Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Engineering Knowledge Learning - WAND Intelligence
•
ติดตาม
21 มิ.ย. 2021 เวลา 09:36 • ธุรกิจ
อยากเป็น “ที่ปรึกษา” ต้องทำอย่างไร? (How to be the Consultant?)
อาชีพงานที่ปรึกษา เป็นหนึ่งในอาชีพ ที่หลายๆ คน อยากจะทำ เนื่องจากว่า ผลตอบแทนที่น่าสนใจมากพอสมควร หากจะถามว่า งานที่ปรึกษา หรือ Consultant นั้น คือใคร มีหน้าที่อะไรบ้าง ที่ปรึกษา หรือ Consultant นั้นคือ บุคคลที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านสาขาใดสาขาหนึ่งโดยเฉพาะ ที่คอยให้คำแนะนำอย่างมืออาชีพ มีขั้นตอนที่ชัดเจน และสามารถตอบโจทย์ ของผู้ที่ต้องการคำปรึกษา หรือคำแนะนำ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นหการให้คำแนะนำให้กับ บุคคล หรือ องค์กร ก็ตาม
งาน ที่ปรึกษา นั้นก็จะมีมากมายหลากหลายสาขา แน่นอนอยู่แล้วครับว่า คนที่เป็นที่ปรึกษานั้น ไม่สามารถที่จะให้คำปรึกษาได้ในทุกๆเรื่อง แต่ละคนก็จะมีคุณสมบัติและความสามารถที่แตกต่างกันไป เช่น ที่ปรึกษาทางด้านธุระกิจ, ที่ปรึกษาทางด้านการตลาด, ที่ปรึกษาทางด้านการเงิน, ที่ปรึกษาทางด้านงานขาย, ที่ปรึกษาทางด้านบัญชี, ที่ปรึกษาทางด้านเทคโนโลยี, ที่ปรึกษาทางด้านกฏหมาย และ อื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งปัจจุบันก็มีงานที่ปรึกษาแปลกๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น ที่ปรึกษาทางด้านความรัก, ที่ปรึกษาทางด้านการออกเดท หรือ ที่ปรึกษาทางด้านสุขภาพหรือการออกกำลังกาย เป็นต้น
1. ค้นหาตัวคุณให้รู้ว่าตัวเองมีความเชี่ยวชาญทางด้านไหน โดยการพิจารณาความสามารถ และประสบการณ์ของตัวเอง ว่าเก่งทางด้านไหน เรามีประสบการณ์ถนัดทางด้านไหน และที่สำคัญคือ มีคนที่ต้องการคำแนะนำ หรือปรึกษาทางด้านที่เราเชี่ยวชาญหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น คุณมีความสามารถและประสบการณ์ทางด้านบัญชี คุณก็เรียนรู้ทางด้านนี้ไปให้สุดทางไปเลย เอาให้รู้ถึงแก่นแท้ของสายนี้ไปเลยครับ ไม่ว่าใครถามอะไรมา ก็สามารถตอบได้ในทุกๆ คำถาม ต้องรู้จริงๆ ครับผม
2. ต้องทำการตั้งเป้าหมายให้กับตัวคุณเอง คือ การกำหนดเป้าหมายในการที่จะไปเป็นที่ปรึกษานั้นเอง และทิศทางการเดิน หรือ แผนการดำเนินการนั้นเอง ยกตัวอย่างเช่น คุณจะใช้เวลาในการ เก็บสะสมประสบการณ์กี่ปี คุณต้องใช้เวลาเท่าไหร่ในการสร้างโปรไฟล์ตัวเองขึ้นมา และต้องใช้เวลาเท่าไหร่ในการสร้างเครื่อข่าย หรือ Connection ขึ้นมา ต้องใช้เวลากี่ปี ที่จะมีคนรู้จักตัวคุณและยอมรับในฝีมือของคุณนะครับ ต้องกำหนดแผนการดำเนินการและเป้าหมายให้ชัดเจน
3. ต้องมีใบ Certificate หรือ มีวุฒิการศึกษาที่น่าเชื่อถือในด้านนั้นๆ หรือมีประวัติการทำงานมีประสบการณ์ในการทำงานในด้านนั้นๆ เพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือได้ง่ายมากขึ้น และสามารถเป็นที่ยอมรับในสายงานที่คุณจะไปเป็นที่ปรึกษาได้ง่ายมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ที่ปรึกษาทางด้านสุขภาพ ก็ควรจะเป็นหมอ หรือคนที่เรียนมาในสายทางด้านสาธารณะสุข เป็นต้น ครับผม
4. ต้องมีผลงานที่เด่นชัด และชัดเจน คุณควรจะต้องโชว์ ผลงานที่ผ่านมาที่ประสบผลสำเร็จจริงๆ และมีหลักฐานชัดเจน มีข้อมูลจริงๆที่สามารถ จับต้องได้จริง หรือมีตำแหน่งงานที่ทำเหมาะสมกับสายงานที่จะเป็นที่ปรึกษา เช่น เคยเป็นผู้บริหารระดับสูงมาก่อน ก็สามารถไปเป็นที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจ ได้เป็นต้นครับผม
5. เริ่มต้นทำการโปรโมทตัวคุณเอง ซึ่งปัจจุบัน เป็นเรื่องที่ง่ายมากๆ เนื่องจากว่า เป็นยุคโซเชี่ยล เราสามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้ มาช่วยในการโปรโมทตัวคุณเองได้ง่ายๆ และไม่มีค่าใช้จ่ายอีกด้วย เช่น การเขียนบล็อค การทำเว็บไซด์ การทำแฟนเพจ เฟสบุ๊ค ยูทูบ และในอีกหลายๆช่องทาง ในโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค ครับผม หลังจากนั้นก็คอยวัดผลจาก Feedback Comment หรือ การกดไลค์ กดแชร์ ว่ามีการตอบรับที่ดีหรือไม่ มีตรงไหนที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมหรือเปล่า และต้องทำเป็นประจำ อย่างสม่ำเสมอ นะครับ
6. ต้องทำการสร้างเครื่อข่าย ในสายงานที่เราจะทำ อาจจะเริ่มจากคนใกล้ตัวก่อน เช่น เพื่อน รุ่นพี่ เพื่อนร่วมงาน ลูกน้องเก่า หัวหน้างานเก่า หรือ คนที่เคยรู้จักก่อน เป็นต้น แล้วก็ค่อยๆ ขยายเครื่อข่ายไปมากขึ้นเรื่อยๆ โดย การไปตามงาน อบรมต่างๆ หรืองานแสดงโชว์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับสายงานเรา หรือไม่ก็ ไปลงเรียนคอสระยะสั้นๆ เพื่อค้นหาเพื่อนใหม่ๆในวงการ
7. เริ่มจากการเป็น วิทยากร ก่อน ในช่วงแรกๆ เราอาจจะต้องเริ่มจากการเป็นวิทยากร ไปก่อน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ตัวเอง และฝึกฝน วิธีการพูด วีธีการตอบคำถาม หรือ วิธีการให้คำปรึกษา ต่างๆ ให้คล่องๆ ก่อน เพื่อที่เวลาลงสนามจริงๆแล้วนั้น จะได้ไม่ติดๆ ขัดๆ หากเวลาลงสนามจริงแล้ว เราไปพูดไม่ชัดเจน ติดๆขัดๆ อาจจะทำให้ความน่าเชื่อถือ ในตัวเราลดลงไปด้วย เช่นกันนะครับ
8. ต้องกำหนดพื้นที่ ที่เราจะเป็นที่ปรึกษาให้ชัดเจน ตามความสะดวก และเวลา ของตัวเรา ที่เราสามารถทำได้ โดยไม่มีปัญหา ในกรณีที่ยังมีงานประจำอยู่ ก็ต้อง เลือกพื้นที่ และจำนวน ที่สามารถทำได้โดยไม่ส่งผลกระทบกับงานประจำ หรือหาก ไม่มีงานประจำก็ต้องทำการจัดระเบียบไม่ให้มีผลกระทบ ต่อลูกค้าแต่ละเจ้า เช่นกันนะครับผม
9. ค้นหาลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการหาลูกค้า สำหรับงานที่ปรึกษานั้น ก็จะมีหลากหลายวิธี เช่น การโฆษณา การบอกกันปากต่อปาก หรือมาจากคนที่เรารู้จัก หรือมาจากเครื่อข่ายที่เราสร้างไว้ ซึ่งในปัจจุบันนี้ ก็เป็นที่สะดวกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากว่า มีโลกอินเตอร์เน็ต มีโลกโซเชี่ยล เกิดขึ้นมา ทำให้ การโปรโมทตัวเอง มันง่าย และค่าใช้จ่ายต่ำลงมาก และสามารถเจาะกลุ่มลูกค้าได้ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการกว้างมากขึ้น และง่ายขึ้นด้วยครับผม
10. กำหนดค่าตัว และ Scope ของงานให้ชัดเจน เราต้องทำการกำหนดเงื่อนไขการทำงาน เวลางาน และ เป้าหมายให้ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น สมมุติคุณเป็นที่ปรึกษาทางด้านยอดขาย ให้องค์กรๆ หนึ่ง อาจจะตกลงเวลางานไว้ที่ เข้าไปทำงาน เดือนละ 1 -2 ครั้ง มีเป้าหมายคือ ต้องการยอดขาย 30% ภายในปีนี้ และต้องตกลงค่าตอบแทนกันในจำนวนที่พอใจทั้ง 2 ฝ่าย เป็นต้น สำหรับค่าตัวนั้น ก็ขึ้นกับผลงาน และประสบการณ์ ชื่อเสียง ของที่ปรึกษาแต่ละคน จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความพอใจทั้ง 2 ฝ่าย ครับผม
สำหรับ ที่ปรึกษา ทุกๆ ท่าน ยังไงก็ ต้องเผื่อใจ ในกรณีที่โดนเลิกจ้างไว้ด้วยนะครับ เนื่องจากว่า งานที่ปรึกษานั้น เราไม่ได้เป็นพนักงานประจำ เป็นหารทำงานให้คำแนะนำเท่านั้น ซึ่งในกรณีที่ องค์กรนั้น ไม่มีปัญหาแล้ว ก็อาจจะบอกเลิกจ้างเราได้ตลอดเวลา หรือ ในกรณีที่ องค์กร โดนปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ตกต่ำ ที่ปรึกษาเองก็อาจจะโดนบอกเลิกจ้างได้ตลอดเวลา เช่นกันนะครับ แต่เราก็ต้องเตรียมพร้อมตลอดเวลาเช่นกันนะครับ เพราะว่า หากลูกค้ามีปัญหาอีกเมื่อไหร่ แน่นอนครับหากเรามีผลงานที่ดี สามารถทำให้องค์กรเขาได้ตามเป้าหมายที่เขาต้องการได้ เขาก็จะจ้างเราไปเรื่อยๆ แน่นอนครับ
นี่ก็เป็นแค่แนวทาง คร่าวๆ ที่ผมนำมาแชร์ ให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกๆ คน ได้นำไปเป็นแนวทาง เพื่อที่จะก้าว มาเป็นที่ปรึกษาได้ใน อนาคต นะครับ จริงๆ ขั้นตอนแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน มีเทคนิคที่แตกต่างกัน ยังไงผมก็คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์บ้างนะครับ สำหรับหลายๆ คน ผมก็ขออวยพรให้ทุกๆ ท่าน ที่ต้องการอยากจะเป็น วิทยากร หรือ ที่ปรึกษา ก็ขอให้ประสบความสำเร็จดังเป้าหมายที่ตั้งใจไว้กันทุกๆ คนนะครับผม ขอบคุณมากครับผม
2 บันทึก
2
2
2
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย