Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Happinesss-Life
•
ติดตาม
16 มิ.ย. 2021 เวลา 09:24 • ไลฟ์สไตล์
พุทธเศรษฐศาสตร์ (Buddhist Economics) เป็นแนวคิดที่ใช้จัดการเพื่อสร้างสมดุลระหว่าง อุปสงค์ (Demand) และ อุปทาน (Supply) ทั้งในระดับเศรษฐศาสตร์จุลภาค (Micro Economics) จนไปถึง เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macro Economics) โดยสิ่งสำคัญที่สุดที่เศรษฐศาสตร์ตามวิถีพุทธ สามารถเข้าไปจัดการได้ถึงรากฐานแห่งอุปสงค์และอุปทานได้อย่างดีที่สุด ก็คือ การเข้าไปจัดการระบบเศรษฐศาสตร์ภายในจิตใจ (The economic system of the mind)
3
เหตุทุกอย่างเกิดขึ้นที่ใจ
ทุกอย่างมีจิตเป็นเหตุ มีใจเป็นประธาน
ถ้าหากเราสามารถจัดการที่ใจได้แล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างเราก็สามารถจัดการได้
3
จัดการใจของใคร..?
เริ่มต้นจากการจัดการใจของตัวเอง
3
2
พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายพากันเข้าใจว่า การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดก็คือการเรียนและรู้ตัวของตัวเอง ถ้าเรารู้ตัวเองอย่างถ่องแท้แล้ว เราก็สามารถเรียนและรู้ผู้อื่นได้ทุก ๆ คน
เช่นเดียวกัน เมื่อเราสามารถจัดการตนเองได้ บังคับและควบคุมตนเองได้ เราก็จะมีความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อจัดการคนอื่นได้เช่นเดียวกัน
2
นำงานภายนอกมาฝึกงานภายใน
ถ้าหากเราไปเรียนรู้คนอื่น ไปจัดการคนอื่นก่อนที่จะเรียนรู้และจัดการตนเอง การเรียนรู้จัดการแบบนั้นไม่มีวันจบ ไม่มีวันสิ้น
1
ทุกอย่างเริ่มต้นที่ใจ และก็จบที่ใจของตนเอง ...
3
4
จิตเดิมแท้ของมนุษย์ทุก ๆ คนนั้นประภัสสร แต่เพราะกิเลสทั้งหลายจรเข้ามาปกคลุมทำให้อารมณ์ของมนุษย์นั้นถูกกลุ้มรุมด้วยความโลภ ความโกรธ และความหลง
2
เมื่อกิเลส ตัณหา ราคะ อุปาทานเข้ามาปกคลุมและครอบงำจิตใจของมนุษย์แล้ว ... อุปสงค์ (Demand) หรือความต้องการของมนุษย์นั้นจึงไม่มีวันจบ ไม่มีวันสิ้น ... มีเท่าไหร่ก็ไม่พอ ถมเท่าไหร่ก็ไม่เต็ม
2
2
ปัญหาของชีวิตตามระบบเศรษฐกิจปัจจุบันก็คือเรื่องของ “อุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand)”
อุปสงค์คือภาษาเศรษฐศาสตร์ตามหลักวิชาการ แต่ถ้าพูดตามภาษาพุทธเศรษฐศาสตร์ อุปสงค์นั้นก็คือ “ความโลภ”
2
ปัญหาความทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาในชีวิตของเรานั้นมีสาเหตุเกิดจากความโลภที่ผุดมีขึ้นในจิตใจ
1
ถ้าใจไม่มีปัญหา ทุกอย่างก็ไม่มีปัญหา
ย้อนกลับไปที่จิตเดิมแท้... จิตใจแท้ ๆ ของเรานั้นไม่มีอะไร เป็นจิตใจที่ผ่องใส สะอาด บริสุทธิ์ และสิ้นสุดแห่งความเห็นแก่ตัว
แต่ทว่า กิเลสมันจรมา ทำให้จิตใจของเราเศร้าหมอง นำพาให้เกิดความโลภ ความโกรธ และความหลง ...
1
กิเลสในปัจจุบันมาจากไหน ...?
1
กิเลสภายนอกที่จรมาในปัจจุบันก็มาจาก “สื่อ” เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information system) ที่เราบริโภค
2
1
ย้อนกลับไปยุคสมัยรุ่นพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หรือที่เรียกว่ายุค Baby Boomer
สื่อนั้นเข้าถึงตัวเราค่อนข้างยาก เพราะสมัยนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ต้องบริโภคสื่อแบบ Offline ผ่านตัวบุคคล ก็คือ ผ่านตัวผู้นำชุมชนในระดับชั้นต่าง ๆ ดังเช่นเพลงที่ร้องเล่นกันแบบตลก ๆ ว่า
2
พ.ศ. 2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม
ชาวบ้านต่างมาชุมนุม
มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี
วันนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว
ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา
ทางการเค้าสั่งมาว่า
ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร
2
1
จนถึงท่อนท้ายชาวบ้านก็ได้ถามว่า “สุกร” นั้นคืออะไร และผู้ใหญ่ลีก็ได้ตอบไปว่า “สุกรนั้นไซร้คือหมาน้อยธรรมดา...”
2
เมื่อย้อนกลับไปห้าสิบ หกสิบปีก่อน เรามีการสื่อสารจากทางภาครัฐในแบบรูปดังกล่าวนี้
1
ครั้นเมื่อมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับแรก (ที่ฉบับแรกยังไม่มีคำว่าสังคม) และฉบับต่อ ๆ มา เทคโนโลยีก็ได้พัฒนาต่อมาเรื่อย ๆ เริ่มมีระบบเสียงตามสายตามหมู่บ้าน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางวิทยุกระจายเสียง
1
ย้อนกลับไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือสงครามมหาเอเชียบูรพา ประชาชนต้องคอยติดตามข่าวสารและประกาศจากทางภาครัฐผ่านวิทยุกระจายเสียง เวลาจะฟังก็มารวม ๆ กันฟัง และต้องรอฟังเป็นเวลา ๆ
1
ดังนั้น ข้อมูลที่ประชาชนได้รับก็คือข้อมูลเพียว ๆ อย่างเดียว เพราะตั้งใจมาฟังประกาศจากทางรัฐบาลเท่านั้น ไม่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อขายของใด ๆ เข้ามาสอดแทรก
1
ปัญหาเรื่องของ “อุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand)” ที่จะเกิดขึ้นโดยสื่อนั้นน้อยมาก
โดยจุดสำคัญของการรับสื่อมากหรือน้อยในสมัยนั้นจำแนกได้ตามสถานที่ที่อยู่อาศัย และ “ฐานะ”
1
คนที่มีฐานะดี มีเงิน มีสตางค์ ก็มีโอกาสที่จะรับสื่อได้มาก เพราะมีวิทยุส่วนตัวเป็นของตัวเอง
เมื่อมีวิทยุเป็นของตัวเอง โอกาสในการรับข้อมูลข่าวสารที่นอกเหนือจากประกาศสำคัญจากทางรัฐบาล หรือข่าวสารต่าง ๆ นั้นก็จะเริ่มมีมากขึ้น
สิ่งนี้เชื่อมโยงไปถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค (Customer Behavior)
เมื่อมีวิทยุเป็นของส่วนตัว ก็คือมีเวลาที่จะบริโภคข้อมูลข่าวสารได้ทั้งวัน ทุกวัน ทุกเวลา บางครั้งจึงได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่จำเป็นเข้ามากลายเป็นส่วนเกินของชีวิต หรือที่เรียกว่ามีกิเลสจรเข้ามาปกคลุมจิตใจ
1
จอกแหนที่ขึ้นปกคลุมผืนน้ำ ก็เปรียบได้กับกิเลสที่จรมาเข้าปกคลุมจิตใจ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลผู้ที่มีฐานะดี ที่ส่งลูกหลานไปเรียนยังต่างประเทศ ไปเรียนรู้เทคโนโลยีตามประเทศศิวิไลซ์ต่าง ๆ
กิเลสที่สอดแทรกมากับความรู้ ที่ลูกหลานกลับมาเล่าสู่กันฟัง จึงทำให้อุปสงค์ หรือความโลภนั้นเข้ามาปกคลุมจิตใจของเรามากขึ้น
จากเดิมที่บ้านเรากินมะม่วง ก็กลายเป็นว่ามะม่วงไม่อร่อย เพราะรู้ว่าในโลกนี้มีผลไม้อะไรอีกมากมายที่เรา “คิดว่า” ผลไม้เมืองนอกเมืองนาทั้งหลาย อร่อยกว่ามะม่วง ดีกว่าอร่อยกว่าผลไม้ในเมืองไทย..?
ดังนั้นอุปสงค์ส่วนเกิน หรือกิเลส ก็คือความโลภนี้ จึงปรับเปลี่ยนชีวิตของเราจากความพอดี พอเพียง ให้กลายเป็นความไม่เพียงพอ เกินพอ เกินดี...
1
รู้มากยิ่งยากนาน...
ยิ่งรู้เยอะ ยิ่งมีอุปสงค์ หรือมีความต้องการเยอะ
เงินที่เคยมี เคยพอใช้ ก็เริ่มไม่พอ เพราะเราจะเอาเงินไปถมกิเลสเท่าไหร่นั้น กิเลสก็ไม่มีวันเต็ม
1
ดังนั้น เหตุหรือปัจจัยที่ทำให้คนเรามีความต้องการอย่างไม่มีวันจบไม่มีวันสิ้นก็คือ “การรับรู้” ที่เราเรียกว่า “ความรู้” ที่ระเบิดออกมาอย่างมากมายในสังคมนี้แหละ (Knowledge Explosion)
2
เราจะป้องกันหรือแก้ไขความรู้ที่ระเบิดออกมานี้ได้อย่างไร..?
แนวทางการแก้ไขสำหรับโลกโดยทั่วไปก็ใช้วิธีการ “ปิดกั้น” ความรู้ ห้ามไม่ให้ใช้ ห้ามไม่ให้เผยแพร่
แต่ทว่า ยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ ยิ่งห้ามก็ยิ่งอยากรู้
แนวทางหรือหลักในทางพุทธศาสนาทำอย่างไร...?
หลักธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ท่านได้บำเพ็ญบารมีพุทธบารมีมาสี่อสงไขย แสนมหากัปนั้น ท่านมิได้ทรงสั่งสอนให้เราไปแก้ที่ภายนอก ไปแก้ที่บุคคลอื่น แต่ท่านทรงสั่งสอนให้เราย้อนกลับมาดูและแก้ไขที่จิตใจของตนเอง
2
นำงานภายนอกมาฝึกงานภายใน ฝึกสติสัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ทุก ๆ ขณะจิต
สิ่งที่จะป้องกันความรู้เหล่านี้ได้ก็คือ “สติสัมปชัญญะ” การรู้ตัวทั่วพร้อม
เราต้องใช้ชีวิตอยู่ในสังคมนี้ เราจะหนีไปที่ไหนไม่ได้ เพราะเรามีร่างกาย มีครอบครัว มีภาระผูกมัดตัวตราบใดที่ยังมีธาตุมีขันธ์ ยังมีเวียนว่ายตายเกิด เราก็ต้องเจอสิ่งกระทบจากภายนอกเหล่านี้อยู่ร่ำไป
1
เรามีตาก็เพื่อมีปัญญา
เรามีหูก็เพื่อมีปัญญา
เรามีจมูกก็เพื่อมีปัญญา
เรามีลิ้นก็เพื่อมีปัญญา
เรามีกายก็มีเพื่อมีปัญญา
เรามีใจก็เพื่อมีปัญญา
เราเรียนหนังสือก็เพื่อมีปัญญา
เราศึกษาธรรมะปฏิบัติธรรมะก็เพื่อมีปัญญา
ทุกสิ่งทุกอย่างที่มากระทบมาสัมผัสกับเรา เราต้องมีปัญญารู้เท่าทันสิ่งเหล่านั้น...
2
ถ้าใจไม่มีปัญหา ทุกอย่างก็ไม่มีปัญหา
ทุกอย่างล้วนแต่มีใจเป็นเหตุ มีใจเป็นประธาน
2
เราจะไปแก้ไขปัญหาภายนอกเท่าไหร่ก็แก้ไม่จบ จะไปแก้ระบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทั้งโลกก็แก้กันไม่จบไม่สิ้น แต่การที่จะจบจะสิ้นได้ เราต้องกลับมาแก้ที่จิตที่ใจของตนเอง
1
ให้ทุกคนมีความเห็นที่ถูกต้อง มีความเข้าใจที่ถูกต้อง เราจึงจะมีการประพฤติการปฏิบัติที่ถูกต้อง
1
ข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน ถล่มทลายถาโถมเข้าสู่จิตใจหนักหน่วงยิ่งกว่าพายุไต้ฝุ่น
เราต้องทำจิตใจของเราให้มีมวลที่หนาแน่นเหมือนกับ “ใบบัว” ที่แม้นว่าน้ำทั้งหลายจะมาโดน มาสัมผัส มากลิ้งๆๆ อยู่บนใบบัวนานสักเท่าไหร่ น้ำทั้งหลายก็จะมิสามารถซึมเข้าไปในใบของบัวได้
2
ผืนน้ำบนใบบัว
บัวนั้นรับน้ำ รับธาตุอาหารจาก "ราก" เพื่อบำรุงโคน บำรุงต้น บำรุงใบ บำรุงให้ออกดอกได้อย่างสวยงามนั้นไซร้ พวกเราทั้งหลายจึงต้องมีสติมีปัญญารับธาตุอาหารคือความรู้ทั้งหลายจากราก จากแก่นแท้ ด้วยสติ ด้วยปัญญา เพื่อจะนำพาชีวิตนี้ให้เดินก้าวหน้าได้อย่างมั่นคง
2
ปัจจุบัน เราจะเห็นเทคโนโลยีการบำรุงเลี้ยงดูต้นไม้ ว่ามีการฉีดพ่นปุ๋ยเข้าไปทางใบ หรือใช้เทคโนโลยีทั้งหลายในการตัดต่อพันธุกรรม
เราได้ดอกสวยงามก็จริง เราได้ผลที่มากมายก็จริง แต่ลำต้นนั้นอ่อนแอ ไม่แข็งแรง โตก่อนวัย ชิงสุกก่อนห่าม เพราะการพัฒนามิได้เกิดมาจากรากฐานที่แท้จริงฉันนั้น การพัฒนานั้นไซร้ ย่อมทำลายตัวของตัวเอง ด้วยการพัฒนาของตัวเรา เหล่านั้นนั่นเอง...
ไม่มีใครที่จะมาทำร้ายทำลายมนุษยชาตินี้ได้นอกจากน้ำมือของมนุษยชาติ ที่เข้าไปแก้ไขธรรมชาติ โน้มน้าวธรรมชาติเพื่อหาความสุขความสะดวกความสบายให้กับตนเอง
2
สบาย ๆ ... เสื้อผ้าจะดำ จะสกปรกเปรอะเปื้อนไม่เป็นไร แต่ขอให้จิตใจได้ขาวสะอาด
เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ก็คือ หลักปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียง...
พุทธเศรษฐศาสตร์ (Buddhist Economics) สอนให้เรารู้จักพอ รู้จักประมาณในการบริโภค...
1
เรามีหน้าตาสวยหล่อเท่านี้ก็พอใจ
เรามีเงินมีงานมีฐานะเท่านี้ก็พอใจ
เรามีบ้านสักหลังหนึ่งพอได้อยู่ได้อาศัยหลบแดดหลบฝนเราก็พอใจ
เรามีรถสักคันหนึ่งใช้เป็นยานพาหนะขับไปทำงานได้เราก็พอใจ
เรามีอาหารพอให้รับประทานให้อิ่มได้ เราก็พอใจ
เรามีปัจจัยสี่ ได้ใช้ปัจจัยสี่ที่มีเท่านี้เราก็พอใจ
ทุกอย่างเราพอใจ ถ้ามีมากไปเราก็เผื่อแผ่และแบ่งปัน
2
อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ดังนั้นระบบของเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ จึงพาเราย้อกลับไปสู่วิถีชีวิตแบบดังเดิมเริ่มต้น คือฐานรากแห่งระบบเศรษฐกิจแบบของแลกของ (Barter System) ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจดั้งเดิมเริ่มต้นของมวลมนุษยชาติ เพื่อดูแลอัตภาพร่างกายให้ดำรงอยู่ได้จนกระทั่งแตกดับสลายไป และที่ดีเลิศประเสริฐกว่านั้น เศรษฐศาสตร์แนวพุทธยังสามารถลบล้างกิเลสหรือฝุ่นแห่งความอยาก นั่นก็คืออุปสงค์ทั้งหลายที่ปกคลุมอยู่รอบจิตใจด้วยการให้ การเสียสละ
2
ระบบ Barter system คือของแลกของ ฉันใด
ระบบการใช้ของแลกใจ ด้วยการให้การเสียสละ นั้นก็คือรากฐานแห่งพุทธเศรษฐศาสตร์อย่างแท้จริง ฉันนั้น
