17 มิ.ย. 2021 เวลา 03:54 • สิ่งแวดล้อม
สัตว์ที่ถูกเลี้ยงมาหลายปี ปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ รอด หรือ ไม่รอด ?
แนวคิดที่ว่า… การดูแลสัตว์หายาก เลี้ยงดูอย่างดี แล้วปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ มั่นใจไหมครับว่าสัตว์ตัวนั้นจะมีชีวิตรอด หรืออยู่ได้ในสภาพแวดล้อมธรรมชาติของจริงได้หรือปล่าว...
อันที่จริงแล้ว อาจจะใช้ไม่ได้ผลกับสัตว์บางสายพันธุ์ครับ สัตว์บางชนิดหากถูกเลี้ยงมานาน มักจะถูกทำลายพฤติกรรมดั้งเดิมตามธรรมชาติ เชื่องกับมนุษย์ อาจจะไม่สามารถเข้ากับฝูงสสัตว์ตัวอื่นตามธรรมชาติได้ หนักที่สุดคืออาจจะหาอาหารไม่เป็น...
https://unsplash.com/
วาฬเพชฌฆาต เคโกะ ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ เท่ากับปล่อยไปตาย
หลายคนคงเคยดูภาพยนตร์เรื่อง “ฟรี วิลลี่ เพื่อเพื่อนด้วยหัวใจอันยิ่งใหญ่ (Free Willy)” เรื่องราวมิตรภาพอันน่าประทับใจระหว่างเด็กน้อยและวาฬเพชฌฆาต ที่ดูอบอุ่นหัวใจ
วาฬ เคโกะ หรือที่รู้จักจากภาพยนตร์ ฟรี วิลลี่ ถูกปล่อยตัวออกจากสวนสัตว์ กลับสู่ท้องทะเลธรรมชาติตั้งแต่ปี 2002 หลังจากที่ต้องอยู่กับมนุษย์มายาวนานถึง 26 ปี
หลังจากถูกปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ เคโกะ ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับฝูงวาฬอื่นได้ และมักจะว่ายเข้าใกล้เรือประมงเพื่อขออาหารทุกครั้งที่พบเห็น เคโกะซูบผอมอย่างรวดเร็ว เพราะไม่รู้จักวิธีออกล่าหาอาหารตามธรรมชาติ
เวลาผ่านไปไม่นาน มีคนพบซากศพวาฬเพชฌฆาตเกยตื้นอยู่ที่ชายหาด เมื่อดูจากรูปร่างลักษณะแล้ว วาฬตัวนี้คือ เคโกะ นั่นเอง เป็นอันจบชีวิติวาฬชื่อดัง ขวัญใจเด็กๆตลอดกาล ผลลัพธ์จากการปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ...
https://www.ladbible.com/
สัตว์บางชนิด เมื่อนำมาอยู่แล้ว อาจจะต้องดูแลไปตลอดชีวิต
ตัวอย่าง แพนด้า หรือ แพนด้ายักษ์ ที่ประเทศจีนพยายามขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรมาตลอดหลายปี แต่พบความเสี่ยงทุกครั้งเมื่อมีแผนจะนำตัวปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ การผสมพันธุ์กันเองเกิดขึ้นได้น้อย การหาอาหารแตกต่างจากเวลาถูกเลี้ยง การดูแลแพนด้าจึงเรียกได้ว่าเกือบจะเป็นการเลี้ยงดูระยะยาวแบบถาวร
กรณีศึกษา แพนด้าตัวแรก “เซียงเซียง” ที่เคยถูกปล่อยตัวกลับคืนสู่ธรรมชาติ ปี 2007 ใช้ชีวิตได้เพียง 10 เดือน และเสียชีวิตลงจากการถูกทำร้ายด้วยแพนด้าป่าตัวอื่น เมื่อไม่สามารถปรับตัวเข้ากับธรรมชาติได้ ความตายจึงอยู่ใกล้เพียงนิดเดียว
และเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา ได้มีการปล่อยแผนด้าเพิ่มอีก 3 ตัว ซึ่งยังคงต้องคอยติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ทีมวิจัยยังคงต้องรับความเสี่ยงที่แพนด้าอาจจะไม่รอดอีกครั้ง...
Sid Balachandran By unsplash
เป็ดแดง มองว่า เราไม่ควรนำสัตว์ป่าหายากมาเป็นสัตว์เลี้ยงตั้งแต่แรกครับ การถูกเลี้ยงโดยมนุษย์ ทำให้สัญชาตญาณการเอาตัวรอดตามธรรมชาติ ถูกทำลายไปมากกว่า 80% ถึงแม้ว่าจะพยายามเลี้ยงดูเลียนแบบให้เหมือนอยู่ในธรรมชาติแค่ไหนก็ตาม...
ปัญหาจริงๆ อาจจะมาจากมนุษย์เองที่เป็นฝ่ายคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัยเดิม เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศตามธรรมชาติของสัตว์เหล่านั้น การล่าเพื่อผลประโยชน์ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญเช่นกัน
สำหรับสัตว์หลายชนิด การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการอยู่ตามธรรมชาติตั้งแต่แรก ซึ่งจะมีความแตกต่างจากสัตว์ที่ถูกเลี้ยงโดยมนุษย์ ซึ่งโอกาสรอดตามธรรมชาติมีต่ำมากๆ หาอาหารยาก ปรับตัวเข้ากับฝูงไม่ได้ เสี่ยงต่อการถูกล่าอีกครั้ง
หวังว่าทุกท่าจจะชอบบทความนี้นะครับ หากมีสัตว์เลี้ยงขอให้ดูแลเขาให้ดี อย่าปล่อยให้เขาหนีหายไปไหน อยู่ด้วยกันจนวาระสุดท้ายของกันและกัน ขอให้ทุกท่านมีความสุขมากๆ ขอบคุณครับ...
โฆษณา