23 มิ.ย. 2021 เวลา 15:44 • สุขภาพ
“แม่จ๋าสนใจหนูหน่อย”
เพราะ เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี มีโอกาสชักจากภาวะไข้สูง!!!!!!!
วิธีการประเมินภาวะไข้ มีดังนี้
1. เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิกาย ได้แก่ ปรอทแก้ว (mercury glass thermometer) ดิจิตอล เทอร์โมมิเตอร์ (digital thermometer) และเทอร์โมมิเตอร์
ทางช่องหู (tympanic thermometer)
2. ตำแหน่งท่ีใช้วัดอุณหภูมิกายในเด็ก ได้แก่ ปาก รักแร้ และช่องหู
3. การวัดอุณหภูมิทางปาก (oral temperature) จะวัดในเด็กอายุ 5 ปีข้ึนไป หรือเด็กอายุ 2 ปีข้ึนไปที่ให้ ความร่วมมือดีและสามารถอมเทอร์โมมิเตอร์ไว้ใต้ล้ินได้ วัดโดยการสอดเทอร์โมมิเตอร์ไว้ใต้ลิ้น วัดนาน 3 – 5 นาที หากใช้ปรอทแก้ว หรือวัดนาน 90 วินาที หรือจนกว่าจะมีเสียงเตือน (alarm) หากใช้ดิจิตอลเทอร์โมมิเตอร์ และไม่ควรวัดหลังจากท่ีเด็กเพึ่งดื่มน้ำอุ่นหรือเย็นภายใน 15 นาที
4. การวัดอุณหภูมิทางรักแร้ (axillary temperature) สามารถวัดกับเด็กทุกช่วงวัย โดยการสอดให้ เทอร์โมมิเตอร์อยู่ในซอกรักแร้ท่ีสะอาดและแห้ง จัดให้แขน ของเด็กแนบกับลำตัว วัดนาน 5 นาที หากใช้ปรอทแก้ว หรือ วัดนาน 90 วินาที หรือจนกว่าจะมีเสียงเตือน หากใช้ดิจิตอล เทอร์โมมิเตอร์
5. การวัดอุณหภูมิด้วยปรอทแก้ว ก่อนวัดทุก คร้ังจะต้องสลัดปรอทให้ปรอทลดลงต่ำถึง 35 องศาเซลเซียส ขณะสลัดปรอทต้องระมัดระวังสิ่งกีดขวางด้วย
วิธีการเช็ดตัวลดไข้ ดังนี้
1. ใช้น้ำอุณหภูมิห้องในการเช็ดตัว หากอากาศเย็นให้ใช้น้ำอุ่นแทน ไม่ควรใชน้ำเย็นหรือน้ำแข็งเพราะจะทำให้ หลอดเลือดหดตัวไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้
2. เช็ดทุกส่วนของร่างกายอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นบริเวณท่ีเป็นข้อพับต่าง ๆ ใช้เวลา 15 – 20 นาที หรือจนกว่าไข้จะลด หากพบว่าเด็กหนาวสั่น ให้หยุดเช็ดทันที เพราะจะทำให้หลอดเลือดหดตัว ไม่สามารถระบายความร้อน ออกจากร่างกายได้เช่นกัน
3. หลังเช็ดตัวให้ใส่เสื้อผ้าบาง ๆ และติดตาม วัดอุณหภูมิกายหลังเช็ดตัว 30 นาที
วิธีการให้ยาลดไข้แก่เด็ก ดังน้ี
1. ยาลดไข้ท่ีเหมาะสมและปลอดภัยต่อเด็ก สามารถใช้ได้ท้ัง Paracetamol โดยขนาดของยาที่เหมาะสมและปลอดภัย คือ ในปริมาณ 15 mg/kg/ครั้ง หรือตามแพทย์สั่งห่างกัน ทุก 4-6 ชั่วโมง
2. การตวงยา ควรใช้ช้อนหรือกระบอก ฉีดยาที่มีขีดบอกปริมาณชัดเจน
3. หากกังวลว่าเด็กจะมีไข้หลังรับวัคซีน ไม่ควรให้ยาลดไข้แก่เด็กก่อนรับวัคซีน เนื่อจากไม่มีความ จำเป็น และยาลดไข้จะลดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของ วัคซีนลงด้วยหรือหากเด็กเคยรับวัคซีนตัวใดแล้วมีภาวะชัก จากไข้สูง ควรแจ้งแพทย์ทุกครั้งในการฉีดวัคซีนคร้ังต่อไปด้วย
การช่วยเหลือเด็กขณะมีอาการชัก ดังนี้
1. ให้ตั้งสติให้ดี
2. คลายเสื้อผ้าเด็กให้หลวม จับให้เด็กนอน ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหน่ึง
3. ห้ามใช้นิ้วหรือวัตถุต่างๆ งัดปากเด็ก ขณะกำลังชัก และระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น การพลัด ตกหกล้ม ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายกระแทกกับของแข็ง
4. สังเกตลักษณะของการชัก ระยะเวลาของ การชัก และเช็ดตัวลดไข้
5. ถ้าเด็กชักนานกว่า 5 นาที หรือชักซ้ำหลัง จากชักครั้งแรกผ่านไปแล้ว อาการไม่ดีขึ้นภายหลังชักหรือมี หายใจลำบาก ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล
อ้างอิงข้อมูลจาก วารสารพยาบาลทหารบก
โฆษณา