15 มิ.ย. 2021 เวลา 08:46 • การศึกษา
👩‍❤️‍👨สามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส 💔เมื่อเลิกกัน ทรัพย์สินจะตกเป็นของใคร⁉️
รูปภาพจาก Lawลี กับลีLaw : สามีภริยาไม่ได้จดทะเบียนสมรส เมื่อเลิกกัน ทรัพย์สินจะตกเป็นของใคร
╔═══════════╗
อย่าลืม กดติดตาม กดไลค์ กดแชร์
แบ่งปันข้อมูลให้เพื่อนๆ กันด้วยนะครับ
╚═══════════╝
ทรัพย์สินที่สามีภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างที่อยู่กินด้วยกันไม่มีฐานะเป็นสินสมรส ตามมาตรา 1474(1)แต่ถือว่าเป็น #กรรมสิทธิ์รวม ของสามีภริยา
.
แม้ทรัพย์สินจะใส่ชื่อสามีหรือภรรยาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่เพียงฝ่ายเดียว หรือใส่ชื่อสามีภรรยาร่วมกัน หรือไม่ได้ใส่ชื่อใครถือกรรมสิทธิ์เลย แค่ถือครองและใช้ทรัพย์ร่วมกัน
.
สิทธิและหน้าที่ของคู่สมรสจะต้องบังคับตามบทบัญญัติเรื่องกรรมสิทธิ์รวม (ป.พ.พ. มาตรา 1356 จนถึงมาตรา 1366)
แต่ต้องเป็นทรัพย์สินที่สามีภริยาต่างมีส่วนร่วมในการทำมา
หาได้เท่านั้น
.
แต่เมื่อเลิกกันแล้ว💔 กรรมสิทธิ์รวมที่ช่วยกันหามาต้องแบ่งตามสัดส่วน หากหาสัดส่วนไม่ได้ก็ต้องแบ่งครึ่ง ตัวอย่างทรัพย์สินที่ร่วมกันเก็บเงินซื้อเช่น ซื้อรถกระบะ ซื้อบ้าน ซื้อที่ดิน เป็นต้น
.
สำหรับทรัพย์สินที่ต่างคนต่างทำมาหาได้แยกกันนั้นเป็นสิทธิของฝ่ายนั้นผู้เดียว อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีส่วนแบ่งด้วยเพราะไม่ถือว่าเป็นสินสมรสตามมาตรา 1474(1) ฉะนั้น สามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ภรรยาจึงไม่มีสิทธิฟ้องของแบ่งทรัพย์จากสามี ในส่วนทรัพย์ที่ภรรยามิได้ร่วมแรงร่วมทุนทำมาหาได้กับสามีแต่อย่างใด
.
กรณีชายกับชาย หรือ หญิงกับหญิง มาอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาเนื่องจากบุคคลทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนสมรสกันได้ เพราะขัดต่อเงื่อนไขของการสมรสที่ฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นชาย และอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นหญิง (ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างกฎหมาย พ.ร.บ. คู่ชีวิต) แต่ในทางด้านทรัพย์สิน การที่บุคคลทั้งสองที่ทำมาหาได้ด้วยกันในระหว่างอยู่กินด้วยกันนี้ ต้องถือว่าบุคคลที่สองมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยมาตรา 1357 ให้สันนิษฐานว่าผู้เป็นเจ้าของร่วมกันมีส่วนเท่ากัน จึงต้องแบ่งกันคนละครึ่ง
1
╔═══════════╗
⚖️ฎีกาที่ 2102/2551
╚═══════════╝
จำเลยกับผู้ตายอยู่กินฉันสามีภริยากันโดยไม่จดทะเบียนสมรส จึงไม่ต้องพิจารณาว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสหรือไม่ คง ต้องพิจารณาเฉพาะเรื่องกรรมสิทธิ์รวมว่าเป็นทรัพย์สินที่ซื้อหามาด้วยเงินที่ร่วมกันทำมาหาได้หรือไม่
.
เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้ตายได้รับมาโดยการรับมรดก
และโดยการให้โดยเสน่หา ย่อมไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของผู้ตายเพียงผู้เดียว
1
╔═══════════╗
⚖️ฎีกาที่ 4355/2551
╚═══════════╝
แม้ข้อที่ผู้ร้องเบิกความอ้างว่าผู้ร้องมีส่วนร่วมกับผู้ตายออกเงินซื้อรถยนต์พิพาทจะรับฟังไม่ได้ แต่ก็ได้ความว่า ผู้ร้องแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตาย เมื่อปี 2535 และผู้ตายมีบุตรด้วยกัน 2 คน ระหว่างที่อยู่กินด้วยกันผู้ร้องทำงานที่บริษัท จ. ส่วนผู้ตายมีอาชีพทำเครื่องไฟ กรณีจึงถือว่าผู้ร้องและผู้ตายร่วมกันทำมาหากินและมีเจตนาเป็นเจ้าของในทรัพย์ที่หามาได้ในระหว่างอยู่กินด้วยกัน
.
เมื่อผู้ตายได้รถยนต์พิพาทมาในระหว่างอยู่กินกับผู้ร้อง #ผู้ร้องย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทด้วยในฐานะเจ้าของร่วม ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในรถยนต์ดังกล่าวซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายและมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
1
╔═══════════╗
⚖️ฎีกาที่ 12734/2558
╚═══════════╝
แม้ที่ดินและหุ้นจะได้มาในระหว่างโจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตาย แต่เมื่อโจทก์กับผู้ตายไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ที่ดินและหุ้นดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส อันจะถือเป็นสินสมรส ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) แม้ศาลจะมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายก็ฟังข้อเท็จจริงเพียงว่า เมื่อโจทก์เป็นภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์อาจมีสิทธิเป็นเจ้าของร่วมกันในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกับผู้ตายจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขอตั้งผู้จัดการมรดกได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงในเรื่องการมีส่วนได้เสียเพียงเพื่อวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและควรตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่เท่านั้น
.
แต่ไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าที่ดินและหุ้นที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งในคดีนี้เป็นทรัพย์สินที่โจทก์ร่วมทำมาหาได้กับผู้ตายหรือไม่ คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันคู่ความให้ต้องรับฟังว่าที่ดินและหุ้นที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งในคดีนี้เป็นทรัพย์สินที่โจทก์ทำมาหาได้ร่วมกับผู้ตายและโจทก์มีกรรมสิทธิ์ร่วมกึ่งหนึ่ง
1
———ติดตามเราได้ที่———
References
#กฎหมาย #กฎหมายน่ารู้ #นักกฎหมาย #นิติศาสตร์ #เนติบัณฑิต #ทนายความ #ประมวลกฎหมาย
โฆษณา