21 มิ.ย. 2021 เวลา 01:05 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#พลวง (#Antimony) โลหะที่จะมีบทบาทสำคัญในอนาคต..
📌ในบรรดา #โลหะ มีค่า (Precious Metal) หรือ แร่ธาตุ ที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) และเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป เช่น #ทองคำ #เงิน แพทตินัม #อลูมิเนียม #เหล็ก #ทองแดง นั้น ยังมีโลหะอีกหนึ่งชนิดที่มีความสำคัญในหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น #ยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ #เคมีภัณฑ์ เครื่องใช้และเฟอร์นิเจอร์ เซรามิคและแก้ว ได้แก่ “Antimony” หรือ พลวง
😁วันนี้ อ่านแล้ว GET จะพาทุกท่านมารู้จักกับโลหะชนิดนี้กัน 😁
📌พลวง ถือกำเนิดจาก แร่สติบไนต์ (#Stibite) มีลักษณะ เป็นแท่งเรียวยาวคล้ายเข็ม หรือเป็นแผ่นคล้ายใบมีดซ้อนกัน สีตะกั่วปนเงิน
📌ประโยชน์ของพลวง คือ ใช้ในการทำ #โลหะผสม เช่น ผสมกับตะกั่วทำแบตเตอรี่ ผสมตะกั่วและดีบุกในการทำตัวพิมพ์และโลหะบัดกรี เป็นส่วนประกอบของกระสุนปืน ใช้ในอุตสาหกรรมไม้ขีดไฟ ยาง ผ้าทนไฟ และในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบ การหุ้มสายโทรศัพท์ สายไฟขนาดใหญ่ หลอดยาสีฟัน สี และ ยารักษาโรค เป็นต้น
📌จากข้อมูลของ U.S. Department of Interior, Minerals Education Coalition ในปี ค.ศ.2018 พลวง ถูกบรรจุให้เป็นหนึ่งในแร่ธาตุหายากที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา เนื่องจาก
▶ หายาก เพราะแม้ว่าจะอยู่ในสินแร่หลายชนิด แต่พลวงที่ได้จากถลุงแร่ สติบไนท์ (Stibnite) เท่านั้นที่สามารถทำได้ในเชิงพาณิชย์
▶ Supply Risk เนื่องจากมีความต้องการใช้สูง โดยเฉพาะจากจีน
▶ เป็นองค์ประกอบสำคัญของยุทโธปกรณ์ทางทหาร เช่น กระสุน
📌โดยในปี ค.ศ. 2020 จีน ได้กลายเป็นประเทศที่มีการผลิตและปริมาณสำรองพลวงมากที่สุดในโลก ตามมาด้วย รัสเซีย โบลิเวีย และออสเตรเลีย
👉 #จีน ผู้ที่ควบคุมตลาดพลวงของโลก ถึงแม้จะผลิตพลวงได้มาก แต่ก็ไม่เพียงพอกับการใช้ในประเทศ จึงต้องนำเข้าจากประเทศอื่น เช่น ออสเตรเลีย โบลิเวีย
👉 #รัสเซีย ผู้ผลิตพลวงเป็นอันดับสองของโลกรองจากจีน
👉 #โบลีเวีย ถูกควบคุมปริมาณ Supply จากจีน
👉 #ออสเตรเลีย ปริมาณการผลิตส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปจีน
👉 #สหรัฐอเมริกา ไม่มีการผลิตพลวงในปี 2020
📌ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุให้ สหรัฐอเมริกาตกอยู่ในที่นั่งลำบาก เนื่องจากจีนที่เป็นคู่แข่งทั้งทางเศรษฐกิจ และการเมือง เป็นผู้ควบคุมโลหะสำคัญไว้ เพราะการผลิตหลักของประเทศของสหรัฐฯ อยู่ที่รัฐโอไฮโอและรองรับความต้องการภายในประเทศได้แค่ 35% เท่านั้น นอกจากนี้ในหลายๆประเทศก็มีความต้องการพลวงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการนำไปผลิตแบตเตอร์รี่รถยนต์ไฟฟ้า ที่เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายในการลด #ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในหลายประเทศเช่นกัน
🙏แหล่งที่มาของข้อมูล : กรมทรัพยากรธรณี, www.visualcapitalist.com
โฆษณา