18 มิ.ย. 2021 เวลา 03:06 • สุขภาพ
อ่านแล้วคิดตาม...
18 มิถุนายน 2564
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
* ร้อยละ 95 ของผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวค เข็มที่ 2 มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส จากการตรวจภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนของไวรัส (วิธี ELISA) จากจำนวนทั้งหมด 186 คน จึงมั่นใจได้ว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
---> ในวันที่ทำการทดสอบ มีคนอีก 5% ที่ฉีดแล้วไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ ซึ่งก็อาจจะขึ้นช้ากว่าปกติ ไม่ใช่ไม่ขึ้นเลยก็เป็นได้ แต่คงไม่ 100%
* สำหรับการทดสอบเลือดของผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวคกับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่มีชีวิต หลังการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 นาน 2 สัปดาห์ จำนวน 171 คน พบว่ามากกว่าร้อยละ 70 มีภูมิในระดับที่ยับยั้งเชื้อได้สูงกว่า 50%
---> ไม่ได้บอกรายละเอียดว่าทดสอบกับเชื้อสายพันธุ์ใดบ้าง และ มีความแตกต่างระหว่างความสามารถในการ neutralized ระหว่างสายพันธุ์หรือไม่
---> ในวันที่ทำการทดสอบ คนที่มีภูมิคุ้มกันจากการได้รับวัคซีนประมาณ 20-30% ไม่มีภูมิคุ้มกันในระดับที่สูงพอจะยับยั้งเชื้อเข้าสู่เซลได้เกิน 50% ตามมาตรฐานที่กำหนดทั่วไป
---> มีรายงานวิจัยในคนไทย (จำนวนน้อยมาก) ของ อ.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ที่พบว่า ภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นนี้ มีประสิทธิภาพ ต่อเชื้อสายพันธุ์ Delta ลดลงประมาณ 4-5 เท่า เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดิม
# สรุปว่าไม่ต้องตรวจว่ามีภูมิคุ้มกันขึ้นหรือไม่หลังได้รับวัคซีน Sinovac ครบ 2 โดส แต่ต้องระมัดระวังตนเอง ใส่หน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง และ ล้างมือบ่อยๆ เหมือนเดิม เพราะยังคงติดเชื้อได้
# เรื่องการดื้อวัคซีนของ Delta VOC ก็คงเป็นไปในทิศทางเดียวกับต่างประเทศ แต่ฉีดวัคซีนแล้วก็ยังคงสามารถลดความรุนแรงของโรค และ อัตราการตายได้มาก
โฆษณา