16 มิ.ย. 2021 เวลา 11:50 • ธุรกิจ
สรุปสถานการณ์ ธุรกิจกระดาษรีไซเคิล ทั่วโลกในตอนนี้
2
ถ้าหากวันหนึ่งรถซาเล้ง ที่คอยมารับซื้อขยะจากเรา เกิดหายไปแบบกะทันหัน
เราจะจัดการกับกองขยะ ที่เตรียมเอาไว้ขายอย่างไร ?
เรื่องทำนองเดียวกันนี้ เกิดขึ้นกับธุรกิจรีไซเคิลกระดาษในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
จากที่ประเทศจีนเคยเป็นผู้นำเข้าเศษกระดาษ มากถึง 30 ล้านตันต่อปี
หรือคิดเป็น 70% ของปริมาณเศษกระดาษรีไซเคิล ที่มีการส่งออกทั่วโลก
กลับลดลงเหลือเพียง 7 ล้านตัน ในปี 2020
4
เรื่องนี้ส่งผลกระทบอะไรบ้าง ?
แล้วเศษกระดาษที่ไม่สามารถเข้าประเทศจีนได้ จะเปลี่ยนจุดหมายไปที่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
หลายปีที่ผ่านมา ความต้องการของเศษกระดาษส่วนใหญ่จะมาจากโรงงานผลิตกระดาษรีไซเคิลทั่วโลก
จึงไม่น่าแปลกใจว่า จีนจะกลายเป็นประเทศที่นำเข้าเศษกระดาษมากที่สุดในโลก
เนื่องจากต้องใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์จากเยื่อกระดาษ
ไม่ว่าจะเพื่อการบริโภคภายในประเทศเอง หรือในภาคอุตสาหกรรม
โดยเฉพาะธุรกิจบรรจุภัณฑ์ ก็ยังมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
1
ซึ่งตั้งแต่ปี 2010 จีนมีการนำเข้าเศษกระดาษเพื่อการรีไซเคิล เฉลี่ยประมาณ 25-30 ล้านตันต่อปี
คิดเป็น 60-70% ของปริมาณเศษกระดาษรีไซเคิล ที่มีการส่งออกทั่วโลก
1
ดังนั้น เมื่อไรที่โรงงานในจีนขาดแคลนวัตถุดิบ
ก็จะส่งผลให้ ราคาเศษกระดาษทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น
และในทางกลับกัน หากปริมาณสั่งซื้อจากจีนลดลง
ราคาของเศษกระดาษก็จะลดต่ำลงไปด้วย
จนอาจเรียกได้ว่า “ราคาจีน” ก็คือ “ราคาโลก” นั่นเอง
1
ทีนี้ก็มีคำถามขึ้นว่าโรงงานจีนผลิตกระดาษมากมาย ก็น่าจะมีเศษกระดาษรีไซเคิลอยู่มาก แต่ทำไมถึงกลับนำเข้าเศษกระดาษอยู่
คำตอบก็คือ กระดาษส่วนใหญ่นั้นจะนำไปเป็นบรรจุภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นจะถูกส่งออกพร้อมกับสินค้าไปยังต่างประเทศ ทำให้เหลือเศษกระดาษในประเทศน้อย
1
ซึ่งถ้าประเทศนั้นเป็นผู้ส่งออกมากกว่าผู้นำเข้า
ก็จะทำให้เศษกระดาษ หรือบรรจุภัณฑ์ติดไปกับตัวสินค้า
และไปตกอยู่กับประเทศปลายทางที่เป็นผู้บริโภค
1
ซึ่งจีนรวมถึงไทยเอง ก็ต่างเป็นประเทศที่เน้นการส่งออก
จึงทำให้อยู่ในกลุ่มประเทศ ที่ต้องเป็นผู้นำเข้าเศษกระดาษ
ต่างจากสหรัฐอเมริกา ที่เป็นประเทศที่มีปริมาณการนำเข้าสินค้าสูง
จึงกลายเป็นผู้ส่งออกเศษกระดาษรีไซเคิล เป็นอันดับ 1 ของโลก
Cr.leefibre
อีกปัจจัยหนึ่งก็คือ ขีดความสามารถในการเก็บและคัดแยกเศษกระดาษ ของแต่ละประเทศ
1
เช่น ประเทศญี่ปุ่น ที่มีการปลูกฝังเรื่องการคัดแยกขยะมาตั้งแต่เด็ก ประกอบกับการสนับสนุนจากภาครัฐ
1
สัดส่วนการเก็บกระดาษรีไซเคิลจึงสูงถึง 80% จากปริมาณเศษกระดาษทั้งหมด ทำให้เพียงพอต่อการผลิตในประเทศ และยังเหลือมากพอที่จะส่งออกได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม จุดพลิกผันของเรื่องนี้ ได้เกิดขึ้น
เมื่อประเทศที่นำเข้าเศษกระดาษมากสุดในโลก อย่างจีน
ประกาศนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อม ในปี 2017
1
โดยมีการกำหนดมาตรฐานของการนำเข้าขยะ ที่มีความเข้มงวดสูงขึ้น
และบังคับใช้กับขยะ 24 ชนิด ซึ่งเศษกระดาษก็เป็นหนึ่งในนั้น
เนื่องจากการนำเข้าเศษกระดาษ อาจมีสิ่งปลอมปนที่เป็นพิษ
หรือขยะที่ไม่สามารถนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้
จนเกิดเป็นของเสียจากกระบวนการผลิต และก่อมลพิษ
2
ทำให้จีนทยอยปรับลดปริมาณการนำเข้าเศษกระดาษ ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา
จนล่าสุดในปี 2020 มีปริมาณการนำเข้าเพียง 7 ล้านตัน
ซึ่งเรียกได้ว่าลดลงจากยอดนำเข้าเฉลี่ยเดิมกว่า 70% เลยทีเดียว
1
เรื่องนี้ทำให้บริษัทผลิตกระดาษในจีน กระจายตัวไปเปิดโรงงานผลิตกระดาษในประเทศใกล้เคียง หรือไม่ก็ซื้อโรงงานผลิตกระดาษในประเทศอื่น ๆ
2
โดยโรงงานส่วนใหญ่จะดำเนินการแปรรูปเศษกระดาษรีไซเคิล
ให้เป็นเยื่อกระดาษ หรือกระดาษกึ่งสำเร็จ ที่พร้อมสำหรับการแปรรูป
จากนั้นจึงส่งเข้าไปยังโรงงานผลิตในประเทศจีนอีกต่อหนึ่ง
Cr.happinessboiler
อย่างเช่น ในปี 2018 Nine Dragons ผู้ผลิตกระดาษที่ใหญ่ที่สุดของจีน
ได้ดำเนินการซื้อโรงงานผลิตเยื่อกระดาษของสหรัฐอเมริกาหลายแห่ง
เพื่อผลิตและส่งเยื่อกระดาษกลับไปยังโรงงานหลักในจีน
โดยการทำเช่นนี้ ทำให้ของเสียที่มาพร้อมกับเศษกระดาษรีไซเคิล
ถูกคัดออกตั้งแต่ประเทศต้นทาง ก่อนจะเข้ามาสู่ประเทศจีน
ซึ่งตรงกับนโยบายของรัฐบาลที่จะลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศจีน
แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก็ต้องใช้เวลา
และเมื่อมีขยะออกมาทุก ๆ วันจากการบริโภคของประชาชนทั่วโลก
ขยะเหล่านั้น จึงต้องหาจุดหมายปลายทางใหม่
ซึ่งหนึ่งในปลายทางนั้นก็คือ ประเทศอินเดีย
1
จากเดิมที่ต้องคอยแย่งเศษกระดาษจากเจ้าตลาดอย่างจีน
แต่ปัจจุบันอินเดียสามารถเลือกซื้อเศษกระดาษได้มากขึ้น จากปริมาณที่มีเหลือในตลาด
2
โดยมูลค่าการนำเข้าเศษกระดาษของอินเดียในปี 2020 มีมูลค่ากว่า 34,000 ล้านบาท
เติบโตจากปี 2014 ที่มีมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท ถึง 70%
3
ซึ่งปัจจัยหลักมาจากอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ของอินเดีย ยังสามารถเติบโตได้
จากพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่ยังคงนิยมการอ่านผ่านหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร
อีกทั้งจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ภาคอุตสาหกรรมที่เติบโตต่อเนื่องมาหลายปี
ทำให้ความต้องการบรรจุภัณฑ์ และสื่อสิ่งพิมพ์เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
อ่านมาถึงตรงนี้ก็เป็นที่น่าติดตาม ว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะมีบทสรุปเป็นอย่างไร
จะมีใครอีก ที่ก้าวขึ้นมารับช่วงต่อจากจีน เหมือนกับที่อินเดียกำลังทำ
แล้วประเทศไทย ที่อยู่ใกล้และมีนักธุรกิจจีนมาลงทุนอยู่จำนวนมาก
จะมีบทบาทอย่างไร ในการเปลี่ยนแปลงนี้
2
เพราะนโยบายของจีนที่ประกาศออกมา ไม่ได้มีแค่เศษกระดาษ
แต่มีทั้งพลาสติก เหล็ก ทองแดง และอื่น ๆ อีกมากมาย
ที่พบได้ตามร้านรับซื้อของเก่าทั่วประเทศไทย..
2
ปิดท้ายด้วยความรู้ที่น่าสนใจ
กระดาษ 1 ชิ้น สามารถหมุนเวียนเข้าสู่วงจรการรีไซเคิลได้สูงถึง 7 ครั้ง
โดยขึ้นอยู่กับความแข็งแรงและความยาวของเยื่อกระดาษ ที่จะสั้นลงทุกครั้งที่เข้าสู่การรีไซเคิล
1
โฆษณา