Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รู้ก่อนลงทุน
•
ติดตาม
22 มิ.ย. 2021 เวลา 05:33 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รู้จัก หุ้น CPALL ธุรกิจที่มีทั้ง ร้านสะดวกซื้อ ค้าปลีก ค้าส่ง ในประเทศไทย
CPALL หรือชื่อเต็มๆ คือ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP Group) ประกอบธุรกิจหลัก ในธุรกิจค้าปลีกประเภทร้านค้าสะดวกซื้อ ภายใต้เครื่องหมายการค้า “7-Eleven” ในประเทศไทย โดยบริษัทได้รับสิทธิการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจาก 7-Eleven, Inc. สหรัฐอเมริกา และมีการเปิดร้านสาขาแรกที่ ซอยพัฒพงษ์ เมื่อปี พ.ศ. 2532
ในปัจจุบัน บริษัทฯมีสาขาของร้านสะดวกซื้อรวมกันกว่า 12,000 สาขาทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายที่ 13,000 สาขา ภายในปี 2564 นี้ และยังมีธุรกิจบริการค้าส่ง(Makro), บริการด้านการเงิน(เคาน์เตอร์ เซอร์วิส), บริการด้านอาหารพร้อมรับประทานและเบเกอรี่(บริษัทซีพีแรม)และอื่นๆ เป็นต้น
โดยที่ผ่านมาทาง CPALL ได้มีดีลการซื้อกิจการใหญ่ๆ อยู่ 2 ครั้งด้วยกัน ได้แก่
1.ในปี 2556, CPALL ได้ทำดีลเข้าซื้อกิจการของ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจศูนย์จำหน่าย สินค้าแบบชำระเงินสดและบริการตนเอง (Cash and Carry) เป็นมูลค่ากว่า 188,880 ล้านบาท โดยปัจจุบัน ซีพี ออลล์ ถือหุ้นอยู่ MAKRO อยู่ 1,827,598,700 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 38.07% (อ้างอิงข้อมูล ณ วันที่ 21/06/64)
2.ในช่วงปี 2563 ที่ผ่านทาง CPALL ได้ปิดดีลซื้อกิจการอีกครั้งคือ การเข้าซื้อหุ้น เทสโก้ โลตัส จำนวน 40% โดยคิดเป็นมูลค่ากว่า 338,000 ล้านบาท โดยในสัดส่วนหุ้นทั้งหมด ทางบริษัทฯเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในสัดส่วน 40% , บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ถือหุ้นอีก 40% และ บริษัท ซี.พี.เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด อีก 20%
ปัจจุบันสัดส่วนรายได้ของ CPALL จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักด้วยกัน ได้แก่
1.ร้านสะดวกซื้อและธุรกิจอื่น ๆ 61% (7-ELEVEN)
2.ร้านธุรกิจค้าส่ง 39% (MAKRO)
จากผลการดำเนิน ในไตรมาส1/2564 ที่ผ่านมา บริษัทฯมีรายได้อยู่ที่ 133,431 ล้านบาท ลดลง 8.5% เมื่อเทียบกับในไตรมาสเดียวกันของปี 2563 และมีกำไรสุทธิ 2,599 ล้านบาท โดยกำไรลดลงถึง 54% จากปี 2563 ที่ 5,645 ล้านบาท
โดยทางบริษัทแจ้งว่าเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่ทำให้การบริโภคภายในประเทศของผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง อีกทั้งการที่ประเทศเองยังไม่สามารถมีการเดินทางท่องเที่ยวของประชาชนทั่วไปได้ตามปกติ
และในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา บริษัทฯมีรายได้เฉลี่ยจาก 7-ELEVEN ต่อสาขา อยู่ที่ 65,024 บาท ต่อวัน โดยมียอดสั่งซื้อต่อบิลประมาณ 77 บาท และมีลูกค้าเฉลี่ยราว 845 คน
อย่างไรก็ตามอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่กำไรของบริษัทฯลดลงก็มาจาก ภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากเงินกู้ยืมระยะยาวกับธนาคาร จากกรณีที่เข้าไปถือหุ้น เทสโก้ โลตัสนั้นเอง
โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 ทาง CPALL ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็น 2,901 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นต้นทุนดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมามากถึง 54% สำหรับภาระการกู้ยืมเงินจากสถาบัน เมื่อเปรียบเทียบกันจาก ปี 2563 ที่ 1,881 ล้านบาท
ซึ่งเราก็คงต้องรอดูกันต่อไปว่าบริษัทฯจะจัดการกับภาระหนี้สินกับการแบกกิจการ เทสโก้ โลตัส ในประเทศไทยและมาเลเซีย ครั้งนี้ต่อไปอย่างไร
ส่วนมุมมองของธุรกิจในอนาคตนั้น เราคงจะต้องคอยจับตาดูว่าทาง CPALL จะกลับมาแข็งแกร่งและสร้างผลกำไรที่ดีได้อีกทีเมื่อไหร่ เพราะในอดีตก็เคยมีเหตุการณ์ที่ทางบริษัทฯแบกรับภาระที่มากเกินไป และจำเป็นที่ต้องขาย เทสโก้ โลตัสที่ประเทศจีนออกไป เพื่อที่จะประคองตัวธุรกิจหลักมาแล้ว
ในทางกลับกันถ้าจะให้เปรียบ หุ้น CPALL ในอนาคตที่มีทั้ง ร้านสะดวกซื้อ ค้าปลีก-ส่ง อยู่ในมือ ก็คงเปรียบได้เหมือนน้ำที่อยู่ในแท้งค์ขนาดใหญ่มหึมา ที่มีสายยางยาวๆหลายสายมาต่อตรงจากตัวแท้งค์ แล้วแพร่กระจายน้ำไปในพื้นที่ในเขตต่างๆ ผ่านทาง 7-ELEVEN, MAKRO และ TESCO LOTUS ซึ่งถือได้ว่า CPALL แทบจะเป็นผู้นำที่กุมอุตสาหกรรมธุรกิจค้าปลีกส่วนใหญ่ไว้ในมือเลยทีเดียว
**หมายเหตุ** ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง อย่าลืมศึกษาหาความรู้และทำความเข้าใจ ก่อนลุงทุนทุกครั้งเสมอ
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก
cpall.co.th
,
set.or.th
-กดติดตาม รู้ก่อนลงทุน-
อัพเดทบทความน่ารู้เกี่ยวกับการลงทุนในทุกวัน
5 บันทึก
7
2
5
7
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย