18 มิ.ย. 2021 เวลา 04:37 • ความคิดเห็น
วัยกลางคนกับสายตาที่มองกล้าม 💪🏻
ในยุคเจ้าขุนมูลนายเก่าก่อน ผู้ชายจะไม่อยากมีกล้ามเพราะกล้ามเป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นกรรมาชีพ/นักรบ/ทาส
ถึงอีกยุคหนึ่ง คนเริ่มออกกำลังเพราะอยากมีสุขภาพที่ดี เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ กล้ามที่ได้มา เกิดจากการออกกำลังกายด้วยตนเอง เป็นยุคที่ฟิสเนสยังไม่บูม และในเชิงวรรณกรรม พระเอกยุคนี้ยังมีรูปร่างสูงสง่า มีชาติตระกูลดี การศึกษาดี ในการสร้างตัวละครเอกฝ่ายชาย ไม่นิยมเขียนบรรยายกล้ามเนื้อของตัวละครเอกฝ่ายชายชนชั้นกลาง
วรรณกรรมที่บรรยายกล้ามเนื้อและสรีระของตัวละครเอกฝ่ายชายคือ หนังสือโป๊ตลาดล่าง หนังสือปกขาว แอบซื้อแอบอ่าน
ปัจจุบันกล้ามของผู้ชายเหมือนเรียวขาของผู้หญิง มีไว้เพื่อความพอใจของเจ้าตัว และอาจดึงดูดสายตาผู้อื่นให้เกิดความรู้สึกซู่ซ่าบางประการได้
ยุคนี้มีการดีไซน์กล้ามว่าจะเล่นปีก เล่นหลัง สร้างซิคแพค มีการกินอาหารเสริมโปรตีน มีเทรนเน่อร์ช่วยการคำนวณ “สัดส่วน” ของกล้ามที่ควรจะใหญ่ให้สัมพันธ์กับขนาดของส่วนสูง เพื่อความสุมดุลทางสายตาเมื่อมองรวมตลอดร่าง เนื่องจากการที่เล่นกล้ามจนช่วงบนใหญ่เกินไปจะหลอกสายตาให้เจ้าของดูเตี้ยกว่าเดิม
นักแสดงเกาหลี จีน ไทย ที่สร้างความฮือฮาจะเป็นทรงเพรียวโปร่งแต่พอเลิกเสื้อปุ๊บ! หูย กล้ามลีน ทรงพอเหมาะพอดี ดูไม่แบก ดูเป็นกล้ามที่เกิดจากงานดีไซน์ กล้ามของเด็กยุคนี้คืองานศิลปะ!!!!
อนึ่ง อันนี้แค่ความเห็นส่วนตัวนะคะ #ยัง ไม่มีโอกาสได้ลงภาคสนามทำวิจัยกล้าม หรือเขียนเปเปอร์เรื่องกล้ามเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่อ้างอิงได้ในเชิงวิชาการ
... แต่ก็อยากอยู่ 💪🏻☺️✍🏻
โฆษณา