17 มิ.ย. 2021 เวลา 12:14 • การตลาด
30 วิเอาอยู่กับเทคนิค Jingle Ads
.
“เชียร์ยูโร แอโร่ซอฟต์ เชียร์ยูโร แอโร่ซอฟต์
เชียร์ยูโร แอโร่ซอฟต์ เชียร์ยูโร แอโร่ซอฟต์”
1
คือเพลงที่วนอยู่ในหัวของใครหลายๆ ตั้งแต่เริ่มการแข่งขัน EURO 2020 ด้วยจังหวะ 3 ช่ากับเนื้อเพลงที่ซ้ำไปมาจนรู้สึกขัดใจ แต่กลับติดหูจน ร้องตามได้
1
หลังจาก โกมล จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานบริหาร บริษัท ซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด เจ้าของแบรนด์ Aerosoft แบรนด์สัญชาติไทยที่มีอายุมากกว่า 40 ปีทุ่มเงิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอล EURO 2020 และส่งมอบสิทธิ์ให้ช่อง NBT ถ่ายทอดสดให้รับชมฟรีตลอด ทัวร์นาเม้นต์เพลงโฆษณา “เชียร์ยูโร แอโร่ซอฟต์” ก็ถูกเนรมิตขึ้นมาในเวลา ไม่ถึง 24 ชั่วโมงก่อนการแข่งขันนัดแรกจะเริ่มขึ้น
จิงเกิ้ล (Jingle) ในภาษาอังกฤษ หมายถึงเสียงกริ๊ง หรือเสียงดังที่เกิดจาก โลหะกระทบกัน และหมายถึงเพลงที่ฟังเพียง 2-3 ครั้งก็เกิดการจดจำ ติดหู จนร้องตามได้ อย่างเพลงการ์ตูน 2 พี่น้อง “ชิพ กับ เดล” จาก Mickey Mouse Cartoon ที่โด่งดังจนเป็นกระแสทั่วโซเชียล หรือสุดยอดไวรัล “I have a pen, I have a apple” เพลง PPAP ของศิลปิน Pikotaro ที่ใส่ชุด สีเหลืองทอง กับท่าทางและหน้าตาสุดกวน จนกวาดยอดวิวในยูทูบไปมากกว่า 391 ล้านวิว
แน่นอนในวงการการตลาดก็ได้นำมาปรับเป็นหนึ่งในเทคนิคของ Music Marketing ที่เรียกว่า “เพลงโฆษณาหรือ Jingle Ads” องค์ประกอบที่ทำให้ คนจดจำสินค้าหรือตัวโฆษณาได้ จะเป็นเพลงที่มีชื่อสินค้า หรือไม่มี หรือจะมี ชื่อสินค้าแต่เนื้อหางงๆ ก็แล้วแต่ ที่แน่ๆ หลายๆ เพลง จะมีท่อนฮุคที่กรอกหู จนคนฟังจดจำแบบชนิดติดหูไปนาน
แม้หลายคนจะร้องยี้เมื่อได้ยินจิงเกิ้ลเหล่านี้ แต่เมื่อถูกตอกย้ำบ่อยๆ จึงถูกฝัง เข้าไปในการจดจำ เหมือนกับเคสล่าสุดที่ส่งผลให้ แอโร่ซอฟต์ กลับมาเป็น ที่รู้จักในวงกว้างชั่วข้ามคืน
Music Marketing เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดที่ใช้เสียงเพลงหรือ เสียงดนตรี ในการสร้างบรรยากาศ อารมณ์ และความรู้สึกร่วมให้กับผู้บริโภค (Emotional Marketing) เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้ง ด้านจิตใจ และอารมณ์ มากกว่าการใช้เหตุผล
เพราะพฤติกรรมการจับจ่ายของคนเราในปัจจุบันไม่ใช่แค่เพียงการซื้อสินค้า เท่านั้น แต่เป็นการซื้อความรู้สึก ดังนั้นการใช้ดนตรีเพื่อเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบรรยากาศให้เกิดความรู้สึกร่วมและทำให้นึกถึงสินค้า และบริการ จึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะเชื่อมแบรนด์และลูกค้าเข้าด้วยกัน เพราะดนตรีกลายเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และมีอิทธิพลต่อเรา อย่างมาก เช่น การเปิดเพลงภายในร้านเพื่อสร้างบรรยากาศอบอุ่นเป็นกันเอง ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ทำให้ลูกค้าอยากอยู่ในร้านนานขึ้น ช่วนในการกระตุ้น ยอดขาย หรืออาจเป็นการทำเพลงโฆษณาที่มีหาหรือเมโลดี้ ที่หากได้ยินหรือ เคยฟังก็จะทำให้นึกถึงร้าน สินค้า หรือตัวแบรนด์นั้นๆ
ตัวอย่างแบรนด์ที่ทำ Music Marketing ที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่ตอน ปล่อยจนถึงปัจจุบันที่แค่ได้ยินทำนองก็ร้องตามได้
“ตือ ดื๊อ ดืออออ ตือ ดื๊อ ดืออออ” เสียงที่ได้ยินแล้วทำให้ใครหลายๆ คนอยาก กินไอศกรีมขึ้นมาทันที โดยไม่ต้องมีเนื้อร้องใดๆ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเกิด Impulse Buying คือการตัดสินใจซื้อแบบฉับพลันได้ตลอด
“แลคตาซอย 5 บาท 125 มิลลิลิตร ปริมาณคับกล่องเต็มที่ ดื่มได้ดื่มดี ดื่มแลคตาซอย 5 บาท” เพลงโฆษณาที่ร้องได้กันทุกเพศ ทุกวัย เพราะถูก นำมาทำเป็นเวอร์ชั่นใหม่ที่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดทุกปี
“คุ้มจริงๆ คุ้มจริงๆ ยิ่งกว่าคุ้ม คุ้มทุกสิ่งคุ้มที่แฟลตปลาทอง” ตำนานโฆษณา ที่สร้างการจดจำและโด่งดังเป็นอย่างมากโดยรวมเอา Superstar ตลกทั่วฟ้า เมืองไทยในยุคนั้น บวกกับเนื้อเพลงบรรยายถึงจุดเด่นโครงการไว้อย่าง ครบถ้วน
อีกกรณีศึกษาที่น่าสนใจ กับการใช้ “Jingle Ads” ในวงการตลาดน้ำเมา ของบ้านเรา คือการที่เบียร์ช้างช่วงชิงภาพลักษณ์ของการเป็น “เบียร์ไทย” จากสิงห์ ที่มีภาพลักษณ์ในเรื่องของการเป็นเบียร์ไทยค่อนข้างแข็งแกร่ง จากการเน้นย้ำผ่านการสื่อสารแบรนด์มาตลอดว่า “เบียร์สิงห์ เบียร์ไทย”
โดยเบียร์ช้างเลือกใช้กลยุทธ์มิวสิก มาร์เก็ตติ้ง ผ่านการสร้าง “จิงเกิ้ล สามช่า” ร่วมกับศิลปินเพลงเพื่อชีวิตอย่างแอ๊ด คาราบาว ซึ่งกลายเป็น “จิงเกิ้ลสามช่า” ที่กระแทกเข้าไปในการรับรู้ของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นชินกับจิงเกิ้ลที่มีเนื้อเพลงคือ “เบียร์ช้าง เป็นเบียร์ ตัวใหญ่ แชมป์โลกเบียร์ไทย เบียร์ไทยเหรียญทอง ขวัญใจของพ่อแม่พี่น้อง ช้างร้อง ช้างร้อง ว่าอยากลองกินเบียร์ กินแล้วภาคภูมิใจ เบียร์คนไทย ทำเอง” โดยเฉพาะในช่วงตบท้ายที่กลายเป็น “ฮุค” สำคัญ นั่นคือ “กินแล้ว ภาคภูมิใจ เบียร์คนไทยทำเอง”
ถือเป็นกลยุทธ์ที่ค่อนข้างจะได้ผล ทำให้สามารถสร้างการรับรู้ถึงการเป็น เบียร์ไทยแบรนด์ที่ 2 ที่มีความแตกต่างจากเบียร์สิงห์ได้อย่างชัดเจน ซึ่งช้างมีการต่อยอดกลยุทธ์มิวสิก มาร์เก็ตติ้ง ที่นอกจากการใช้โฆษณาผ่าน “จิงเกิ้ลสามช่า” เพลงเบียร์ช้างแล้ว ยังมีการใช้รูปแบบสปอนเซอร์ชิพผ่าน การทัวร์คอนเสิร์ตกับวงคาราบาว ซึ่งในช่วงเวลานั้น ภาพของแบรนด์ช้าง ผูกติดกับ “แอ๊ด คาราบาว” พักใหญ่ๆ ก่อนที่จะค่อยๆ เฟดออกมา ผ่านการ รีเฟรชแบรนด์ในแต่ละช่วงเวลา
ซึ่งศึกครั้งนั้นทำให้ เบียร์สิงห์ต้องเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับเบียร์ช้างเป็น จำนวนมาก
สามารถอ่านบทความเบียร์ช้าง กับ “จิงเกิ้ลสามช่า”เพิ่มเติมได้ที่ https://www.brandage.com/article/22545/chang
และกรณีศึกษา “แอโร่ซอฟต์” เพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/brandageonline/posts/10159615137898829
หรือไปฟังสุดยอด Jingle กันต่อได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=Ct6BUPvE2sM...
#BrandAge_AtoZ
#BrandAge_Online
โฆษณา