18 มิ.ย. 2021 เวลา 13:00 • ไอที & แก็ดเจ็ต
ล้วงลึกแฮกเกอร์ สายขาว เทา ดำ วัดกันที่ตรงไหน?
ที่พูดแบบนี้ ไม่ได้แปลว่าผมจะไปอยู่ข้างแฮกเกอร์นะ แต่ทุกวันนี้ เราค่อนข้างจะมองแฮกเกอร์กับภาพที่เป็นคนเลวเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริง คำว่าแฮกเกอร์นั้นถูกใช้อย่างกว้างขวางมาก
โดยเมื่อคนส่วนใหญ่นึกถึงแฮกเกอร์ ผมเดาว่าพวกคุณมักจะนึกถึงคนที่พยายามเจาะเข้าไปในเว็บไซต์ ขโมยบัตรเครดิต และโจมตีรัฐบาล พยายามนึกถึงภาพถึงใครบางคนในแจ็กเก็ตสีเข้มและแว่นกันแดดสนิด จ้องไปที่หน้าจอที่เต็มไปด้วยคนและเลขศูนย์ และมือพิมพ์แป้นพิมพ์รัว ๆ อย่างไรก็ตาม การแฮกหรือการโจมตีอาจค่อยมีลักษณะเช่นนั้นหรอกครับ และใช่ว่าแฮกเกอร์ทุกคนจะทำแต่เรื่องที่ผิดกฏหมาย
คำว่าแฮก ถูกใช้ครั้งแรกที่ M.I.T. ในปี พ.ศ. 2498 เดิมถูกเรียกว่า "working on" ความหมายเต็ม ๆ ก็คือ การแก้ไขปัญหาของคอมพิวเตอร์อย่างสร้างสรรค์นอกเหนือจากความรู้ที่มีในคู่มือ หากดูแล้วเนี่ย ความหมายของคำว่า Hacker ก็ไม่ได้มีความหมายเชิงลบเลยแม้แต่น้อย
นอกจากนี้ ความหมายสมัยใหม่หรือ Modern Meaning ของคำว่าแฮกเกอร์ ก็คือการคิดวิธีแก้ปัญหาที่ชาญฉลาด ไม่คาดคิด หรือแก้ปัญหาแบบนอกกรอบ ซึ่งความหมายมันก็คือการแก้ไขปัญหาของคอมพิวเตอร์อยู่ดีนั่นแหละ
แต่สิ่งที่เราเข้าใจผิดกันไปคือ อาชญากรไซเบอร์ส่วนใหญ่มักเรียกตัวเองว่าแฮกเกอร์ และใช้คำนี้ไปโจมตีโจมตีองค์กรต่าง ๆ การแฮกเกอร์ที่พบบ่อยที่สุดคือ การแฮกโดยมองหาจุดอ่อนด้านความปลอดภัยหรือหาช่องโหว่เพื่อเจาะระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายเพื่อจุดประสงค์บางอย่างครับ
1
Hackers in the Media
และพอมีข่าวการโจมตี แน่นอนว่า สื่อก็ต้องหยิบเรื่องนี้ไปคุย ซึ่งต้องยอมรับจริง ๆ ว่าสื่อเป็นเหตุผลใหญ่ที่สุดที่ทำให้หลายคนคิดว่าแฮกเกอร์ทั้งหมดเป็นคนร้าย แฮกเกอร์มักถูกมองว่าเป็นหัวขโมยที่จ้องจะแหกกฎหมายอยู่เสมอทั้งในข่าวและบทสมมติในหนัง โดยหนึ่งในการแฮกที่มีชื่อเสียงที่สุดในทศวรรษที่ผ่านมาคือการแฮกบน Sony Pictures ซึ่งส่งผลให้อีเมล ข้อมูลส่วนตัว และภาพยนตร์ที่กำลังจะเข้าฉายรั่วไหลออกมา และหลายสื่อก็ตีข่าวว่าคนที่โจมตีนั้นคือ “แฮกเกอร์”
อย่างไรก็ตาม ก็มีใครไม่รู้บัญญัติศัพท์ขึ้นมาใหม่ว่า Cracker (ไม่น่าจะใช่ขนมปังอบ) ซึ่งข้อมูลจากเว็บ ๆ หนึ่งจะมองว่า Cracker เป็นคนเลว เพราะแฮกเกอร์จะปกป้องระบบจากการโจมตีที่มุ่งร้าย ในขณะที่แครกเกอร์เป็นตัวที่โจมตีระบบและก่อให้เกิดภัยคุกคามเกิดขึ้น แต่บ่อยครั้งที่สื่อก็ยังใช้ว่าคำแฮกเกอร์เป็นผู้โจมตีอยู่ นั่นก็เพราะมันทำให้เข้าใจได้ง่ายนั่นเองครับ
แต่ทุกวันนี้ ก็มีการแบ่งแยกอย่างชัดเจนแล้ว โดยใช้หมวกบนหัวเป็นตัวกำหนด นั่นคือ แฮกเกอร์หมวกขาว หมวกดำ และหมวกเทา เพื่อให้คนเข้าใจง่ายมากขึ้น
แฮกเกอร์ White Hat
White Hat หรือที่เรียกว่าแฮ็กเกอร์ที่มีจริยธรรม พวกเขาจะใช้ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคเพื่อค้นหาช่องโหว่ในระบบและสร้างการป้องกันการโจมตี บริษัทและทีมรักษาความปลอดภัยมักจะจ้างพวกเขาเพื่อค้นหาช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้นกับโครงสร้างพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ และพวกหมวกขาวมักมีจะมีการทดสอบการเจาะระบบ โดยทำการโจมตีทางไซเบอร์บนระบบในลักษณะเดียวกับที่แฮ็กเกอร์ที่เป็นอันตราย ในบริษัทเพื่อค้นหาช่องโหว่ Zero - Day
2
แฮกเกอร์หมวกดำ Black Hat
หมวกดำคือผู้ที่ใช้ความรู้เพื่อจุดประสงค์ที่เป็นอันตราย พวกเขาทำการแฮกเพราะจุดประสงค์นั่นคือเงิน เช่น การขโมยบัตรเครดิตหรือความลับของรัฐ โดยพวกนี้มักจะทำงานเป็นทีมและเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายแฮกเกอร์ที่อยู่ทั่วโลก แน่นอนว่ากลุ่มแฮกเกอร์พวกนี้จะรู้จักกัน และพวกเขาจะมีส่วนร่วมในการโจมตีต่าง ๆ เช่น ฟิชชิง แรนซัมแวร์ และการขโมยข้อมูล เป็นแฮกเกอร์ที่เรามักแสดงให้เห็นในสื่ออยู่บ่อยครั้ง
แฮกเกอร์หมวกเทา Gray hat
แฮกเกอร์หมวกสีเทาอยู่ตรงกลางหมวกขาวและหมวกดำ และพวกเขามักจะสนับสนุนการทำงานเพื่อป้องกันการโจมตีเป็นหลัก เพียงแค่ไม่ได้อยู่ภายใต้บริษัทใด ๆ บริษัทหนึ่ง เรียกง่าย ๆ ว่า White Hat แบบ Freelance ครับ
นอกจากนี้ ยังมีการแฮกบางประเภทที่เน้นช่วยเหลือสังคมนั่นคือ hacktivism โดยใช้การแฮกเพื่อทำให้ประเด็นทางสังคมกระจ่างจากการปกปิดข้อมูลของหน่วยงานรัฐ บริษัท หรือหน่วยงานเอกชน จากกลุ่มผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ซึ่งการแฮกแบบนี้ ไม่ชัดเจนว่าคนทำได้ประโยชน์อะไร แต่สิ่งนี้มักจะได้รับความสนใจจากสื่อจำนวนมาก และผู้แฮกมักจะออกไปยอมรับ ว่าเป็นฝีมือของตน หลังจากข่าวดังขึ้น
1
สรุปก็คือ ทุกวันนี้ เรามักเข้าใจว่า แฮกเกอร์คือคนเลวที่จ้องจะขโมยเงินในกระเป๋าเรา และผมไม่ค่อยแปลกใจ เพราะเรามักจะได้ยินจากสื่อแบบนั้น แต่อยากแก้ไขข้อมูลว่า ทุกวันนี้ ในโลกเราก็มียังคนที่เรียกตัวเองแฮกเกอร์อยุ่ แต่เขานั้นอยู่ตรงข้ามกับสิ่งที่เราคิดเลยครับ
ที่มาข้อความแตกต่างระหว่าง แฮกเกอร์และแครคเกอร์ https://www.jigsawacademy.com/blogs/cyber-security/difference-between-hacker-and-cracker/
โฆษณา