Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
P‘pa Talk-คุยกับป้าพา
•
ติดตาม
27 มิ.ย. 2021 เวลา 08:48 • สุขภาพ
"วัคซีนโควิด 19" เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อย
ลุงซึ่งอยู่ไกลบ้านขอให้ป้าช่วยเปรียบเทียบข้อมูล "วัคซีนโควิด 19" ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันให้หน่อย
ปัจจุบันไทยมี วัคซีนโควิด19 เกือบครบ 5 ตัวแล้วค่ะ
ข้อดีและข้อด้อยของแต่ละวัคซีน ที่สำคัญอยากให้รู้ก่อนว่า ความจริงเราไม่สามารถนำผลการศึกษาของวัคซีนแต่ละตัว ที่ใช้ในคนละกลุ่มประชากร คนละเวลา มาเปรียบเทียบกันโดยตรง เพราะรูปแบบ แบบแผนและกลุ่มประชากรไม่เหมือนกัน
*นับตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย.64 มาถึงตอนนี้ ไทยเรามีวัคซีนหลัก ๆ ที่นำมาใช้ 2 ตัวคือ แอสตร้าเซเนก้า และ ซิโนแวก (sinophram เพิ่งเริ่มเข้ามาและทำการฉีดไปแล้ว)
และจะมีตัวอื่นทยอยเข้ามาจนครบ 5 ตัว ตัวที่มาเพิ่มคือ ไฟเซอร์ (Pfizer) และ โมเดอร์นา (Moderna), และ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (johnson & johnson) รวมเป็น 5 ตัวค่ะ มาดูข้อดีและข้อด้อยของแต่ละตัวกัน
2
ข้อดีและข้อด้อยของแต่ละวัคซีน
ป้าอยากให้รู้ก่อนว่า ความจริงเราไม่สามารถนำผลการศึกษาของวัคซีนแต่ละตัว ที่ใช้ในคนละกลุ่มประชากร คนละเวลา มาเปรียบเทียบกันโดยตรง ยิ่งถ้าดูละเอียด แบบแผนของงานวิจัย การศึกษา ลักษณะ ประชากร ลักษณะของเชื้อที่ระบาดและวิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการล้วนแตกต่างกัน จึงมีผลต่อค่าทางสถิติทั้งสิ้น
1
ขอเริ่มที่ตัวแรกนะคะ
1. ซิโนแวก (Sinovac)
กรรมวิธีผลิต: ผลิตมาจากวัคซีนเชื้อตาย
ข้อดี :
- มีอาการข้างเคียงน้อย ผู้ได้รับการฉีดแทบไม่มีปฏิกริยา เช่นไม่มีไข้ ไม่ปวดเมื่อย
- เป็นวัคซีนเชื้อตาย ไม่ต้องกังวลในการใช้กับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง(คนที่มีผลเลือดเอดส์บวก)และในหญิงตั้งครรภ์
- เทคโนโลยีในการผลิต เป็นแบบที่ทางการแพทย์เคยใช้ผลิตวัคซีนตัวอื่น ๆ เช่น โปลิโอ ตับอักเสบเอ มาก่อน เราจึงรู้จักวิธีการผลิตค่อนข้างดีอยู่แล้ว ไว้ใจในความปลอดภัยระยะยาวได้
ข้อด้อย :
- ภูมิคุ้มกันยังเกิดไม่เต็มที่หลังการฉีดเข็มแรก ต้องฉีดครบสองเข็ม จึงจะมีภูมิเต็มที่
1
1
- มีรายงานอาการข้างเคียงซึ่งคล้ายอาการทางระบบประสาท ที่เรียกว่าปฏิกิริยาความเครียดสนองตอบต่อการฉีดวัคซีน ซึ่งพบในช่วงที่ระดมฉีดให้บุคลากรที่อายุน้อย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง(พยาบาล) ก่อเกิดความหวาดระแวงและไม่มั่นใจ
2. แอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca)
กรรมวิธีผลิต: วัคซีนที่ใช้พาหะของไวรัสอื่น(อะดีโนไวรัส)นำสารพันธุกรรมที่ตัดต่อเอาเฉพาะส่วนที่จะถอดรหัสเป็นหนามของเชื้อโควิดเข้าไปในเซลล์ของคน ชนิดฉีด 2 เข็ม
ข้อดี :
1.ประสิทธิภาพเกิดขึ้นเร็วตั้งแต่หลังฉีดเข็มแรกเพียง 2 สัปดาห์ มีประสิทธิภาพเกิดเต็มที่และจากประสบการณ์ในประเทศสกอตแลนด์ป้องกันการป่วยหนักและนอนโรงพยาบาลได้ร้อยละ 89 หลังฉีดเข็มแรก ไม่แตกต่างจากวัคซีนของไฟเซอร์ (Pfizer) ซึ่งป้องกันได้ร้อยละ 91
2.จะมีประโยชน์และประสิทธิภาพสูงมากในกรณีที่มีการระบาด เพราะจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันที่สูงอย่างรวดเร็ว เมื่อฉีดแบบปูพรมเป็นวงกว้างจะยุติการระบาดได้เร็ว
1
1
3.มีการรับรองและยอมรับในประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาอาจทำให้เกิดอุปสรรคน้อยกว่า ในการต้องเดินทางเข้าเมืองในประเทศเหล่านั้น
ข้อด้อย :
1.มีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นได้บ่อย มีไข้ เพลีย ได้ถึงร้อยละ 70-80 แต่ส่วนใหญ่อาการไม่มาก
2.สัมพันธ์กับภาวะหลอดเลือดอุดตันกับเกล็ดเลือดต่ำ แต่พบน้อยประมาณ 1 ต่อแสนถึง 1 ต่อล้านโดส โดยในประเทศไทยคาดการณ์ว่าจะมีอุบัติการณ์ต่ำกว่านี้ เพราะมีพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคที่คล้ายคลึงโรคนี้ต่ำมาก แต่เป็นภาวะที่รักษาได้ ซึ่งวิเคราะห์ความเสี่ยงในข้อนี้จะพบว่า ประโยชน์จากวัคซีนยังสูงกว่ามาก
3.แม้จะไม่มีข้อมูลการศึกษาในหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างมาก แต่หากไม่มีวัคซีนอื่นเป็นทางเลือกการใช้วัคซีนก็ยังมีประโยชน์กว่าการเสี่ยงที่จะติดเชื้อและเป็นโรคโควิด19 ซึ่งจะมีความรุนแรงและอันตรายในคนกลุ่มนี้มากกว่าความเสี่ยงจากการฉีดวัคซีน
4.เป็นเทคโนโลยีใหม่ยังไม่แน่ใจว่าการมีแอนติบอดีต่อไวรัสที่เป็นพาหะ (anti-vector antibody) จะลดทอนประสิทธิภาพในการฉีดครั้งต่อๆ ไปหรือไม่
1
3. ไฟเซอร์ (Pfizer) และ โมเดอร์นา (Moderna)
กรรมวิธีการผลิต : เป็น mRNA ซึ่งทำหน้าที่คล้ายเป็นพิมพ์เขียวกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกัน
ข้อดี :
1. มีข้อมูลการศึกษาและใช้จริงในอเมริกาและในยุโรป ซึ่ง,uประสิทธิภาพสูงมาก รวมทั้งการศึกษาในอิสราเอล พบว่าวัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ร้อยละ 95
2. ป้องกันการติดเชื้อที่ไม่มีอาการได้ร้อยละ 91
1
3. ป้องกันการนอนโรงพยาบาลเนื่องจากป่วยหนักและเสียชีวิตได้ร้อยละ 97
4. การศึกษาในอังกฤษพบว่าป้องกันการติดเชื้อได้ร้อยละ 70 ตั้งแต่หลังการฉีดเข็มแรก และในสกอตแลนด์พบว่าป้องกันการนอนโรงพยาบาลได้ร้อยละ 91 ตั้งแต่หลังการฉีดเข็มแรก
5. มีข้อมูลการใช้ในหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องว่าปลอดภัยและได้ผลดี มีการรับรองและยอมรับสำหรับประเทศในยุโรปและอเมริกา อาจทำให้เกิดอุปสรรคน้อยกว่าในการต้องเดินทางเข้าเมืองในประเทศเหล่านั้น
ข้อด้อย :
1. มีอาการข้างเคียงพบได้บ่อยประมาณครึ่งหนึ่งแต่ส่วนใหญ่ไม่รุนแรง
2. เป็นเทคโนโลยีใหม่ทำให้มีความระแวงถึงผลข้างเคียงในระยะยาว
4. จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (johnson & johnson)
กรรมวิธีการผลิต: วัคซีนที่ใช้พาหะของไวรัสอื่น(อะดีโนไวรัส)นำสารพันธุกรรมที่ตัดต่อเอาเฉพาะส่วนที่จะถอดรหัสเป็นหนามของเชื้อโควิดเข้าไปในเซลล์ของคน ชนิดฉีด 1 เข็ม
ข้อดี :
1. ฉีดเข็มเดียว
2. เลียนแบบการติดเชื้อไวรัสอะดิโนตามธรรมชาติ จึงไม่มีความกังวลเรื่องผลข้างเคียงระยะยาว
3. มีการรับรองและยอมรับสำหรับประเทศในยุโรปและอเมริกา อาจทำให้เกิดอุปสรรคน้อยกว่าในการต้องเดินทาง เข้าเมืองในประเทศเหล่านั้น
ข้อเสีย :
1. แม้จะไม่มีข้อมูลการศึกษาในหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างมากแต่หากไม่มีวัคซีนอื่นเป็นทางเลือกการใช้วัคซีนก็ยังมีประโยชน์กว่าการเสี่ยงที่จะติดเชื้อและเป็น โรคโควิด19 ซึ่งจะมีความรุนแรงและอันตราย ในคนกลุ่มนี้มากกว่าความเสี่ยงจากการฉีดวัคซีน
2. เป็นเทคโนโลยีใหม่ยังไม่แน่ใจว่าการมีแอนติบอดีต่อไวรัสที่เป็นพาหะจะลดทอน ประสิทธิภาพในการฉีดครั้งต่อๆ ไป
5. Sinopharm
ตัวนี้ยังไม่ค่อยมีข้อมูล แต่กรรมวิธีการผลิต ผลิตมาจากเชื้อตายเหมือน Sinovac น่าจะต่างกันที่ ชิโนฟาร์มฉีดเพียงเข็มเดียวเท่านั้นค่ะ
เอาล่ะ ป้าขอจบข้อดีข้อด้อยโดยสังเขปไว้ก่อน ถ้ามีข้อมูลมากขึ้นจะรีบนำมาแชร์ค่ะ ที่รวมไว้เพราะลุงถามมาและเผื่อสำหรับคนที่กำลังรอคิวฉีดวัคซีนด้วยค่ะ
🌟จะอย่างไรก็ตามแต่ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของตัวเราเองสำคัญที่สุดนะคะ อย่าลืมเรื่องการสวมใส่ม้าสค์ ล้างมือบ่อย ๆ กินร้อนช้อนตัวเอง และระมัดระวังเรื่องระยะห่างทางสังคมกันค่ะ
3
อ้างอิง
1. เปรียบเทียบข้อดี ข้อด้อย "วัคซีนโควิด 19" ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/148893
2. วัคซีนโควิด19 ในประเทศไทย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/
7 บันทึก
37
59
33
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สุขภาพต้องมาก่อน
7
37
59
33
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย