23 มิ.ย. 2021 เวลา 12:57 • ประวัติศาสตร์
🕹 Baby Killer 🕹! ใครคือผู้ฆ่าทารก?
ทารกตัวผอมผิวแห้งย่นที่ขดอยู่ในขวดนม
2
หรือนี่คือสาเหตุการตายของทารก ?
จากการคุยในรายการ Good to talk to เพจ Good stories เมื่อวันเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมา
น้องกู๊ดถามว่า
“ทำไมเราถึงกลับมาให้เด็กกินนมแม่มากขึ้น?”
1
พี่เขียนตอบว่า “ ก็เพราะเด็กที่กินนมผงป่วยตายมากกว่าสิคะ “
1
เด็กๆในโลกที่ 3 อย่าง ในอาฟริกา เอเซีย อเมริกาใต้ ที่แต่ก่อนยังโยกน้ำจากบ่อขึ้นมาใช้อยู่เลย จะให้เขาเอาน้ำสะอาดที่ไหนมาชงนมล่ะคะ
ทารกที่กินนมผงที่ชงด้วยน้ำไม่สะอาด เกิดอาการท้องเสีย เป็นบ่อยๆเข้าก็ซูบผอม ขาดสารอาหาร สุดท้ายก็หัวโตแขนขาลีบ เหมือนภาพเด็กที่อยู่ในขวดนมนั่นล่ะค่ะ
1
❤️วันนี้พี่เขียนจะพาย้อนกลับไปดูในอดีตกันว่า ใครเป็นผู้สะกิดให้โลกตื่นขึ้นมาพบกับความจริง แท้จริงใครคือ ฆาตกรทารก !❤️
หมอคนแรกๆที่ชี้ให้เห็นถึงโรคทางโภชนาการของเด็กในอาฟริกา คือ แพทย์หญิง Ciceley Williams (1893-1992)ที่ถูกส่งไปทำงานที่ประเทศ Ghana ในช่วงที่สงครามโลกครั้งที่ 1 เพิ่งจบลงใหม่ๆ เมื่อปี 1929
2
ชีวิตของแพทย์ท่านนี้น่าสนใจมากค่ะ ต้องระหกระเหินไปอยู่แดนห่างไกล แต่เธอก็ยืนหนึ่งขึ้นมาได้ด้วยความสามารถโดดเด่น ทั้งๆที่แพทย์หญิงเป็นเพียงชนส่วนน้อยในวงการแพทย์ขณะนั้น
พ่อแม่ของหมอซิเซลี่ย์เป็นชาวจาไมก้า ได้พาครอบครัวอพยพไปอยู่ที่อังกฤษ ซิเซลี่ย์เป็นผู้มีความกระตือรือล้น ไม่เคยอยู่นิ่งเฉย และได้เข้าเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัย Oxford เพราะตอนนั้นผู้ชายถูกเกณฑ์ไปรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงรับผู้หญิงเข้าไปเรียนได้มากขึ้น
ปี 1920 อายุ 19 ปี เรียนจบเป็นแพทย์หญิงรุ่นแรก แล้วไปเรียนต่อหมอเด็ก และโรคเขตร้อน ที่ ลอนดอน
1
ปี1929 ถูกส่งไปทำงานที่ประเทศ Golden Coast ( Ghana ในปัจจุบัน) เป็นแพทย์หญิงรุ่นบุกเบิกของที่นั่น
ที่Ghana แต่ดั้งเดิม แม่คลอดลูกแล้ว แม่ลูกอยู่ด้วยกันตลอดเวลา เอาผ้าพันลูกไว้แนบตัวที่อกบ้าง ข้างหลังของแม่บ้าง หิวเมื่อไรก็มีนมแม่ให้ดูดได้ทั้งอาหาร และความอบอุ่น
1
เมื่อแม่มีลูกคนที่ 2 ก็จะหย่านมแม่ แล้วให้อาหารอื่นแก่พี่ หลักๆก็จะเป็นข้าว แป้ง ไม่ค่อยมีเนื้อสัตว์ เด็กก็จะขาดอาหาร มีลักษณะมือเท้าบวม ท้องอืดป่อง ท้องเสีย หงุดหงิด ผิวหนังลอก และเป็นแผล
1
ภาพจาก https://en.m.wikipedia.org/wiki/Kwashiorkor
ชาวบ้านเรียกกลุ่มเด็กพวกนี้ว่า Kwashiorkor เป็นภาษา Ga แปลว่า “ เด็กที่ถูกแยกฉับพลัน “(Disease of the deposed child) คือ หยุดนมแม่ฉับพลันแล้วไปให้อาหารอื่นทดแทน
1
หมอซิเซลี่ย์ สังเกตและบันทึกเคสเด็กเหล่านี้อย่างละเอียด บางรายที่เด็กเสียชีวิตก็ได้ลงมือผ่าพิสูจน์ศพเอง และพบว่ามีไขมันพอกตับ
1
เธอเขียนรายงานส่งไปตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ในปี 1933 โดยใช้ชื่อทับศัพท์โรคที่พบใหม่นี้ ว่า Kwashiorkor เป็นโรคในเด็กที่เกิดจากการขาดโปรตีน
เชื่อไหมคะ ว่า วงการแพทย์ “ในแถบ Harley Street “คือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับบิ๊กๆ ในขณะนั้น ไม่เชื่อว่าเป็นโรคใหม่ หาว่าเธอสังเกตอาการไม่เป็น ที่แท้เด็กเป็น Pellagra (ขขาดวิตามิน บี 3 ) แต่เธอก็ยังยืนหยัด ไม่ย่อท้อส่งรายงานเปรียบเทียบ 2 โรคนี้ว่าต่างกันอย่างไร เปลี่ยนไปลงวารสาร Lancet
1
ในที่สุดโรคที่หมอซิเซลี่ย์ รายงานนี้ก็เป็นที่ยอมรับ เขียนอยู่ในตำราแพทย์มาจนถึงปัจจุบันนี้ด้วยชื่อโรคว่า “Kwashoirkor”
ตอนที่พี่เขียนเป็นนักศึกษาแพทย์ก็ยังพบเด็กเป็นโรคนี้อยู่ในตึกคนไข้ค่ะ ยังคิดว่า โรคอะไรชื่อเขียนก็ยากอ่านก็ยิ่งยาก คะ-วา-ชิ-ออ-กอร์
เพิ่งรู้ว่าเป็นภาษา Ga ของชาวGhana เมื่อค้นเรื่องมาเขียนนี่เองค่ะ
ภาพจาก https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/266208/PMC2554082.pdf?sequence=1
ตามชีวิตของหมอซิเซลี่ย์ต่อว่าเกี่ยวข้องกับนมแม่ตรงไหน?
ปี 1936 เธอถูกส่งไปทำงานที่ มาลายา ก็คือประเทศมาเลเซียทางตอนใต้ของไทย ในหน้าที่กุมารแพทย์ของ College of Medicine ใน สิงคโปร์
ในปี 1939 (พศ 2482) 3 ปีหลังจากที่ถูกส่งไปทำงานที่มาลายา ในฐานะกุมารแพทย์ ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์สิงคโปร์ เธอได้รับเชิญให้ไปพูดในงานประชุมของสโมสร Rotary ซึ่งมีประธานเป็นประธานของบริษัท Nestle ด้วย
Dr Ciceley Williams
ไม่มีใครทราบมาก่อนว่าเธอจะพูดเกี่ยวกับ นมข้นหวานซึ่งขณะนั้นมีกำลังมีการแนะนำให้ใช้แทนนมแม่อย่างแพร่หลายมากขึ้น
เธอช็อคทั้งประธานและผู้เข้าร่วมประชุม ด้วยปาฐกถาเขย่าโลก เรื่อง “Milk and Murder”
🌟นับเป็นการเปิดศึก ยิงกระสุนนัดแรก ในการต่อสู้ระหว่าง “นมแม่ กับนมขวด”🌟
1
เธอเปิดฉากด้วย ประโยคที่บอกว่า ฆาตกรรม คือความตายที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ไตร่ตรองให้ดี
ทารกแรกเกิดอาจตายได้ง่ายๆ ถ้าคนเลี้ยงดูไม่คิดให้ดี และเลือกให้อาหารที่ไม่เหมาะสมกับทารก
หมอซิเซลี่ย์ คับข้องใจที่ต้องเห็นทารกเจ็บป่วยหนัก บางคนตายด้วยสาเหตุจากการได้นมอื่นที่ไม่ใช่นมแม่ เพราะ แม่ไม่อยากให้ลูกดูดนมแม่ หรือ แม่ไปทำงาน และหมอบางคนก็ไม่ได้ห้ามปรามถ้าแม่จะให้นมข้นหวาน ด้วยเหตุผลที่ว่า “ถ้าบอกเช่นนั้น คนไข้ก็จะไม่กลับมาหา”
2
ในสังคมชนชั้นกลางและสูงอาจจะเห็นความแตกต่างไม่ชัดเจนนัก แต่ในระดับผู้ใช้แรงงาน อัตราตายของเด็กที่กินนมอื่นจะสูงกว่าทารกที่กินนมแม่อย่างน้อย 2 เท่า
ปาฐกถา Milk and Murder
เธอจบท้ายปาฐกถาไว้ว่า
“คำโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับอาหารทารก ควรได้รับการลงโทษ ในฐานะที่เป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงที่สุด ในการชักจูงคนให้คล้อยตาม และความตายเหล่านั้นอาจกล่าวได้ว่า เป็นฆาตกรรม”
1
นี่คือบทสะท้อนความจริงที่น่าขมขื่นค่ะ
“🔅Milk and Murder”🔅
นม และ ฆาตกร
ปาฐกถาที่เปิดตา และเขย่าโลก ให้ตื่นขึ้นมาพบกับความจริงที่แสนเจ็บปวด
ในปี 1942 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นบุกมาลายา หมอซิเซลี่ย์ต้องเดินเท้าหนีลงไปทางใต้ แต่ก็ต้องถูกจับขังคุกเป็นเวลา 6 เดือน เธอผอมโซขาดอาหารขาดวิตามินบี 1 จนเกือบจะเอาชีวิตไม่รอด เธอได้บันทึกไว้ว่า
“ในค่ายกักกันมีทารกคลอด20 ราย ทารกได้รับน้ำนมแม่ทั้ง 20 ราย และเด็กทั้ง 20 คนรอดชีวิต”
นี่คือข้อพิสูจน์ อย่างดีที่สุดของความมหัศจรรย์ของน้ำนมแม่ !
ภาพจาก https://litfl.com/cicely-williams/
ในปี 1948 แพทย์หญิง Ciceley Williams ได้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าส่วนดูแลสุขภาพแม่และเด็กขององค์การอนามัยโลกที่เจนีวา และยังทำงานอีกหลายอย่างในหลายประเทศเขียนหนังสือหลายเล่มจนเกษียณอายุ
https://jis.gov.jm/information/get-the-facts/cicely-williams/
สิ่งที่หมอCiceley Williams ได้เริ่มต้นไว้ คือ การให้ความสำคัญกับ การให้นมแม่ และ ชี้ให้เห็นอันตรายของนมที่ใช้ทดแทนนมแม่
การขายนมที่มีการส่งเสริมการตลาดโดยตรงต่อแม่ ทำให้แม่เริ่มต้นให้นมแม่ไม่สำเร็จ หรือให้นมแม่เป็นเวลาสั้นลง
ในเวลาต่อมาได้ นำไปสู่ แคมเปญ Baby Kilker ขององค์การ War or Want ของประเทศอังกฤษ ในปี 1974 (พศ 2517 )
ที่ชี้ให้ให้เห็นว่า ควรรณรงค์
ห้ามการส่งเสริมการขายนมผงในชุมชน
ห้ามการโฆษณาโดยใช้ผู้หญิงแต่งตัวคล้ายพยาบาล มาแนะนำการใช้นมผงในโรงพยาบาล
ในปี 1981 (พศ 2524)ในที่ประชุมสมัชชาสุขภาพโลก (WHA)ครั้งที่ 34 รับรองหลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก (International Code of Marketing of Breast Milk Substitutes)
ประเทศไทยเป็นสมาชิกWHAด้วย จึงนำหลักเกณฑ์นี้มาเป็นแนวทางตั้งแต่ปี 2524
เริ่มร่าง “หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พศ 2551 “
2
และผ่านเป็นกฎหมายเมื่อ 4 เมษายน 2560
สิ้นสุดการรอคอยที่ยาวนาน 36 ปี !
1
อ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา