Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Porpear พ.แพร์ แคร์เรื่องหญิง
•
ติดตาม
16 มิ.ย. 2021 เวลา 10:00 • สุขภาพ
⁉️ “วัคซีนโควิดในคนท้อง”..ตัดสินใจยังไงดี ⁉️
โควิดในคนท้องน่ากลัวแค่ไหน
ฉีดวัคซีนดีมั้ย? ..ตัวไหนดีที่สุด ..จะรอตัวอื่นดีมั้ยน้า
ช่วงนี้มีข่าวเรื่องวัคซีนทุกวัน ก็คงมีเบื่อบ้าง
..ทั้งเรื่องการจัดสรรวัคซีนของรัฐบาล 😩
..ผลข้างเคียงของวัคซีน ..และการเลือกชนิดวัคซีน
คนทั่วไปยังกังวล แล้วในคนที่มีถึง2ชีวิตล่ะ จะกังวลแค่ไหน
ใน “คนท้อง” เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ถ้าติดแล้วไม่ค่อยคุ้มเท่าไหร่
แต่ถ้าฉีดไปแล้ว เจอผลข้างเคียงก็น่ากลัวอีก เอายังไงกันดี
🌟 วันนี้ พ.แพร์ จะเอาเรื่อง วัคซีนโควิด ใน “หญิงตั้งครรภ์”
มาดูกันค่ะ ..ว่าควรฉีดหรือไม่? ถ้าเลือกได้ เราฉีดตัวไหนดี?
ขอบคุณภาพจาก www.freepik.com
🌟 โรคโควิด19 กับ สตรีตั้งครรภ์ 🦠
(อ้างอิงจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย)
⁉️ คนท้อง ติดโควิดแล้วอันตรายกว่าคนทั่วไปมั้ย
✅ อันตรายกว่าค่ะ
- เข้า ICU สูงกว่า 2-3 เท่า
- ใช้เครื่องช่วยหายใจ สูงกว่า 2.6-2.9 เท่า
- เสียชีวิต 1.5-8 คน ใน 1,000 คน
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีสตรีตั้งครรภ์เสียชีวติแล้ว3คน (ข้อมูล 22 พ.ค. 64)
⁉️ คนท้อง ทุกคนเสี่ยงติดโควิดเท่ากันมั้ย
❎ ไม่ค่ะ
ความเสี่ยงจะมากในกรณีที่ อายุมาก อ้วน ครรภ์เป็นพิษ และมีโรคประจาตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวานก่อนตั้งครรภ์
⁉️ คนท้อง ติดโควิดแล้ว จะมีผลต่อลูกหรือไม่
✅ มีผลค่ะ ได้แก่
- คลอดลูกก่อนกำหนด 1.5 เท่า
- เด็กตายคลอด 2.8 เท่า
- ลูกต้องเข้า ICU 4.9 เท่า
- ลูกติดเชื้อได้ 3-5% แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการ
⁉️คนท้อง ติดโควิดแล้ว ต้องผ่าท้องคลอดหรือไม่
❎ ไม่จำเป็น
- การผ่าท้องคลอด จะทำตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
- สามารถให้การระงับความรู้สึกด้วยการบล็อคหลังได้
⁉️ ถ้าพบการติดเชื้อแล้ว(ตั้งแต่ตั้งครรภ์และระหว่างคลอด)
..หลังจากคลอดบุตร จะอุ้มลูกได้หรือไม่?
📍หลังคลอด ต้องแยกลูกออกไปตรวจหาเชื้อไวรัสก่อน
- หากไม่พบเชื้อในตัวลูก สามารถอุ้มลูกได้ แต่ต้องสวมหน้ากาก ล้างมือก่อน และหลังจับตัวลูก งดหอมแก้มลูก
- หากพบว่าลูกติดเชื้อรุนแรง จะต้องแยกไปรักษาที่หอผู้ป่วยเด็กแรกเกิด
- หากพบว่า ลูกติดเชื้อแบบไม่มีอาการหรืออาการน้อย และแม่ไม่มีอาการหรืออาการน้อย ไม่จำเป็นต้องแยกจากแม่
🌟 วัคซีนโควิด19 กับ สตรีตั้งครรภ์ 💉
(อ้างอิงจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย)
⁉️คนท้อง ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่
✅ ฉีดได้ค่ะ แนะนำให้เข้ารับการฉีดวัคซีนได้
- เนื่องด้วย โรคมีการแพร่ระบาดหนักมาก ประโยชน์ที่จะได้จากวัคซีนมีมากกว่าความเสี่ยงหรือผลข้างเคียงของวัคซีน จึงแนะนำให้สตรีตั้งครรภ์เข้ารับการฉีดวัคซีนได้
- อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น โดยยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนถึงผลข้างเคียงจากวัคซีนในคนท้อง
*คนที่เคยแพ้ รุนแรงจากการฉีดครั้งก่อน หรือแพ้ส่วนประกอบของวัคซีนรุนแรง ยังไม่แนะนำให้ฉีด
⁉️คนท้อง จะฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 มีแนวทางยังไง
ตามแนวทางของประเทศไทย ..ให้ปรึกษาสูติแพทย์ที่ดูแล
📍การฉีดวัคซีน แนะนำ ให้ฉีดหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
📍ชนิดของวัคซีน ใช้ได้ทั้งของบริษัท Sinovac หรือ AstraZeneca
📍ผลข้างเคียงของวัคซีนพบได้น้อยและไม่แตกต่างจากคนทั่วไป
📍หลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 พร้อมกับวัคซีนชนิดอื่น
📍 การฉีดวัคซีนชนิดอื่นควรเลื่อนไปอย่างน้อย 2 สัปดาห์หลังจากฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 (ในคนท้องยังมีวัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคซีนบาดทะยักที่แนะนำให้ฉีด)
1
⁉️ ถ้าฉีดวัคซีนป้องกันโควิดไปแล้ว พบว่าตั้งครรภ์ จะทำอย่างไร
- ข้อมูลปัจจุบัน ยังไม่พบว่า วัคซีนจะทำให้เกิดทารกพิการแต่กำเนิด จึงไม่ต้องยุติการตั้งครรภ์
- เมื่อพบว่าตั้งครรภ์ภายหลังฉีดวัคซีน ให้เลื่อนการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ออกไปฉีด หลังอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์
⁉️ วางแผนจะตั้งครรภ์ จะฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่
✅ ฉีดวัคซีนได้
- หลังฉีดวัคซีนไม่ต้องเว้นระยะการมีบุตร
- ไม่ต้องตรวจการตั้งครรภ์ ก่อนฉีดวัคซีน
- ยังไม่มีหลักฐานว่าวัคซีนจะส่งผลต่อความสามารถในการมีบุตรในอนาคต
🌟 ชนิด ของวัคซีนโควิด19 กับ สตรีตั้งครรภ์ 🌟
นานาชาติ ..มีการศึกษามั้ย? ..ในวัคซีนตัวใดบ้าง?
1
ตอนนี้ ในไทยมีแต่ Sinovac หรือ AstraZeneca
⁉️ AstraZeneca มีการศึกษาในคนท้องมั้ย?
ยังไม่มี ..แต่ WHO ประกาศออกมา (11 ก.พ. 21)
📍 การฉีด AstraZeneca ในหญิงตั้งครรภ์
- ได้ประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิด ในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์อยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เป็นเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ หรือในคนที่มีโรคประจำตัวเยอะหรือรุนแรงที่เสี่ยงจะติดโรคมากกว่าคนทั่วไป
- ทั้งนี้ ข้อมูลเรื่องผลข้างเคียงและความปลอดภัยยังจำกัด
1
⁉️ Sinovac มีการศึกษาในคนท้องมั้ย?
ยังไม่มี ..แต่ WHO ประกาศออกมา (2 มิ.ย. 21)
📍 แนะนำฉีด Sinovac ในหญิงตั้งครรภ์
- ได้ประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิด
- ดังนั้นจึงแนะนำให้ฉีดได้
- ทั้งนี้ ข้อมูลเรื่องผลข้างเคียงและความปลอดภัยยังจำกัด
1
🌟 ไม่อยากฉีด Sinovac หรือ AstraZeneca
⁉️ รอ วัคซีน อื่น? ..มีการศึกษาในตัวไหนแล้วบ้าง?
📌 mRNA vaccine เช่น Moderna, Pfizer-BioNTech
มีการศึกษา ในหญิงตั้งครรภ์ 35,691 คน (อายุ 16-54 ปี)
- พบว่ามีอาการปวดบริเวณที่ฉีดมากกว่าคนทั่วไป
- แต่อาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ไข้หนาวสั่น พบน้อยกว่า
- ผลต่อลูก พบว่า คลอดก่อนกำหนด (9.4%), เด็กตัวเล็ก (3.2%) แต่ไม่พบทารกคลอดเสียชีวิต
1
✨ สรุป วัคซีน mRNA Covid-19 ปลอดภัยในคนท้อง แต่ยังไม่มีการศึกษาถึงผลระยะยาว
1
📌 ส่วนวัคซีน J&J/Janssen
ซึ่งเป็นวัคซีนเวกเตอร์ไวรัสคือใช้ไวรัสเป็นตัวนำพา
ยังมีการศึกษาไม่ชัดเจนในคนท้อง
🌟 พ.แพร์ สรุปให้ เรื่องโควิดในหญิงตั้งครรภ์
📌 โควิดในหญิงตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป
📌 แนะนำฉีดวัคซีนป้องกันโควิด (ประโยชน์มากกว่าผลข้างเคียง)
📍 ชนิดของวัคซีนที่มีการศึกษาและรองรับ เป็น mRNA vaccine เช่น Moderna, Pfizer-BioNTech
1
📍ในไทย ตอนนี้ยังมีเพียง Sinovac หรือ AstraZeneca ซึ่งทางราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แนะนำว่าสามารถฉีดได้ หลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
.
.
.
ฝากติดตามฟัง “Porpear” ได้ที่
Youtube :
https://bit.ly/2KSsMnk
Spotify :
https://spoti.fi/2Y9JGBt
Apple podcast:
https://apple.co/2O0ocVM
Facebook :
https://www.facebook.com/porpearchannel
Blockdit :
https://www.blockdit.com/porpearchannel
.
#porpear #porpearpodcast #porpearchannel
#porpearพแพร์แคร์เรื่องหญิง #พแพร์แชร์ให้รู้
#โควิดในคนท้อง #วัคซีนโควิดในคนท้อง
Ref.
- ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
http://www.rtcog.or.th/home/
-
https://www.who.int/news-room/feature-stories/detail/the-oxford-astrazeneca-covid-19-vaccine-what-you-need-to-know
-
https://www.who.int/news-room/feature-stories/detail/the-sinovac-covid-19-vaccine-what-you-need-to-know
-
https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/recommendations/pregnancy.html
-
https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa2104983
ขอบคุณภาพจาก
www.freepik.com
2 บันทึก
9
4
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
พ.แพร์ Content
2
9
4
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย