23 มิ.ย. 2021 เวลา 09:32 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
"โบไลด์"
อุกกาบาตเขย่าขวัญเชียงใหม่
ภาพนี้เป็นภาพประภอบ ไม่ใช่ภาพที่เกิดขึ้นที่เชียงใหม่  รูปภาพจาก https://www.thairath.co.th/news/local/north/2122235
สำนักข่าวหลายสำนักได้ออกข่าวเรื่องอุกกาบาตตกที่เชียงใหม่ เห็นแสงวาบพร้อมกับเสียงระเบิด สร้างความสงสัยให้แก่ชาวเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างมาก
มีรายงานว่า เวลาประมาณ 19.00 น. วันที่ 22 มิ.ย. ได้เกิดปรากฏการณ์ที่สร้างความแตกตื่นให้กับประชาชนจำนวนมากในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน ต่างได้ยินเสียงดังสนั่นพร้อมกับเห็นแสงวาบสีเขียวเหนือท้องฟ้า ขณะที่หลายพื้นที่ เช่นที่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ มีชาวบ้านรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นกับตัวบ้าน แต่ผ่านไปกว่า 1 ชั่วโมง ยังไม่มีรายงานยืนยันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดจากอะไรผู้พบเห็นแสงสีฟ้าอมเขียว พุ่งจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก หลังจากนั้นได้ยินเสียงระเบิดดังสนั่น เกิดแรงสั่นสะเทือน สร้างความตกใจแก่ผู้อยู่ในพื้นที่เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานและไม่มีรายงานความเสียหายที่เกิดจากเหตุการณ์ดังกล่าว
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยว่าสาเหตุของเสียงดังที่ได้ยินทั่วภาคเหนืออาจเกิดจากดาวตกชนิดระเบิด (บอไลด์)
"จากหลักฐานที่รวมรวมได้ อาทิ ข้อมูลการโพสต์จากหลายแหล่ง และภาพถ่าย เบื้องต้นคาดว่าอาจเกิดจาก ดาวตกชนิดระเบิด (Bolide) เป็นเหตุการณ์ที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์" สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติระบุ
ส่วนหลักฐานภาพถ่ายดังกล่าวนั้น ได้มาจากคุณอาลิสา เซยะ ที่อาศัยอยู่ที่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
1
ภาพประกอบอุกกาบาตโบไลด์ถล่มโลก จาก http://www.virginiaplaces.org/geology/bolide.html
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุอีกว่า ปกติแล้วดาวตกที่เข้ามาในขั้นบรรยากาศจะเกิดความร้อนสูงและลุกไหม้ที่ความสูง 80-120 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก ซึ่งสูงจนไม่ได้ยินเสียง ยกเว้นบางครั้งที่เกิดคลื่นเสียงกระแทก (โซนิกบูม) ที่ทำให้คนบนพื้นโลกได้ยินเสียง เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องปกติมากในทางดาราศาสตร์และอธิบายได้ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตื่นตระหนก ดาวตกนั้นเข้ามาในชั้นบรรยากาศโลกเป็นจำนวนมากแต่ไหม้หมดไปตั้งแต่ความสูงนับร้อยกิโลเมตร ส่วนอุกกาบาตจะตกลงมาถึงพื้นโลกราว 6,000 ดวงต่อปีอยู่แล้ว แต่ส่วนมากตกลงในมหาสมุทรหรือพื้นที่ห่างไกล ขณะเดียวกัน จนถึงขณะนี้ในส่วนของตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ ยังไม่ได้รับรายงานพบวัตถุแปลกปลอมตกมาจากท้องฟ้าแต่อย่างใด
2
จะว่าไปแล้วโลกเรานี้มีความเสี่ยงที่จะประสบเหตุการณ์ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตแตกดับอยู่หลายประการ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด สงครามนิวเคลียร์ สารพิษ รังสีอันตราย หรือแม้แต่อุกกาบาตชนโลก ซึ่งเราได้ยิน ได้เคยดูหนังมาตั้งแต่เด็ก ๆ พอได้อ่านข่าวอุกกาบาตตกที่เชียงใหม่ ผู้เขียนจึงขอนำเสนอว่าอุกกาบาตนั้นสามารถทำอันตรายต่อโลกเราได้อย่างไร มาดูกันครับ
1
รูปภาพจาก https://pantip.com/topic/38730669
"อุกกาบาต" หรือ "ดาวเคราะห์น้อย" มีอยู่ทั่วไปในระบบสุริยะของเรา ส่วนใหญ่มันจะจับกลุ่มกันเป็นวงแหวน อยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี แต่ก็อาจมีบางดวงที่โคจรผิดทิศทางจากการชนกันขณะที่ลอยอยู่ในอวกาศ ทำให้เปลี่ยนวงโคจรเข้ามายังโลก พวกนี้ก็จะกลายเป็น "อุกกาบาต" หรือ "ดาวเคราะห์น้อย" ที่คุกคามโลกได้
รูปภาพจาก https://www.delaplanete.org
เรามาดูกันว่าอุกกาบาตแต่ละขนาดสร้างผลกระทบอะไรให้แก่โลกของเราบ้าง
1.อุกกาบาตที่ตกลงสู่พื้นโลกที่มองเห็นเป็นแสงดาวตกส่วนมากมีขนาดประมาณเม็ดทราย เม็ดถั่ว แต่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงประมาณ 40 - 70 กิโลเมตร/วินาที จึงเสียดสีกับอากาศจนร้อนมากจนเผาไหม้หมดก่อนที่จะตกถึงพื้นผิวโลก
ภาพดาวตก จาก https://www.blockdit.com/posts/5f206130af78bc0cbdabf0dc
2. ดาวเคราะห์น้อยหินที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 เมตร (13 ฟุต) เข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกประมาณปีละครั้ง ระเบิดในชั้นบรรยากาศจนหมด
3. ดาวเคราะห์น้อยที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 เมตรเข้าสู่ชั้นบรรยากาศทุกๆ 5 ปีโดยมีพลังงานจลน์มากพอ ๆกับระเบิดปรมาณูที่ทิ้งลงบนฮิโรชิมา ( ทีเอ็นทีประมาณ 16 กิโลตัน ) แต่การระเบิดของอากาศจะลดลงเหลือเพียง 5 กิโลตัน ปกติจะระเบิดในบรรยากาศชั้นบนและส่วนใหญ่มีการเผาไหม้จนหมดก่อนจะ่ตกลงสู่พื้นโลก
4. ดาวเคราะห์น้อยที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 เมตร (66 ฟุต) มีโอกาสพุ่งชนโลกประมาณสองครั้งทุก ๆ ศตวรรษ (100 ปี) ทำให้เกิดการระเบิดของอากาศที่ทรงพลังกว่า อุกกาบาตเชเลียบินสค์ปี 2013 โดยมีการระเบิดของอากาศชั้นบนประมาณ 500 กิโลตันซึ่งเป็นการระเบิด 30 เท่าของที่ฮิโรชิมา เศษของดาวจะตกกระทบพื้นโลกและสร้างความเสียหายให้แก่ผู้อาศัยอยู่บริเวณการตกได้
 
ดังเช่น เหตุอุกกาบาตที่ตกในรัสเซีย พ.ศ. 2556 เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 9.20 น. ตามเวลาท้องถิ่น ของวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 สะเก็ดดาวเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกเหนือประเทศรัสเซียและบางส่วนของประเทศคาซัคสถาน เกิดเป็นลูกไฟพุ่งผ่านท้องฟ้าด้วยความเร็วอย่างน้อย 54,000 กม./ชั่วโมงและแตกเป็นเสี่ยง ๆ เหนือนครเชเลียบินสค์สถาบันวิทยาศาสตร์รัสเซียประมาณว่า อุกกาบาตก้อนนี้หนักราว 10,000 ตันก่อนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก และเกิดระเบิดกลางอากาศที่ความสูงระหว่าง 30-50 กิโลเมตรเหนือพื้นดินองค์การอวกาศนาซาของสหรัฐอเมริกา ประมาณว่าอุกกาบาตลูกนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 17 เมตร และหนัก 9,000 ตันโดยมีพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาเทียบเท่ากับทีเอ็นที 500 กิโลตันสะเก็ดดาวนี้ไม่ถูกตรวจพบก่อนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ
2
อุกกาบาตตกที่รัสเซีย  รูปภาพจาก https://th.wikipedia.org/
มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ 1,200 คน ส่วนใหญ่เป็นเพราะถูกเศษกระจกที่เกิดจากคลื่นกระแทกบาด มีรายงานผู้บาดเจ็บสาหัส 2 คน มีรายงานว่าอาคารจำนวนถึง 3,000 แห่งใน 6 เมืองใหญ่ในพื้นที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการระเบิดและแรงกระแทก
5.หากขนาดของอุกกาบาตมีขนาดตั้งแต่ 1 กิโลเมตรขึ้นไปชนโลกแบบตรงๆ อานุภาพการทำลายล้างจะเทียบเท่ากับระเบิดนิวเคลียร์ที่ถล่มเมืองฮิโรชิมามากกว่า 1 ล้านลูก! เลยทีเดียว
รูปภาพจาก http://www.thaiphysoc.org/article/77/
โฆษณา