การซ่อนตัวของตะขาบสีเพลิง
คืนหนึ่ง
ขณะที่ผมเดินออกปฏิบัติภาระกิจดังเช่นทุกวัน
พลันสายตาก็ไปเจอกับตะขาบตัวนี้เข้า
สีแดงเพลิงสะดุดตาดูน่ากลัว บ่งบอกถึงพลังอำนาจที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน
ศัตรูหรือใครก็ตามที่ริอ่านมาต่อกร อาจเจ็บตัวได้
ถ้าไม่ระวัง
ตัวใหญ่ยาวพอประมาณครับ
ผมเคยเห็นตัวใหญ่กว่านี้มาก
ปีนี้ตะขาบที่สวนหายไปเยอะ
ลองจินตนาการถ้าใครโดนมันกัดเข้า จะเจ็บปวดรวดร้าวขนาดไหน
ชวนให้คิดถึง
ฉากไล่ล่าสุดมันในนวนิยายเรื่องเพชรพระอุมา
ของอาจารย์พนมเทียน
ระหว่างคณะเดินทางที่ออกตามหา ชด ประชากร ซัดกับตะขาบยักษ์จอมแกร้วกราด
บทสรุปจะเป็นอย่างไรลองไปหาอ่านดูครับ
รับรองสนุก
ฉากในนิยายตอนนี้ผมคิดว่าท่านคงจะได้รับแรงบันดาลใจจากการไปใช้ชีวิตในป่าดงแล้วคงเจอกับตะขาบยักษ์
การใช้ชีวิตในป่าคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ ที่จะต้องเจอกับตะขาบ
มืดๆ ค่ำๆ ไปไหนมาไหน ระวังตัวด้วยยนะครับ
ตะขาบมีขา 30 ถึง 300 ขา มีเขี้ยวพิษ 1 คู่
เมื่อกัดเหยื่อจะปล่อยพิษออกมา ทำให้เหยื่อเจ็บปวดและเป็นอัมพาต เมื่อถูกตะขาบกัดจะพบรอยเขี้ยวสองรอย ลักษณะเป็นจุดเลือดออกตรงบริเวณที่ถูกกัด
ตะขาบจะวางไข่ในหลุมดิน หรือโพรงไม้ผุๆ
ลอกคราบ 8 ถึง 10 ครั้ง
ตัวเต็มวัยมีอายุ 3-5 ปี ในเวลากลางวันจะซ่อนอยู่ในที่เย็นๆ ออกหาเหยื่อในเวลากลางคืน กินแมลงหรือสัตว์ตัวเล็กๆ เป็นอาหาร พบว่ามันสามารถกินค้างคาวได้ด้วย
ตะขาบที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือตะขาบยักษ์
อเมซอนยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร เลยทีเดียว
แต่ก็คงไม่ใหญ่ยักษ์ถึงขนาดที่จะออกมาไล่ล่า
สวาปามคนเป็นอาหารว่างเหมือนในนิยาย
ทั่วโลกพบว่ามีตะขาบกว่า 8,000 ชนิด
สรุปคืนนั้นตะขาบก็กลัวตาย
คนก็กลัวโดนกัด
ต่างคนต่างกลัว ต่างคนต่างไป
ทางใครทางมันก็แล้วกัน
ยอมรับว่ามันหาที่ซ่อนตัวได้ดีทีเดียว
ถ้าไม่เห็นกับตาคงไม่รู้ว่ามันแอบมาหลบ
พักผ่อนนอนเล่นอยู่ข้างใน
เกษตรเอส'Society
"อยากเห็นคนในสังคมนี้
มีรอยยิ้มและความสุข"
หากชอบช่วยกดไลค์ กดแชร์ กดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจให้ผมและทีมงานด้วยนะครับ หรือจะเข้ามาเขียนคอมเม้นต์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็ยินดีครับ
ติดตามอ่านบทความได้ที่
แหล่งข้อมูล