16 มิ.ย. 2021 เวลา 12:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุปโพสต์เดียวจบ ปิดฉากศึก 17 ปี ‘โบอิ้ง-แอร์บัส’ เมื่อชาติตะวันตกผนึกกำลังสู้จีน
1
สงครามการค้า 17 ปี ระหว่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ที่มีเบื้องลึกเบื้องหลังมาจากสองยักษ์ใหญ่ในธุรกิจเครื่องบินอย่าง ‘โบอิ้ง’ และ ‘แอร์บัส’ ดูท่าจะจบลงด้วยดี แถมยังตกลงรวมพลังกันหันไปต่อกรกับจีนที่กำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจในธุรกิจนี้แทน
2
เรื่องนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร สงครามครั้งนี้จะจบจริงหรือไม่ TODAY Bizview ชวนมาทำความเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดใน 17 ข้อ
1) เชื่อว่าหากพูดถึงอุตสาหกรรมการบิน คงไม่มีใครไม่รู้จัก 2 ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง โบอิ้ง (Boeing) และแอร์บัส (Airbus) แน่นอน โดยโบอิ้งเป็นบริษัทสัญชาติอเมริกันที่ถือได้ว่าเป็นพี่ใหญ่ในวงการเครื่องบินพาณิชย์ เนื่องจากก่อตั้งขึ้นในปี 2459
4
ขณะที่แอร์บัส เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มกันของบริษัทการบินขนาดใหญ่ของชาติในยุโรปเมื่อราวปี 2513 ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์
3
2) แม้จะมาทีหลังแต่เรียกได้ว่าแอร์บัสเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวไม่เบา ด้วยความสามารถในการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีการบินใหม่ๆ ที่ไม่แพ้กับโบอิ้ง ทำให้แอร์บัสเองก็สามารถผลิตเครื่องบินเชิงพาณิชย์ออกสู่ท้องตลาดได้อย่างมากมาย ทั้งยังประสบความสำเร็จจนสามารถชิงส่วนแบ่งการตลาดจากโบอิ้งไปได้ครึ่งหนึ่งตั้งแต่ในปี 2546
4
3) และยิ่งนับวันที่อุตสาหกรรมการบินโลกขยายตัว การแข่งขันของทั้งคู่ก็ดูเหมือนจะยิ่งรุนแรงขึ้น หลังในปี 2547 แอร์บัสประกาศว่ากำลังจะผลิตเครื่องบินขนาดกลางประหยัดเชื้อเพลิงอย่างรุ่น A350 ซึ่งนั่นเป็นการออกมาแข่งกันแบบตรงๆ กับเครื่องบินรุ่นที่โบอิ้งสุดแสนภาคภูมิใจอย่าง 787 Dreamliner
5
4) แต่ตอนนั้นแอร์บัสยังไม่ได้เริ่มผลิต เนื่องจากกำลังรออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลของประเทศในยุโรปอยู่ และการรอเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเพื่อมาผลิตเครื่องบิน A350 นี้เอง ที่เป็นเหมือนชนวนสร้างข้อพิพาทระหว่างสหรัฐฯ และยุโรปขึ้น
2
5) ถามว่าทำไมแอร์บัสถึงได้รับเงินอุดหนุนจากภาครัฐ? คำตอบคือในความเป็นจริงแล้ว แอร์บัสเป็นบริษัทที่ได้รับเงินอุดหนุนที่เรียกว่า Launch Aid จากรัฐบาล 4 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ และสเปน มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทใหม่ๆ
2
6) ซึ่ง Launch Aid คือเงินกู้ประเภทซอฟต์โลน หรือเงินกู้ดอกเบี้ยถูก ที่รัฐบาลประเทศยุโรปให้แอร์บัสนำไปใช้ในการพัฒนาเครื่องบินรุ่นใหม่ๆ โดยให้เหตุผลว่า จำเป็นที่จะต้องให้เงินอุดหนุนพิเศษแก่แอร์บัส เพื่อให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินพาณิชย์ของโลก ที่ตอนนั้นแทบจะผูกขาดอยู่ที่โบอิ้งเจ้าเดียว
2
7) การได้รับเงินกู้ที่แทบจะเหมือนเงินอุดหนุนดังกล่าวของแอร์บัส แน่นอนว่าสร้างความไม่พอใจให้กับโบอิ้งและสหรัฐฯ เนื่องจากฝ่ายสหรัฐฯ มองว่านี่เป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง เป็นการละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศ และขัดต่อการแข่งขันทางเสรีการค้า
2
8) นั่นทำให้โบอิ้งและสหรัฐฯ เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศยุโรปยุติการอุดหนุนเงินให้แก่แอร์บัส ซึ่งไม่ใช่แค่เรียกร้องธรรมดา แต่ในปี 2547 สหรัฐฯ ได้นำเรื่องนี้ยื่นร้องเรียนต่อองค์การการค้าโลก หรือ WTO ว่าประเทศสมาชิกยุโรป (EU) ให้เงินอุดหนุนแก่แอร์บัสอย่างผิดกฎหมาย
2
9) ฟากฝั่งแอร์บัสและสหภาพยุโรปก็ไม่ยอมเช่นกัน โดยตอบโต้ต่อกรณีดังกล่าวด้วยการร้องเรียนต่อ WTO ว่าโบอิ้งเองก็รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ ทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นการได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีจากรัฐ รวมไปถึงการได้เซ็นสัญญาร่วมโครงการต่างๆ ของนาซ่า และกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ซึ่งสร้างรายได้มหาศาลให้กับโบอิ้ง
3
10) จนในปี 2553 และ 2554 ในที่สุด WTO ก็ตัดสินว่าทั้งโบอิ้งและแอร์บัสต่างก็ได้รับเงินช่วยเหลือแบบผิดกฎหมายทั้งคู่ แต่ถึงอย่างนั้นปัญหาก็ยังไม่จบและยืดเยื้อมาอีก เนื่องจากทั้งสหรัฐฯ และอียูต่างกล่าวหาว่าแต่ละฝ่ายไม่ยอมหยุดช่วยเหลือโบอิ้งและแอร์บัส
4
11) กระทั่งปี 2562 ซึ่ง WTO ได้ตัดสินเห็นชอบตามคำร้องของสหรัฐฯ จึงเป็นการเปิดทางให้สหรัฐฯ เก็บภาษีสินค้าที่นำเข้าจากสหภาพยุโรป ตั้งแต่เครื่องบินไปจนถึงผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร อาหาร และเครื่องดื่ม รวมแล้วคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 7.5 พันล้านเหรียญ (และที่น่าสังเกตคือ ส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้าจากฝรั่งเศส, เยอรมนี, สเปน และสหราชอาณาจักร)
2
12) แต่โชคไม่ได้เข้าข้างสหรัฐฯ เพียงฝั่งเดียว เพราะในปี 2563 อนุญาโตตุลาการของ WTO ก็ตัดสินให้อียูเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ ได้ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณ 4 พันล้านเหรียญ
2
13) อย่างไรก็ตาม ล่าสุดดูเหมือนว่าปมปัญหาข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกที่ยืดเยื้อมานานถึง 17 ปีของทั้ง 2 บริษัท 2 ดินแดน น่าจะคลี่คลายลงได้ด้วยดี หลังการเยือนยุโรปของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ‘โจ ไบเดน’
2
โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า จะจะยุติความบาดหมางด้วยการระงับการเก็บภาษีนำเข้าจากแต่ละฝ่ายเป็นระยะเวลา 5 ปี และให้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงรับประกันว่าทั้งสองฝ่ายจะมีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม
5
14) ที่มากกว่านั้นก็คือ ทั้งสองฝ่ายยังตกลงร่วมมือกันในเชิงกลยุทธ์ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามใหม่ที่มีร่วมกัน นั่นคือ การผงาดขึ้นมาเป็นผู้เล่นที่มีอำนาจในระดับโลกของจีน
3
15) ซึ่งการก้าวขึ้นมาของจีนนั้นเป็นผลมาจากบริษัทการบินและอวกาศของจีนอย่าง Commercial Aircraft Corporation of China ที่เตรียมก้าวขึ้นเป็นคู่แข่งสำคัญในอุตสาหกรรมการบินภายในปี 2573
5
และนั่นจะส่งผลให้โบอิ้งและแอร์บัสจะสูญเสียยอดขายราว 1 ใน 4 ที่ทำได้ในประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก
16) นอกจากสงบศึกครั้งนี้ สหรัฐฯ และอียูจึงตกลงที่จะจัดตั้งสภาการค้าและเทคโนโลยีร่วมกัน เพื่อที่จะสกัดกั้นความทะเยอทะยานของจีนในด้านต่างๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์และความปลอดภัยทางไซเบอร์
5
17) ท้ายที่สุดจึงอาจต้องดูกันต่อไปว่า การรวมพลังกันของสหรัฐฯ และอียูจะทัดทานอิทธิพลของจีนได้มากน้อยแค่ไหน และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และยุโรปจะจบลงจริงๆ หรือ ในเมื่อปัจจุบันยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ในเรื่องภาษีการนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียม ที่ประกาศใช้ตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีทรัมป์ในปี 2561 อยู่ด้วย
3
โฆษณา