16 มิ.ย. 2021 เวลา 17:03 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ใกล้ความจริงเข้าไปอีกนิดกับการสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่นต้นแบบที่จะสามารถใช้ผลิตไฟฟ้าในอนาคต!!
1
เมื่อแม่เหล็กที่ทรงพลังที่สุดในโลกผ่านการทดสอบขั้นสุดท้ายและกำลังถูกขนส่งไปติดตั้งยังเตาปฏิกรณ์ ITER ซึ่งก่อสร้างเสร็จไปกว่า 75% แล้ว
1
เตาปฏิกรณ์ ITER ความหวังของมวลมนุษชาติ
อีกความคืบหน้าของการก่อสร้างเตาปฏิกรณ์ ITER เมกะโปรเจคของ 35 ชาติที่ร่วมกันพัฒนาเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวช้่นต้นแบบสำหรับทดสอบสร้างดวงอาทิตย์เทียมขึ้นบนโลกเพื่อนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานสะอาดแห่งอนาคต
2
เป็นความหวังในการปลดแอกมนุษยชาติออกจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและพลังงานนิวเคลียร์แบบเก่าซึ่งทิ้งปัญหาการจัดการกากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์
2
ซึ่งก็เหมือนกับโครงการอื่น ๆ ทั่วโลกด้วยผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้โครงการนี้ต้องเจอกับความล่าช้าในการก่อสร้าง
แต่มาวันนี้โมดูลแรกของแม่เหล็กยักษ์แกนกลางเตาปฏิกรณ์ซึ่งผลิตโดย General Atomics ได้ผ่านการทดสอบขั้นสุดท้ายและเริ่มการขนส่งจากโรงงานที่อเมริกาไปยัง Site ก่อสร้างที่ประเทศฝรั่งเศสแล้ว
ซ้าย: ตัวโมดูลแม่เหล็กบนแท่นทดสอบ, ขวา: ตำแหน่งที่จะนำไปติดตั้งในเตา ITER คือแกนตรงกลางของรูโดนัท
โดยแม่เหล็กแกนกลางเตาปฏิกรณ์นี้ประกอบด้วย 6 โมดูลที่เมื่อติดตั้งเสร็จจะกลายเป็นแม่เหล็กยักษ์แท่งสูง 18 เมตรเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.25 เมตรน้ำหนักกว่า 1,000 ตัน
ซื่งหน้าที่ของมันคือการสร้างกรงสนามแม่เหล็กที่จะใช้ในการขังพลาสมาร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั้นเอาไว้ และเลี้ยงให้คงสภาพนานพอที่เราจะสามารถดึงเอาพลังงานออกมาใช้ประโยนชน์ได้
3
แม่เหล็กยักษ์นี้เมื่อเริ่มทำงานมันจะเป็นแม่เหล็กที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่มนุษย์เราเคยสร้างขึ้นมา ซึ่งถ้าถามว่าแรงแค่ไหน
ก็แรงพอที่สามารถเอาไปดูดยกเรือบรรทุกเครื่องบินทั้งลำให้ลอยขึ้นมาได้ โดยความเข้มของสนามแม่เหล็กที่แม่เหล็กแท่งนี้สร้างได้นั้นมีความเข้มมากกว่าสนามแม่เหล็กโลก 280,000 เท่า
4
ตัวโครงสร้างของเตา ITER
ด้วยแรงดูดมหาศาลขนาดนี้ทำให้ตัวโครงสร้างของฐานเตาปฏิกรณ์นั้นต้องถูกออกแบบมาให้สามารถรับแรงดึงที่เท่ากับแรงดึงจากกระสวยอวกาศ 2 ลำขณะที่พุ่งทะยานออกจากแท่นปล่อยเลยทีเดียว (เอาเชือกผูกจรวดไว้กับฐานเตาปฏิกรณ์นี่จรวดบินไม่ขึ้นกันเลยทีเดียว)
1
ถ้าไม่ติดโควิดนี่ตามแผนประมาณ 3 ปีก็น่าจะได้เริ่มเดินเครื่อง ซึ่งก็ต้องดูกันต่อไปว่าจะสามารถเร่งรัดงานก่อสร้างกลับมาได้แค่ไหน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา