19 มิ.ย. 2021 เวลา 09:45 • การตลาด
เปรียบเทียบรายได้ร้านอาหารยุค COVID-19
ขายผ่านหน้าร้าน VS ผ่านหน้าร้าน + Food Delivery
7
ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันนี้ แพลตฟอร์มรับและส่งอาหาร (Food Delivery) กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ตัวเลขการระบาดของไวรัส CODIV-19 เป็นไปอย่างรุนแรงจนทำให้ภาครัฐต้องสั่งปิดร้านอาหารหรือเปิดแบบจำกัดจำนวนที่นั่งในร้าน ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจแพลตฟอร์มรับและส่งอาหารเติบโตอย่างก้าวกระโดด
5
แต่อย่างไรก็ดีในการเติบโตนี้ก็มีกระแสเรียกร้องจากร้านค้า ร้านอาหารให้บรรดาผู้ประกอบการทั้ง 5 ราย คือ Grab, LINE MAN, Gojek, Foodpanda และ Robinhood ช่วยลดค่าคอมมิสชั่น หรือ GP ลง (Robinhood ไม่เก็บค่า GP แต่ให้ช่วยทำโปรโมชั่น) เพื่อให้ร้านค้ามีกำไรจนพออยู่ได้
ปัจจุบันนี้การเก็บค่า GP ของผู้ประกอบการ Food Delivery จะมีตัวเลขเฉลี่ยอยู่ที่ 30% เว้นแต่ว่าร้านใหญ่ หรือร้านดังที่มีอำนาจการต่อรองก็อาจจะเสียค่า GP ที่ต่ำกว่า แต่ก็ต้องดูเป็นร้านๆ ไป
ไม่กี่วันมานี้ทางสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สขค.) ได้มีการเจรจากับทางผู้ประกอบการเพื่อขอลดค่า GP จาก 30% ลงมาเหลือ 25% เป็นเวลา 1 เดือน เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของร้านอาหารในช่วงวิกฤตนี้
2
ท่ามกลางความรู้สึกของร้านค้าที่มองว่าถูกเอาเปรียบ ทางเจ้าของแพลตฟอร์มก็ออกมาอธิบายถึงที่มาที่ไปของ GP 30% ว่าเป็นตัวเลขที่เหมาะสมในระยะยาว
2
Mr.Alexander Felde ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟู้ดแพนด้า ประเทศไทย จำกัด อธิบายว่า การลดค่าคอมมิสชั่นอาจทำได้ในระยะเวลาสั้นๆ แต่ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องในระยะยาว เนื่องจากการลดค่าคอมมิสชั่นจะส่งผลกระทบไปทั้ง Ecosystem คือ ไรเดอร์, ร้านอาหาร และผู้บริโภค ซึ่งถ้าทั้ง 3 ส่วนนี้อยู่ไม่ได้ แพลตฟอร์มในฐานะตัวกลางผู้ให้บริการก็จะอยู่ไม่ได้ด้วยเช่นกัน
2
พร้อมกันนี้ Mr.Alexander Felde ยังได้ยกตัวอย่างเปรียบเทียบการทำธุรกิจของร้านค้าที่ขายผ่านหน้าร้านอย่างเดียว กับขายผ่านหน้าร้านและ Food Delivery ให้เห็นภาพมากขึ้น
1. สถานการณ์ปกติ
ร้านค้า A ขายผ่านหน้าร้านและ Food Delivery
แต่ละเดือนมียอดขายหน้าร้าน 100,000 บาท มียอดขายผ่าน Food Delivery 50,000 บาท คิดเป็นรายได้ 150,000 บาท หักค่าใช้จ่าย Food Cost (30%) คิดเป็น 45,000 บาท หักค่า GP (30%) 15,000 บาท คงเหลือกำไรเบื้องต้น 90,000 บาท หักค่าใช้จ่ายในการขายทั่วไปและบริหาร 40,000 บาท เหลือกำไรทั้งสิ้น 50,000 บาท
ร้านค้า B ขายผ่านหน้าร้านและ Food Delivery
5
ร้าน B ขายผ่านหน้าร้านอย่างเดียว
แต่ละเดือนมียอดขายหน้าร้าน 100,000 บาท คิดเป็นรายได้ 100,000 บาท หักค่าใช้จ่าย Food Cost (30%) คิดเป็น 45,000 บาท คงเหลือกำไรเบื้องต้น 70,000 บาท หักค่าใช้จ่ายในการขายทั่วไปและบริหาร 40,000 บาท เหลือกำไรทั้งสิ้น 30,000 บาท
1
2. สถานการณ์ที่ต้องจำกัดที่นั่งในร้าน 25% ของพื้นที่
ร้านค้า A ขายผ่านหน้าร้านและ Food Delivery
แต่ละเดือนมียอดขายหน้าร้าน 20,000 บาท มียอดขายผ่าน Food Delivery 50,000 บาท คิดเป็นรายได้ 70,000 บาท หักค่าใช้จ่าย Food Cost (30%) คิดเป็น 21,000 บาท หักค่า GP (30%) 15,000 บาท คงเหลือกำไรเบื้องต้น 34,000 บาท หักค่าใช้จ่ายในการขายทั่วไปและบริหาร 40,000 บาท ผลประกอบการในเดือนนั้นจะขาดทุน 6,000 บาท
2
ร้าน B ขายผ่านหน้าร้านอย่างเดียว
แต่ละเดือนมียอดขายหน้าร้าน 20,000 บาท คิดเป็นรายได้ 20,000 บาท หักค่าใช้จ่าย Food Cost (30%) คิดเป็น 6,000 บาท คงเหลือกำไรเบื้องต้น 14,000 บาท หักค่าใช้จ่ายในการขายทั่วไปและบริหาร 40,000 บาท ผลประกอบการในเดือนนั้นจะขาดทุน 26,000 บาท
1
3. สถานการณ์ที่ต้องจำกัดที่นั่งในร้าน 25% ของพื้นที่ และยอดขายผ่าน Food Delivery มีตัวเลขสูงขึ้น
ร้านค้า A ขายผ่านหน้าร้านและ Food Delivery
แต่ละเดือนมียอดขายหน้าร้าน 20,000 บาท แต่มียอดขายผ่าน Food Delivery เพิ่มขึ้นเป็น 80,000 บาท คิดเป็นรายได้ 100,000 บาท หักค่าใช้จ่าย Food Cost (30%) คิดเป็น 30,000 บาท หักค่า GP (30%) 24,000 บาท คงเหลือกำไรเบื้องต้น 46,000 บาท หักค่าใช้จ่ายในการขายทั่วไปและบริหาร 40,000 บาท ผลประกอบการในเดือนนั้นยังพอจะมีกำไร 6,000 บาท
4
ร้าน B ขายผ่านหน้าร้านอย่างเดียว
แต่ละเดือนมียอดขายหน้าร้าน 20,000 บาท คิดเป็นรายได้ 20,000 บาท หักค่าใช้จ่าย Food Cost (30%) คิดเป็น 6,000 บาท คงเหลือกำไรเบื้องต้น 14,000 บาท หักค่าใช้จ่ายในการขายทั่วไปและบริหาร 40,000 บาท ผลประกอบการในเดือนนั้นจะขาดทุน 26,000 บาท
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวเลขที่อธิบายเพื่อเปรียบเทียบ “รายรับ-รายจ่าย” ของร้านอาหารที่เข้าระบบ Food Delivery และไม่เข้าระบบให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารที่ยังขายผ่านหน้าร้านเพียงอย่างเดียว เพื่อประกอบการตัดสินใจ
อย่างไรก็ตาม Food Delivery ก็ยังเป็นเพียงแค่ทางเลือกที่ร้านอาหารสามารถสามารถเลือกใช้บริการเป็นช่องทางรายได้เสริม หรือถ้าหากยอมรับเงื่อนไขค่า GP ที่สูงถึง 30% ไม่ได้ คิดว่าทำแล้วไม่มีกำไร เหนื่อยเปล่าก็เลือกที่จะปฏิเสธได้เช่นกัน
#BrandAge_Online
#FoodDelivery #Grab #LINEMAN #Gojek #Foodpanda #Robinhood
โฆษณา