เราทุกคนเกิดมาเป็นมนุษย์ ถือว่าเป็นผู้ที่ประเสริฐ เราเกิดมาเพื่อให้ เพื่อเสียสละ
2
การลบล้างกิเลสที่จรเข้าไปปกคลุมจิต จะลบล้างออกไปได้ ต้องเริ่มต้นจาก
การให้การเสียสละ ซึ่งเป็นการให้การเสียสละอย่างไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ
2
ทำเพื่อให้ เพื่อเสียสละ
เรามีของมีวัตถุมาก เราก็แบ่งปันเพื่อให้ เพื่อเสียสละ
เรามีของมีวัตถุปานกลาง เราก็แบ่งปันเพื่อให้ เพื่อเสียสละ
ถึงแม้เราจะมีของมีวัตถุน้อย เราก็แบ่งปันเพื่อให้ เพื่อเสียสละ
1
พระพุทธองค์ยังทรงตรัสบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ห้ามมิให้ภิกษุเข้าไปรับบิณฑบาตในตระกูลที่เป็น “เสขะ” หรือ บุคคลที่เป็นพระอริยเจ้าเบื้องต้นชั้นโสดาบัน
เพราะบุคคลที่ระดับจิตใจในระดับโสดาบันนั้น จะมีความสุขในการให้ทาน การเสียสละ
มีข้าวมีอาหารอยู่จานหนึ่ง ท่านก็จะเสียสละให้พระ ให้นักบวชทั้งหมด ถึงแม้ร่างกายของพระโสดาบันจะไม่ได้รับอาหารให้พออิ่ม แต่จิตใจของท่านนั้นอิ่มเอิบด้วยความสุขไปตลอดภพ ตลอดชาติ
ท่านจึงบอกว่า พระโสดาบันนั้นจิตใจของท่านมีความสุขมากกว่ามหาเศรษฐีที่มีเงินมากมายหลายร้อย หลายพัน หลายหมื่น หลายแสนล้าน เพราะท่านมีฉันทะ มีความพอใจ มีความเห็นที่ถูกต้อง มีความเข้าใจที่ถูกต้อง การประพฤติปฏิบัติในชีวิตของท่านนั้นจึงถูกต้องและตรงมุ่งลงสู่กระแสแห่งมรรคผลพระนิพพาน
1
เมื่อตัดอุปสงค์ (Demand) คือความอยาก ความต้องการได้แล้ว... อุปทาน (Supply) ทั้งหลายก็จะมีแต่การให้ การเสียสละ
แต่ก่อนธุรกิจทั้งหลายสร้างอุปทานขึ้นมาเพื่อจะเอา จะมี จะเป็น เพื่อค้าขาย เพื่อกำไร
เราจะไปแก้ไขนักธุรกิจทั้งหลายให้หมดทั้งโลกนั้น เราแก้ไม่ได้ เราจึงต้องกลับมาแก้ไขที่จิตใจของเราเองเพียงคนเดียว
2
นำงานภายนอกมาฝึกงานภายใน กำจัดของเสียหรือสิ่งสกปรกภายนอกออกไป เพื่อสร้างจิตใจให้ใส สะอาด บริสุทธิ์
เราคนเดียวจะแก้ไขอะไรได้เหรอ...?
น้ำฝนหยดเล็ก ๆ นี้แหละ ที่รวมกันเป็นแม่น้ำ เป็นทะเล เป็นมหาสมุทร
ทุกอย่างเริ่มต้นจากจิตใจของเรา
เราเป็นสมาชิกในครอบครัว เป็นลูก เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นปู่ เป็นย่า เป็นตา เป็นยาย เราก็รู้จักแบ่งปันด้วยการให้ การเสียสละ คนที่ได้รับจากเรา เขาก็จะได้รู้ได้สัมผัสถึงความสุขจากจิตใจของผู้ให้ผู้เสียสละนั้น
1
เมื่อเราโตขึ้น เรามีโอกาสได้เป็นผู้นำ มียศ มีตำแหน่ง เราก็นำยศนำตำแหน่งทั้งหลายนั้นมาสร้างประโยชน์ตนและประโยชน์ให้ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยการให้ การเสียสละ
เราไม่สามารถทำทุกคนให้เป็นคนดีได้ แต่เราสามารถทำตนเองให้เป็นคนที่ดีได้
สังคมนี้ต้องการผู้นำที่ดี ต้องการต้นแบบที่ดี ต้องการตัวอย่างที่ดี
2
คนรุ่นใหม่สมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็น Generation X Generation Y เขาเป็นคนเก่ง เป็นคนฉลาด เขาก็มองออกว่าใครดี ใครไม่ดี สิ่งไหนดี สิ่งไหนชั่ว เขาเพียงต้องการโอกาสที่จะมีต้นแบบที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เพื่อให้เดินทางไปตามแนวทางแห่งการให้ การเสียสละอย่างแท้จริง
2
ใจดี ใจสบาย
6 บันทึก
33
67
14
6
33
67
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย