆ ด้วย
อย่าลืมความเป็นตัวของตัวเอง
เหนือสิ่งอื่นใด เหนือเทคนิคอันทรงคุณภาพทั้งหลายก็คือ ‘ความเป็นตัวเอง’ เทคนิคต่างๆ อาจจะช่วยให้ร้านค้าของเพื่อนๆ เป็นที่รู้จักและเข้าถึงได้ง่าย แต่มันก็ไม่อาจจะเป็นสิ่งที่เราต้องการเสมอไปเพื่อนๆ อาจจะตั้งชื่อต่างๆ เพราะสังคมชอบคนอื่นบอกให้เป็น แต่ท้ายที่สุดชื่อนั้นที่ตั้งขึ้นมาเราได้ชอบมันจริงๆ รึเปล่า
กล่าวโดนสรุปหากมีชื่อที่ตอบสนองต่อความต้องการของตัวเองแล้วเข้ากับเทคนิคต่างๆ ที่ทำให้คนสนใจได้ด้วย นั่นก็นับว่าเป็นชื่อที่ตอบสนองได้ดีมากๆ แต่สิ่งสำคัญก็คืออย่าตั้งชื่อที่เพื่อนๆ เองไม่ได้ชื่นชอบ ขอให้เพื่อนๆ ได้ชื่อร้านดีๆ ขายดีเป็นเทน้ำเทท่านะครับ
โฆษณา