1.เช็กสิทธิประโยชน์ให้ครบถ้วน นอกจากค่าลดหย่อนปกติทั่วไป อยากให้คุณลองเช็กดูว่า มีสิทธิประโยชน์อะไรเพิ่มเติมอีกหรือไม่ เช่น
- ค่าเลี้ยงดูบุตรสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้คนละ 30,000 บาท
- ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ใช้ลดหย่อนภาษีได้คนละ 30,000 บาท
- ค่าประกันสุขภาพบิดา-มารดา ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
- เงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- เงินบริจาค ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้ แต่หากบริจาคเพื่อการศึกษา สถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่จ่ายจริง
- ดอกเบี้ยกู้บ้าน ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท หากกู้ร่วม 2 คน แยกยื่น นำไปลดหย่อนได้คนละครึ่ง
2.วางแผนหาลดหย่อนเพิ่ม เพื่อเงินเก็บที่งอกเงย รู้หรือไม่การออมหรือการลงทุนของคุณก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้นะ เช่น
- ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และเมื่อรวมกับการออมเพื่อการเกษียณที่กำหนดต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- ค่าเบี้ยประกันชีวิต ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- ค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่ ใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท (แต่เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท)