Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Pariyasut2018
•
ติดตาม
17 มิ.ย. 2021 เวลา 01:40 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Article 4 งานเชื่อมกับอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลหนัก
2
ก่อนอื่นคงต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่าอะไรคืออุตสาหกรรมเครื่องจักรกลหนัก และผู้ประกอบการกลุ่มนี้สร้างประโยชน์อย่างไรต่อการพัฒนาประเทศ
4
ตัวอย่างอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลหนัก ได้แก่ การสร้างเครนทุกประเภท เครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก การก่อสร้างระบบขนส่งทางราง เครื่องจักรกลหนักและยานพาหนะสำหรับงานเหมืองแร่ เป็นต้น เครื่องจักรกลหนักเหล่านี้จะถูกใช้เพื่อการสร้างงานจำนวนมาก
4
มาเริ่มต้นที่งานก่อสร้างเครนที่มีหลากหลายประเภท ที่ใช้เยอะมากที่สุดน่าจะเป็น Overhead Crane ซึ่งมีเกือบทุกโรงงานในการเคลื่อนย้ายวัสดุระหว่างการผลิต Gantry Crane จะใช้งานกลางแจ้งนอกโรงงาน Tower Crane ใช้ในงานก่อสร้างอาคารสูง ที่เป็นข่าวล้มให้เห็นเป็นประจำ
3
โรงงานที่ผลิตโครงสร้างเครนที่เป็น Overhead และ Gantry crane น่าจะมีเยอะที่สุด โรงงานบางแห่งก็สร้างเครนใช้งานเอง ขนาดของเครนมีตั้งแต่ 1 Ton จนถึง 30 ตัน แต่ถ้าเป็น Gantry Crane จะมีขนาดใหญ่กว่านี้ อาจถึง 80 Ton mobile crane ก็มีทั้งแบบล้อยางและตีนตะขาบ สามารถยกได้ถึง 800 Ton
5
โรงงานเหล่านี้มีการใช้กระบวนการเชื่อมในการสร้างงานอย่างเข้มข้น ก่อนหน้านี้สักสิบกว่าปีใช้กระบวนการเชื่อมไฟฟ้า หรืออาร์กโลหะด้วยมือเป็นหลัก แต่ปัจจุบันหันมาใช้ฟลั๊กซ์คอร์กันหมด
3
2
อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลหนัก สำหรับอุตสาหกรรมผลิตเหล็ก คงต้องพูดถึง บริษัทดานิลี ฟาร์อีสต์ จำกัด อันนี้เป็นชื่อเดิม ชื่อใหม่ เหลือแค่ดานีลี่ เป็นบริษัทจากอิตาลี รับสร้างโรงงานที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กกล้าทุกประเภทแบบครบวงจร ยอดขายปีละไม่ต่ำกว่า 20000 ล้าน ย้อนหลังไปสักเมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว ผมได้มีโอกาสร่วมงานกับดานีลี่ โดยไปเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ด้านงานเชื่อมให้กับวิศวกรและช่างเทคนิคที่ต้องใช้กระบวนการเชื่อม และต้องมีความรู้ด้านงานเชื่อมในการออกแบบและผลิตเครื่องจักร ไปสอนหนังสืออยู่สามปี ทุกวันศุกร์ และเสาร์ ก็เอาชุดความรู้จากหลักสูตรฝึกอบรม IWE นี่แหละไปสอนแต่คัดเอาเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น ผลก็คือ วิศวกรที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้ ทยอยลาออกไปทำงานที่อื่น จากนั้นก็ไม่มีโครงการแบบนี้อีกเลย 555
4
โรงงานที่ดานีลี่รับสร้างก็จะเป็นพวกอุตสาหกรรมต้นน้ำและกลางน้ำของการผลิตเหล็กกล้า พวกต้นน้ำจะเป็นโรงถลุงเหล็ก โรงหลอมเหล็ก เตาอาร์กไฟฟ้าหล่อต่อเนื่อง (Continious Casting) เป็น Slab Billet Bloom
4
พวกกลางน้ำก็จะเป็นโรงงานที่เอา raw mat เหล่านี้มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือที่เรียกว่า Semi-Finish Product ได้แก่ โรงงานรีดเหล็กเส้น เหล็กรูปพรรณ เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดเย็น เป็นทั้งแผ่นหนา(plate) แผ่นบาง (Sheet)และคอยล์ (Coil) โรงงานผลิตท่อเหล็กทุกประเภท เรียกว่าสามารถสร้างโรงงานแปรรูปเหล็กได้ครบวงจรเลยทีเดียว
3
พวกวัตถุดิบในการผลิตที่เป็น Semi-Finish product เหล่านี้จะถูกนำมาแปรรูป ผ่านกระบวนการตัด ขึ้นรูป และเชื่อมประกอบ เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จ ตย.เช่น รถยนต์ หม้อน้ำ ภาชนะแรงดัน ชิ้นส่วนเครื่องจักร โครงสร้างอาคาร สะพาน ฯลฯ
3
จากภาพ Bird eye view น่าจะเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในนิคมอีสเทิร์นซีบอร์ด มีวิศวกรเป็นพันคน สร้างรายได้และสร้างงานจำนวนมหาศาล ดานีลี่รับก่อสร้างโรงงานแบบ Turnkey ผลิต ติดตั้ง เดินเครื่องจักรพร้อมผลิตได้เลย ขายงานทั่วโลก ทำให้เกิด supply chain อีกไม่น้อยเลยทีเดียว
4
พวกเครื่องจักรที่ใช้แปรรูปเหล็กทุกประเภท ชิ้นส่วนเครื่องจักรเหล่านี้มีขนาดใหญ่ และมีการใช้กระบวนการเชื่อมที่เรียกว่าระดับเข้มข้นเลยที่เดียว
3
น่าเสียดายที่ประเทศไทยไม่มีโรงงานผลิตเหล็กต้นน้ำ เพราะบ้านเราไม่มีสินแร่เหล็กมากพอที่จะสร้างโรงถลุงเหล็ก ทั้งๆที่ปริมาณการใช้เหล็กของประเทศไทยอยู่ในระดับที่สูงมาก และสามารถพยากรณ์การเติบโตของอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้ได้ว่า ปริมาณการใช้เหล็กมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
4
บริษัทสหวิริยา เคยมีแนวคิดในการลงทุนสร้างโรงถลุงเหล็กที่บางสะพาน โดยจะซื้อสินแร่เหล็กมาถลุงและหลอมเป็น Slab วัตถุดิบตั้งต้นในการแปรรูปเหล็ก แต่สอบไม่ผ่าน เลยต้องไปซื้อโรงถลุงเหล็กที่อังกฤษ แล้วผลิต Slab ส่งมาอีกที ผลเป็นอย่างไรคงไม่ต้องเล่า เพราะเป็นข่าวใหญ่โตเมื่อสัก 10 กว่าปีที่แล้ว
3
อีกหนึ่งบริษัทที่น่าสนใจ คือ Caterpillar ย้อนกลับไปสัก 10 ปีที่แล้ว มีบริษัทสัญชาติอเมริกันย้ายฐานการผลิตจากจีนมายังประเทศไทย มาลงทุนก่อสร้างโรงงาน 2 แห่ง ที่นิคมเหมราชระยอง เลย มจพ.วิทยาเขตระยองไปไม่ไกล เงินลงทุนกว่า 20000 ล้าน รวมถึงพันธมิตรที่จำใจต้องย้ายฐานการผลิตตามมาด้วยอีก 2-3 บริษัท ที่ผมรู้จักก็ Starbut และ Yaokun
3
Caterpillar แยกสายการผลิตเป็นสองส่วนคือ UGM (Under Ground Mining) ผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับงานเหมืองใต้ดินทุกประเภท และ TRCC ผลิตรถสำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ รวมถึงรถแบ็คโฮ
3
วันที่ Caterpillar มาตั้งในประเทศไทย บุคลากรเกือบทั้งหมดย้ายมาจากอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ส่วนเหตุผลที่เลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตในภูมิภาคนี้ เข้าใจว่าทรัพยากรธรรมชาติในประเทศเพื่อนบ้านของไทยยังมีอีกมาก และมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเข้าใกล้ออสเตรเลียที่มีอุตสาหกรรมเหมืองแร่จำนวนมากที่เป็นฐานลูกค้า รวมถึงเหตุผลที่ประเทศไทยมีช่างเชื่อมฝีมือดี และมีบุคลากรด้านงานเชื่อมมากกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคนี้
3
Caterpillar เป็นโรงงานที่มีความทันสมัย และมีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต มีการจ้างผู้รับเหมาช่วง(Subcontract) หลายเจ้าเป็นผู้ผลิต Part ต่างๆ โดยนำมาประกอบเป็นรถที่โรงงาน TRCC รวมถึงการทดสอบสมรรถนะของรถในสนามด้านหลังโรงงาน
3
ทุกโรงงานของ Caterpillar ผมบอกได้เลยว่าสะอาด และมีความเป็นระเบียบสูงมาก รวมถึงระบบรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดมาก
3
การมาของ Caterpillar ทำให้เกิดการจ้างงานมหาศาล ทั้งในโรงงานของ CATเอง และ Subcontract โรงงานหลายแห่งในนิคมเหมราชระยองที่เคยผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ก็หันมาผลิตชิ้นส่วนให้ CAT เพราะได้เปรียบในเรื่องต้นทุนการขนส่ง แต่ที่อยู่ไกลๆและได้รับความไว้วางใจจาก CAT ที่ผมรู้จักมีสองเจ้า คือ SCS Fabrication และ โชคชัย
5
ยังไม่รวมพวกที่ตามมาจากจีนอย่าง Starbut และ Yaokun กรณีของ 2 บริษัทนี้จะคล้ายกับการย้ายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไปเวียตนาม คือเขาให้ Priority ในการย้ายฐานการผลิตตามมาลงทุน เพราะเคยค้าขายกันมาก่อน แต่ถ้าไม่มา เขาก็หา Partner ใหม่
3
แต่กรณีเวียตนามเด็ดกว่านี้ คุณวิกรม แกรับเป็นเจ้าภาพในการสร้างนิคมอมตะเวียตนามให้เลย ส่วนใครจะย้ายหรือไม่ย้ายก็ตัดสินใจเอาเอง เท่าที่ทราบ ไม่มีใครอยากลงทุนเพิ่ม เพราะตอนนี้เก็บกำไรเต็มๆ ไม่เป็นหนี้ด้วย แต่ด้วยสถานะการณ์บีบบังคับก็ต้องลงทุนต่อ นี่แหละระบบทุนนิยม ขึ้นหลังเสือแล้ว ลงลำบาก วันนี้ค่าแรงเวียตนามวันละ 120 บาท ส่วนช่างที่เก่งๆก็ได้มากกว่านี้ แต่ไม่เกินวันละ 200 บาท
4
ส่วนพวก Backhoe มีผลิตในเมืองไทยหลายเจ้า เช่น Komutsu Volvo Kobelco จะเจาะกลุ่ม construction ทั่วไป ถมที่ ขุดดิน ทำถนน อะไรประมาณนั้น ยังไม่รวมพวกนำเข้าจากจีนอีกหลายเจ้า รวมถึงพวกรถตักที่ใช้กับอุตสาหกรรมการเกษตร ลานข้าว ลานมัน ผลิตและส่งมาจากจีนทั้งนั้น เราน่าจะส่งเสริมให้ทำเองซึ่งผมเชื่อว่าเราทำได้ แต่แค่รัฐไม่ส่งเสริมอย่างจริงจัง
4
ช่างเชื่อมไทยเองก็ได้อานิสงค์จากการมาของ caterpillar เพราะการจ้างงานของบริษัทยักษ์ใหญ่เป็นระบบ มีสวัสดิการครบแบบจัดเต็ม สภาพแวดล้อมในการทำงานก็ดีมาก ค่าตอบแทนก็ดี
5
จะเห็นว่ากลุ่มนี้โดยส่วนมากจะเป็นทุนข้ามชาติเข้ามาตั้งฐานการผลิต เน้นการส่งออกมากกว่าในประเทศ แต่อย่างไรก็ตามได้สร้างงานและสร้างรายได้ให้กับช่างเชื่อมไทยเป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว
4
ผศ.ดร.ปริยสุทธิ์ วัฒนธรรม
ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
3
วิทยาทานในครั้งนี้ข้าพเจ้าขออุทิศผลบุญให้คุณพ่อประสงค์ คุณแม่รัตนาพร วัฒนธรรม และคณาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้ข้าพเจ้าจนสามารถต่อยอดองค์ความรู้เกิดประโยชน์เป็นวงกว้างผ่านสื่อโซเชียลเทอญ....
5
https://www.jobtopgun.com/?view=expire&idEmp=15465&idPosition=159
https://www.danieli.com/en/products/products-processes-and-technologies/cold-rolling-mills_26_50.htme
https://www.caterpillar.com/en/company/global-footprint/apd/thailand.html
https://studentlesson.com/flux-cored-arc-welding-fcaw-definition-applications-diagram-working-advantages-and-disadvantages/
https://www.prachachat.net/economy/news-272761
https://www.nbmcw.com/product-solutions/construction-equipments/earthmoving/backhoe-loader-manufacturers-optimistic-of-market-rebounding.html
9 บันทึก
29
4
15
9
29
4
15
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย