ถ้าการเติบโตเป็นผู้ใหญ่มันยากนัก ให้เวลาตัวเองกลับไปเป็นเด็กบ้างก็ดี
.
.
ตอนเป็นเด็ก เราได้แต่เฝ้ารอคอยวันเวลาที่จะได้เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ จากวันแรกที่ก้าวเข้าสู่รั้วโรงเรียน จนกระทั่งวันสุดท้ายที่ก้าวออกมาเริ่มทำงาน
.
.
แต่เราในตอนนี้ กลับดูไม่เหมือนผู้ใหญ่ที่เราเคยวาดฝันไว้ว่าจะเป็นเมื่อ 10-20 ปีก่อนเลยสักนิด
.
.
จากเด็กคนนั้นที่เต็มไปด้วยความฝัน สู่วันนี้ที่ก็ยังคงเป็นแค่เด็กคนเดิมที่ตัวตนและความฝันค่อยๆ ร่วงหล่นหายไปทีละนิดตามระยะเวลาที่เพิ่มเข้ามา
.
เพราะความเครียด ความกดดัน และความรับผิดชอบมาพร้อมกับวัยวุฒิที่มากขึ้น ในบางครั้งก็อดไม่ได้ที่จะหวนนึกถึงวัยเยาว์ เพียงแค่ได้วิ่งเล่นกับเพื่อน นั่งดูการ์ตูน นอนฟังนิทานก่อนนอน ไม่เห็นต้องมีเรื่องให้คิดมากเหมือนตอนนี้เลย
.
.
ความรู้สึกโหยหาช่วงเวลาในอดีตเช่นนี้มีชื่อเรียกทางจิตวิทยาว่า ‘Nostalgia’
.
.
ในอดีตอาการ Nostalgia เคยถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอาการทางจิตอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ย้ายถิ่นฐาน คล้ายกับอาการคิดถึงบ้าน (Homesick) จนต่อมาพบว่า Nostalgia เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปกับทุกคน อีกทั้งยังส่งผลดีต่อจิตใจอีกด้วย ในปัจจุบันจึงมีการใช้คำนี้สื่อถึงความรู้สึกอบอุ่นในหัวใจเมื่อนึกถึง สถานที่ ผู้คน หรือเหตุการณ์บางสิ่งบางอย่างที่เคยประสบพบเจอในอดีต
.
นักจิตวิทยา Clay Routledge กล่าวถึงในงานวิจัย Nostalgia: Content, Triggers, Functions ไว้ว่า ภาวะความรู้สึก Nostalgia สามารถทำให้เกิดความรู้สึกทางบวก ทำให้รู้สึกเชื่อมโยงกับคนอื่นๆ ในสังคม ส่งเสริมให้มองเห็นถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตในแง่ดี มากกว่าจมอยู่กับความรู้สึกแย่ที่เจอมา
.
เพราะบางครั้งการนำความทรงจำเก่าๆ ให้หวนกลับมาอีกครั้ง อาจสามารถช่วยเป็นยาสมานแผลให้ลืมความเจ็บปวดของความเป็นผู้ใหญ่ที่พบเจอในชีวิตประจำวันไปได้
.
พอได้นึกถึงช่วงเวลาดีๆ ในอดีตแล้ว ก็อย่าลืมลองคิดแบบ ‘เด็กๆ’ เหมือนตอนนั้นดูบ้างก็ดี การปล่อยจินตนาการในวัยเด็กให้ออกมาโลดแล่นอีกครั้ง และกลับไปเป็นเด็กอีกสักที จะร้องไห้หรือหัวเราะกับเรื่องไร้สาระแบบเด็กๆ สักครั้งก็ไม่เห็นจะเป็นไร
.
เพราะมีผลการวิจัยจาก Darya Zabelina และ Michael Robinson บอกว่า ยิ่ง ‘ทำตัวเป็นเด็ก’ ยิ่งช่วยเพิ่ม ‘ความคิดสร้างสรรค์’ ได้ เพราะความไร้เดียงสาแบบเด็กๆ ทำให้เป็นคนกล้าคิด กล้าถาม ช่างสงสัย ช่างสังเกต และกล้าที่จะแสดงอารมณ์ต่างๆ ในขณะที่ความเป็นผู้ใหญ่ ทำให้ต้องจำกัดอยู่เพียงแต่ในกรอบชุดความคิดเล็กๆ ด้วยข้อจำกัดต่างๆ และไม่กล้าที่จะแสดงออกอารมณ์ออกมา
.
.
หากมีเวลา ลองกลับมาให้เวลากับตัวเองวันละครั้ง ลองถามตัวเองในแต่ละวัน “วันนี้เป็นยังไงบ้าง?” ถ้าอยากร้องไห้ หัวเราะ กลัว เสียใจ ก็เพียงแค่ปลดปล่อยอารมณ์นั้นออกมา
.
.
เป็นผู้ใหญ่แล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าจะแสดงความรู้สึกออกมาเป็นเด็กไม่ได้เสียหน่อย
.
.
"แล้ววันนี้คุณได้กลับไปเป็นเด็กแล้วหรือยัง?"
.
.
อ้างอิง:
.
#missiontothemoon #missiontothemoonpodcast #พอดแคสต์