Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คุณแม่แค่รู้
•
ติดตาม
15 มิ.ย. 2021 เวลา 10:39 • ครอบครัว & เด็ก
3 กับดัก ของพ่อแม่ ที่ทำให้ลูกเสียคน
pixabay
หลายคนที่อยากเป็นพ่อแม่ที่ดี อยากเลี้ยงลูกให้ประสบความสำเร็จ ทำให้บางคนพยายามทำทุกวิถีทาง จนนำไปสู่ความเข้าใจผิด และทำให้กลายเป็นพ่อแม่รังแกฉันในแบบที่ไม่รู้ตัว
4
ดังนั้นการจะเป็นพ่อแม่ที่ดี อยากเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี เป็นคนเก่ง และเป็นคนที่สำเร็จได้นั้น เราต้องเรียนรู้ว่าอะไรคือ " กับดัก " ของการเลี้ยงดูของเราด้วย
และนี่คือ...3 กับดัก ที่ทำให้พ่อแม่หลายคน ทำร้ายลูกและตัวของคุณเอง โดยไม่รู้ตัวตอนเมื่อสายไปเสียแล้ว
1
1. อยากให้ลูกสบาย
2
ไม่ยอมสอนลูก ไม่ปลูกฝังลูก ไม่เคยให้ลูกช่วยทำงานบ้าน ไม่ให้ลูกช่วยทำอาหาร ซ้ำร้าย ยังบอกให้ลูกว่า ลูกมีหน้าที่เรียนอย่างเดียวก็พอ เรียนให้ดีที่สุด แม่กับพ่อก็พอใจแล้ว
2
1
การช่วยเหลืองานบ้าน เป็นการฝึกความรับผิดชอบ เพื่อให้ลูกรู้จักหน้าที่ มีระเบียบวินัย เพราะทักษะชีวิตต้องเริ่มตั้งแต่เล็ก
และการฝึกลูกให้รู้จักรับผิดชอบงานบ้านที่เป็นส่วนรวมด้วย เพื่อให้เขาได้เรียนรู้การเป็นผู้ให้ที่ดีได้ด้วย
1
2
pexels
แม่เป้ ได้มอบหมายงานให้ลูกๆตั้งแต่ 4 ขวบเป็นต้นมาค่ะ เช่นให้เขาช่วยหยิบของให้ หรือเอาขยะไปทิ้ง พอเริ่มโตขึ้นมาอีกนิด ก็ให้ช่วยรดน้ำต้นไม้ ยกอาหารไปวางที่โต๊ะ
พอเริ่มโตเข้าประถม...7 ขวบ แม่ก็มอบงานที่เหมาะสม คือ กวาดบ้าน ถูบ้าน ตากผ้า เก็บผ้า ล้างจาน
ซึ่งตอนนี้ลูกอายุเข้า 11 ขวบแล้ว แม่เป้ก็จะให้ลูกๆทำอาหารเองแล้วค่ะ
ที่บ้านของเรา เราจะเรียกว่างานประจำ คือจะต้องทำทุกวัน ไม่มีวันไหนที่จะไม่ทำ นอกจากวันที่ลูกล้มป่วยไม่สบายจริงๆ ....การทำแบบนี้ซ้ำๆ จนเกิดเป็นนิสัย มันจะฝังเข้าไปในตัวของเขา มันส่งผลไปถึงการทำงานเมื่อตอนที่เขาโตเป็นผู้ใหญ่
งานบ้าน คือ การบ้าน บ้านเราไม่เคยมีการบ้านจากที่โรงเรียน แต่งานบ้านในทุกๆวันคือการบ้านที่เด็กๆต้องทำ
1
2
งานบ้านคือการฝึกงานที่ดี
งานบ้านคืองานที่น่าเบื่อ
งานบ้านคืองานที่ไม่สนุก
งานบ้านเป็นงานที่ไม่มีวันสิ้นสุด
เด็กคนไหนที่ผ่านงานบ้าน เด็กคนนั้นย่อมผ่านได้ทุกงาน แม้ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ
"งานบ้าน ให้อะไรมากกว่าที่พ่อแม่คิด แต่ส่วนใหญ่อาจจะมองข้าม"
4
2. ปกป้องลูกมากเกินไป
1
เพราะความกังวลมากเกินไป กลัวจะเกิดอันตรายกับลูกรัก จึงไม่เปิดโอกาสให้ลูกได้ออกไปเปิดประสบการณ์ต่อโลกภายนอก คอยห้าม คอยหวง คอยจำกัดทุกทาง เพื่อให้ลูกอยู่ภายใน comfort Zone
2
pexels
ไม่ให้ลูกออกไปวิ่งเล่น กลัวแดด กลัวไม่สบาย, ไม่ให้ลูกล้างจาน กลัวแตก , ไม่ยอมให้ลูกหั่นผัก กลัวมีดบาดมือ ,
