23 มิ.ย. 2021 เวลา 12:30 • ไลฟ์สไตล์
มารู้จัก "เหล้าบ๊วย (Umeshu)" กันเถอะ !
เหล๊าบ๊วย หรือ อูเมะชู (Umeshu) ที่ชื่อดูเหมือนจะไกลตัว
แต่กลับใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด
พวกเราแอบมั่นใจว่าเกือบ 50% ของเพื่อน ๆ ที่กำลังอ่านโพสนี้ใน Blockdit อยู่
น่าจะต้องเคยดื่มเหล๊าบ๊วย (Umeshu) กันมาแล้วอย่างแน่นอน !
หากเราไปดูกันที่ส่วนประกอบของที่มา หรือ การหมักเหล้าบ๊วยเนี่ย ก็ดูเหมือนจะทำได้ไม่ยากนัก
แต่ในมุมมองของพวกเรา ส่วนที่ยากเนี่ย (จะเรียกว่ายากไหม ก็ไม่เชิงนะ)
ก็คือ ระยะเวลาสำหรับการหมักนั่นเอง ซึ่งจากที่พวกเราไปค้นหามาแล้ว ก็จะพบว่า ระยะเวลาขั้นต่ำเฉลี่ยตั้งแต่ 6 เดือนเป็นต้นไปสำหรับการหมักดอง ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นที่รีดเค้นจุดเด่นเอกลักษณ์ของเหล้าบ๊วยออกมาได้ (แต่ว่าก็ยังไม่ดี)
จากที่พวกเรานั่งดูทั้งสารคดีและคลิปตัวอย่างการทำ Umeshu เนี่ย
ก็พบว่า นักหมักหลาย ๆ ท่าน นิยมการหมักด้วยระยะเวลาขั้นต่ำ 1 - 3 ปี หรือ มากเกิน 10 ปี เลย ก็มีให้เห็นเยอะเลยนะ !
(สำหรับการหมักในระยะสั้นอย่าง 1 - 3 ปี เขาก็จะมีการเปิดออกมาชิมรสชาติ ทุก ๆ 3 - 6 เดือนกัน)
ที่สำคัญก็คือ ไม่ว่าเราจะลองสูตรไหนก็ตาม แต่ด้วยข้อจำกัดที่ในการทดลองหมักที่อาจใช้เวลานาน
จึงเป็นหนึ่งในความท้าทายสำหรับการผลิตเหล้าบ๊วยเลยละ
เอาละ ! ว่าแต่เหล้าบ๊วย หรือ Umeshu ที่ว่านี้ มีหน้าตาเป็นอย่างไร ?
วันนี้ พวกเรา InfoStory ขอพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักผ่านภาพอินโฟกราฟิกสบายตาข้างล่างนี่ กันได้เลยจ้า !
สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากอ่านเรื่องราวความเป็นมาของ Umeshu ต่อ ก็ขอเชิญทางนี้ได้เลย
เหล๊าบ๊วย หรือ อูเมะชู (Umeshu) เป็นที่รู้จักกันดีว่า มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น
แต่อันที่จริง จากที่พวกเราไปค้นหามาเนี่ย
มีการอ้างอิงอยู่จำนวนหนึ่งเลยละ ที่บอกว่าเหล้าบ๊วยนี้ มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน อย่างต้นบ๊วย ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มายังประเทศญี่ปุ่น
(คงจะคล้าย ๆ กับ วัฒนธรรมการดื่มชาญี่ปุ่น ที่จริง ๆ แล้ว ก็ได้รับอิทธิพลเริ่มต้นมาจากใบชาจากจีน)
แต่ถ้าพูดถึง “บ๊วย” หรือ Ume ในประเทศญี่ปุ่น
ก็ถือว่า มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานเหมือนกันนะ
เพราะคนญี่ปุ่นมีความผูกพันธ์กับ ดอกบ๊วย มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 750 เลยละ
(ว่ากันว่าคนญี่ปุ่นรู้จักดอกบ๊วยมาก่อนหน้านี้อีก)
โดยความผูกพันธ์นี้เนี่ย ก็ถูกสะท้อนไปถึงการพูดถึงความงามของดอกบ๊วยในบทกวี “Waka” ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งความงามดอกบ๊วย มีการถูกกล่าวถึงมากกว่า ความงามของดอกซากุระ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นซะอีกนะ
สารภาพตามตรงว่า จุดนี้ก็เป็นความรู้ใหม่ของพวกเราเลยเหมือนกันนะ แห่ะ ๆ
ดอกบ๊วย
อะ ต่อมา ดอกบ๊วยก็กลายเป็นมากกว่าแค่ความสวยงาม...
เพราะ ผลบ๊วย มีสรรพคุณทางยารักษาอาการด้วยนะ โดยใช้เป็นยารักษาอาการป่วยต่าง ๆ
ซึ่งในช่วงปี ค.ศ. 918 พจนานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดของร้านขายยาในญี่ปุ่น ก็ได้มีบันทึกเกี่ยวกับสรรพคุณของผลบ๊วย
โอเค ทีนี้ เราจะเข้ามาสู่ในเรื่องราวของ บ๊วยดอง กันต่อนะ
คือ บ๊วยดองเนี่ย ได้เริ่มมีบันทึกการใช้งานครั้งแรก ในช่วงปี ค.ศ. 960 โดยใช้ในการรักษาอาการประชวรของจักรพรรดิมุราคามิ (แน่นอนว่า ต้องได้ผลที่ดีมาก ๆ)
หลังจากนั้น การทานบ๊วยดอง หรือ การดื่มน้ำบ๊วยดองกับสาหร่ายทะเล ก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในประเทศญี่ปุ่น
ถึงขนาดที่ ในปี ค.ศ. 984 หนังสือพิมพ์การแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดอย่าง “อิชินโป” ยังได้มีการบันทึกเรื่องราวสรรพคุณของบ๊วยดองเลยทีเดียว
เรื่องราวตรงนี้จึงทำให้คนญี่ปุ่น เริ่มมีความนิยมในการปลูกต้นบ๊วยด้วย
ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากนโยบายการสนับสนุนการปลูกบ๊วยจากตระกูลโชกุนอย่าง “โตกุกาวะ” ในช่วงปี ค.ศ. 1619 อีกด้วยนะ
จากเรื่องราวของบ๊วยดองตรงนี้ ก็ทำให้เราขยับเข้ามาสู่เหล้าบ๊วยกันได้ซะทีละ !
(เพื่อน ๆ หลายคนคงบ่นว่า โอโห จะปูเรื่องราวมาทำไมเยอะแยะเนี่ย พวกเราก็ขอตอบว่าตอนที่ค้นหามา มันก็แอบอินอยู่เหมือนกันนะ แห่ะ ๆ)
เหล้าบ๊วย หรือ คำว่า Umeshu ถูกบันทึกขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1697 ในหนังสือตำราอาหารสุดเก่าแก่อย่าง “ฮงโจ โชะคัง”
ขอบคุณภาพจาก Umeshuthai
ซึ่งแน่นอนว่าในตำรานี้ ก็ได้พูดถึงคอนเซปต์ของบ๊วยดอง มาหมักดองกับเหล้า และเสริมรสชาติให้อร่อยและกินดื่มสนุกยิ่งขึ้น
เอาง่าย ๆ คือ สำนวนที่ว่า “หวานเป็นลม ขมเป็นยา” อาจจะใช้ “ไม่ได้ผล” กับบ๊วยดองและเหล้าบ๊วยในตอนนี้
จากที่พวกเราไปหาข้อมูลมา
บริษัทแรกที่ได้ทำการหยิบ เหล้าบ๊วย (Umeshu) รวมถึงเรื่องการปลูกบ๊วย มาทำวิจัยอย่างจริงจังคือ บริษัท CHOYA UMESHU CO.,LTD
ซึ่งบริษัท CHOYA ก็ยังเป็นเจ้าแรกในประเทศญี่ปุ่น ที่ทำการวิจัยถึงเรื่องของความหลากหลายของบ๊วย และ การวิจัยของเหล้าผลไม้ชนิดต่าง ๆ อีกด้วยนะ (เช่นพวกไวน์ผลไม้ และ บรั่นดี)
จนกระทั่งมาถึงในปี ค.ศ. 2005 ที่เหล้าบ๊วย หรือ Umeshu เนี่ย เริ่มเผยแพร่จนเป็นเทรนด์ของนักดื่มที่อยากลิ้มลองรสชาติใหม่ ๆ ไปไกลทั่วโลก
อีกเรื่องราวหนึ่งที่สอดคล้องไปกับความนิยมของ เหล้าบ๊วย
ก็ได้มีการกล่าวถึง การเข้ามามีอิทธิพลของเหล้าโซจู ของเกาหลีในประเทศญี่ปุ่น
คือ ด้วยราคาของโซจู ที่ถูกกว่าสาเกของญี่ปุ่นเอาเสียมาก ๆ
ซึ่งลักษณะของเจ้าโซจูที่ดื่มง่าย เหมือนกับเหล้าขาว รวมไปถึงความสามารถอย่างการที่เหล้า “ไม่มีสีและไม่มีกลิ่น”
จึงทำให้การนำโซจูมาหมักทำเป็นเหล้าบ๊วยเนี่ย
ก็จะดึงเอกลักษณ์ของความเป็นเหล้าบ๊วยออกมาได้ดีมาก ๆ เลย (แถมต้นทุนไม่สูงด้วย)
จากเรื่องราวของความงามของ ดอกบ๊วย มาถึง ผลบ๊วย พัฒนามาถึงบ๊วยดอง และ ข้ามมาจบที่ เหล้าบ๊วย (Umushu)
ทั้งหมดนี้ ก็เป็นเรื่องราวหนึ่งที่มีต้นกำเนิดเชื่อมถึงกันเนอะ
ถ้าหยั่งงั้น พวกเราก็ขอจบเรื่องราวสาระความรู้สบายสมองของ เหล้าบ๊วย หรือ Umeshu ไว้ในที่ตรงนี้ 🙂
โฆษณา