24 มิ.ย. 2021 เวลา 05:12 • สัตว์เลี้ยง
โรคคอดอกในสัตว์ปีก ไหนใครรู้จักบ้าง ยกมือขึ้น🐥🦜
วันนี้นายแบบแนะนำโพสต์ก็คือ มังคุด ค่ะ
มังคุด ไก่ชน หนุ่มแน่น มีแฟนสาวเป็นรองเท้า ไม่ได้เป็นอะไรมาเป็นนายแบบเฉยๆ
สวัสดีค่ะ วันนี้เรามาแปลกๆหน่อย อยากมาแนะนำโรคในสัตว์ปีกสักหน่อย ส่วนตัวไม่ค่อยถนัด สัตว์ปีกแล้ว เนื่องจาก คืนอาจารย์ไปหมดแล้ว 555555 หลอกเล่นค่ะ พอดีที่บ้านมีน้องชาย ชื่อ มังคุดค่ะ เป็นไก่ชนหนุ่มแน่น วัยขบเผาะ กำลังซ่าส์เลย เลยทำให้นึกถึงโรคนี้ เนื่องจาก เจอในไก่ชนได้เลยนำมาเล่าให้ฟังค่ะ
โรคคอดอก (Canker, Frounce, Trichomoniasis)
เป็นโรคในนก ที่เกิดมาจากการติดเชื้อโปรโตซัวชนิดหนึ่งชื่อ Trichomonas gallinae ค่ะ มักเจอใน นกเขา นกพิราบส่วนใหญ่ ประมาณ 80-90% เป็นพาหะนำโรคนี้
ไก่เองก็สามารถติดเชื้อนี้ได้ ผ่านการกินน้ำหรืออาหาร ด้วยกันกับ นกที่เป็นพาหะนำโรคนี้ค่ะ โดยเชื้อตัวนี้มักจะอยู่ในที่ชื้นได้ดี อย่างน้อยๆก็ 5 วันเลย แต่ถ้าในน้ำ เชื้อนี้จะอยู่ได้ประมาณ 20 นาที ถึง 2-3 ชั่วโมงเลย
ไก่ที่มีรอยโรค คอดอก แหล่งอ้างอิงรูป : http://pingthailand.blogspot.com/2018/03/blog-post_21.html?m=1
อาการที่พบ ก็คือ จะส่งผลกับระบบทางเดินอาหารส่วนต้น และทำให้ ภายในช่องปากมีลักษณะ ดอกๆ หรือตุ่มๆขาว-เหลืองขึ้นมา และอาจจะโตขึ้น ทำให้กินน้ำลำบาก กลืนอาหารยาก อาจมีการขย้อน อ่อนแรง น้ำหนักลด กินอาหารน้อยลง ในรายที่รุนแรงมากๆ เชื้ออาจไปที่สมองได้แต่ก็เป็น rare case
1
สำหรับการรักษา ตอนเราไปหาreference ภาพ เจอยาขายเยอะมาก 555555 พิมพ์หาว่า โรคคอดอกในไก่ชน คือเพียบบบ แต่จริงๆตามตำรา ของสัตวแพทย์จริงๆ มีการรักษาหลากหลายแบบค่ะ ทั้ง supportive care (การรักษาแบบประคับประคอง) ,การผ่าตัด ถ้ารอยโรคมันใหญ่เกินที่ไก่ จะกลืนอาหารลงไปได้ หรือจากการใช้ยา ซึ่งเราไม่ขอลงลึกชื่อยานะคะ แต่ในวงการไก่ชน ยาเพียบเลย
การป้องกัน
มีกรงหรือจำกัดบริเวณไม่ให้เจอนกเขา หรือนกพิราบ หมั่นทำความสะอาดชามน้ำชามอาหาร รักษาความสะอาดบริเวณที่อยู่ของไก่ให้ดี
แหล่งอ้างอิงข้อมูล
https://www.facebook.com/612044312284115/posts/617775518377661/ ที่พี่หมออีกคนเขียนไว้ก็น่าสนใจไปหาอ่านเพิ่มเติมได้ค่ะ
วันนี้มาแนวแปลกๆแต่ ก็ยังมีคนเลี้ยงไก่ชนเยอะอยู่น้า เลยเอามาแนะนำให้รู้จัก แต่ที่บ้านเราเลี้ยงไว้เฉยๆไม่ได้เอาไปตีกับใคร จะมีก็แต่มังคุดเนี่ยแหละ ชอบตีขาพ่อกับแม่เรา 5555555
โฆษณา