ยอมให้ลูกนั่งดูทีวี เปิดยูทูป เล่นเกมในไอแพด ซึ่งเป็นการปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้กับสังคมภายนอก และทำให้เด็กขาดการพัฒนา EQ ความฉลาดด้านอารมณ์
ซึ่งทุกวันการทำงานต้องใช้EQ ทั้งนั้น
2
pixabay
การที่ลูกจะได้ฝึกทักษะทุกด้านนั้น ต้องผ่านการเรียนรู้ด้วยตัวของเขาเอง ด้วยการสัมผัส ผ่านความรู้สึก และผ่านการเล่น เด็กที่ไม่เคยได้เล่น นั้นช่างแตกต่างจากเด็กที่ได้เล่นอย่างสนุกสนานอย่างสิ้นเชิง
เด็กที่เล่นกับเพื่อน กับเด็กที่เล่นเกมในมือถือ ต่างกัน
เด็กที่เล่นมือถือ จะเป็นเด็กที่ใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลาง เป็นเด็กที่ต้องการเอาชนะ และต้องการเป็นผู้ควบคุม ไม่สนใจใครนอกจากตัวเอง
pixabay
ส่วนเด็กที่ได้เล่นกับเพื่อน เขากำลังฝึกการสร้างความสัมพันธ์ เรียนรู้การยอมรับ ชอบ ไม่ชอบ เรียนรู้การปรับตัว การวางตัว การเข้าสังคม
1
เคยไหมตอนที่เราเป็นเด็กๆ ถ้าหากเพื่อนไม่อยากเล่นด้วยกับเรา เรารู้สึกยังไง
เราเสียใจไหม เราต้องทำยังไง เพื่อให้เพื่อนอยากเล่นกับเราใช่ไหมคะ เราได้สะท้อนหลายๆอย่าง ว่าเราพูดไม่ดีหรือเปล่า เราเล่นเอาเปรียบเขาไหม เป็นการฝึกการมีส่วนร่วมในสังคมที่ดีด้วย เขาจะต้องยอมรับกฎกติกา และปรับตัว
พอเมื่อเขาได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ทักษะเหล่านี้ก็จะหล่อหลอมเป็นนิสัยของเขาได้
3. ไม่ยอมปล่อยให้ลูกลำบาก เพราะพ่อแม่เคยลำบากมาก่อน
1
เพราะไม่อยากให้ลูกมีชีวิตเหมือนที่ตนเองเคยเป็นมาก่อน พอฐานะดีขึ้นจึงส่งเสริมและเลี้ยงลูกด้วยวัตถุ ให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ตัวเองไม่เคยได้รับ ไม่ว่าจะเป็นเงินทอง ของเล่น ของกินของใช้
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะทำให้เด็กกลายเป็นคนขาดความอดทน ไม่มีความมั่นคงในจิตใจ อ่อนแอ และแข็งกระด้าง ไม่เห็นคุณค่า และฟุ่มเฟือย
เมื่อลูกต้องการสิ่งไหน พ่อแม่ก็พร้อมที่จะหามาให้ โดยเป็นการสร้างนิสัยที่ไม่ดี เราฝึกเขาให้ได้ทุกอย่างอย่างง่ายดาย ไม่รู้ที่มาและที่ไป กลายเป็นเด็กเอาแต่ใจได้ค่ะ
1
เป็นยังไงกันบ้างคะ...เรื่องเล็กน้อยในบ้าน อาจส่งผลมหาศาลได้นะคะ แม่เป้หวังว่าบทความนี้คุณพ่อคุณ อาจจะนำไปปรับใช้กันได้เลยค่ะ รับรองว่าคุ้มและได้ผลน่าอัศจรรย์ใจเลยทีเดียว
ถ้าหากคิดว่าบทความนี้เป็นประโยชน์กับคนที่เรารู้จัก หรือคนที่คุณรัก ก็แชร์ไปให้ได้อ่านกันนะคะ และก็อย่าลืมกดติดตามไว้ด้วยนะคะ จะไม่พลาดบทความดีๆก่อนใครที่แม่เป้จะมาเขียนต่อไปค่ะ
1
ด้วยรัก
แม่เป้ : Health at Home
pixabay
24 บันทึก
43
41
57
24
43
41
57
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย