24 มิ.ย. 2021 เวลา 13:22 • สุขภาพ
❤️กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ❤️: ผลข้างเคียง
หลังฉีดวัคซีนโควิดชนิดmRNA (ไฟเซอร์ และ โมเดิร์นนา)
ไม่มีวัคซีนใดที่ปราศจากผลข้างเคียง ขึ้นกับว่าพบจำนวนมากเท่าไร และอันตรายเพียงไร
2
มาดูรายละเอียดกันค่ะ ว่าผลข้างเคียงล่าสุดนี้ พบในกลุ่มอายุใด และมีอาการอย่างไรบ้าง
🔅จากการรายงานของ CDC ของอเมริกา
ล่าสุดเมื่อ 23 June 2021🔅
ตั้งแต่เดือน เมษายน 2021 จากรายงาน
อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ผ่านระบบ VAERS (Vaccine Adverse Event Reporting System) พบรายงานมากกว่า 1,000 ราย ที่มีการอักเสบของหัวใจ เกิดขึ้นหลังการฉีดวัคซีนโควิดชนิด mRNA (Pfizer-BioNTech และ Moderna) ในประเทศอเมริกา
2
อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) และ เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Pericarditis) ที่พบเป็นอาการข้างเคียงนี้ มักพบในเด็กหนุ่มวัยรุ่น อายุประมาณ 16 ปีมากกว่า ผู้ใหญ่และผู้หญิง
1
จากการรายงานของ นายแพทย์ Tom Shimabukuro รองผู้อำนวยการส่วนความปลอดภัยวัคซีนของ CDC บอกว่า พบ ได้ 16 ราย ในทุกๆ 1ล้านคนที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 โดยมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจเหนื่อย และไข้
นายแพทย์William Schaffner, MD, ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อจากVanderbilt University in Nashville, Tennessee คิดว่า อาการที่เป็นลักษณะเฉพาะเหล่านี้บ่งชี้ว่า
1.เป็นสัญญาณเตือนที่ “พบน้อย แต่พบได้จริง”
2.มักพบในเด็กหนุ่มวัยรุ่นอายุน้อย
3.จำนวนเคสที่พบ มากกว่า อัตราที่ควรจะพบในคนกลุ่มอายุเดียวกันที่ไม่ได้รับวัคซีน
CDC กล่าวว่า ได้ฉีดวัคซีนไปมากกว่า 12 ล้านโด๊สในคนอายุ 12-24 ปี และมีรายงานการอักเสบของหัวใจ 275 ราย
ในคนอายุต่ำกว่า 30ปี พบรายงานกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 475 ราย
🔅ที่น่ากังวลคือ กลุ่มอายุน้อย เพิ่งจะเริ่มมีการฉีดวัคซีนไปเพียง 9% ของจำนวนโด๊สทั้งหมดที่ฉีด แต่เคสที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในกลุ่มนี้คิดเป็น 50% ของเคสกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่เกิดหลังฉีดวัคซีน🔅
1
แสดงว่า พบผลข้างเคียง นี้ในกลุ่มอายุน้อยซึ่งคล้ายกับที่มีรายงานจากอิสราเอล ว่าพบกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ50 รายต่อ 1ล้านคนในกลุ่มผู้ชายอายุ 18-30ปี หลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด
5
CDC ของอเมริกา ได้สรุปเกี่ยวกับ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ(Myocarditis) และเยื่อบุหัวใจอักเสบ (Pericarditis)ไว้ดังนี้ (อ้างอิง 1)🕹
🔅รายงาน อาการข้างเคียง Myocarditis และ Pericarditis พบได้น้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนวัคซีนที่ให้ไปหลายล้านโด๊ส
🔅คนไข้ส่วนใหญ่ตอบสนอง ต่อการดูแลรักษาได้ดี และอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
🔅คนไข้ที่วินิจฉัยว่าเป็นอาการดังกล่าว
-ส่วนใหญ่พบในผู้ชาย วัยรุ่นอายุ16 ปี หรือมากกว่า
-มักพบหลังการให้วัคซีนเข็มที่ 2
-มักพบหลังการฉีดวัคซีนหลายวัน
-หลังจากอาการดีขึ้น สามารถกลับไปดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติได้ ส่วนการเล่นกีฬา และออกกำลังกายต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล
❤️อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ / เยื่อบุหัวใจอักเสบ ที่ต้องเฝ้าระวังหลังฉีดวัคซีนโควิดชนิด mRNA มีอะไรบ้าง?❤️
1
ภายใน 1 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน ถ้ามีอาการต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์
-เจ็บหน้าอก
-หายใจเหนื่อย หายใจไม่ทัน
-รู้สึกหัวใจเต้นเร็ว เต้นแรง เต้นพลิ้วไม่เป็นจังหวะ
❤️ยังควรจะไปฉีดวัคซีนชนิด mRNA อยู่ไหม?❤️
ควร ( ที่อเมริกาแนะนำให้ทุกคนที่อายุ 12 ปี และมากกว่า ให้ไปฉีดวัคซีนป้องกันโควิด)
ถ้าได้เข็มแรกไปแล้วก็ควรไปฉีดเข็มที่ 2 เพราะประโยชน์จากการฉีดวัคซีนมีมากกว่า โอกาสเสี่ยงต่อผลข้างเคียงซึ่งพบได้น้อยมาก
ต่อไปนี้เป็นรายงานสำหรับบุคลากร ทางการแพทย์ เป็น case report คนไข้ 7 ราย ที่มีอาการ myocarditis และ pericarditis
ตีพิมพ์ใน PEDIATRICS (อ้างอิง 2)🕹
รายงานคนไข้เด็กหนุ่มอายุ 14-19ปี จำนวน 7 รายที่แข็งแรงดี ต่อมามีอาการ acute myocarditis หรือ pericarditis ภายใน 4 วันหลังจากได้รับวัคซีนของ Pfizer-BioNTech เข็มที่ 2 ในเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2021
มีอาการเจ็บหน้าอกภายใน 4 วัน หลังฉีดวัคซีนป้องกันโควิดของไฟเซอร์เข็มที่สอง
ไม่พบการติดเชื้อไวรัสใดๆมาก่อน ตรวจ PCR สำหรับ SARCoV 2 เป็นผลลบ
ไม่พบ สาเหตุอื่นใดของการเป็น Myocarditis
ทำ MRI หัวใจ เข้าได้กับ myocarditis
EKG พบความผิดปกติของ left ventricle
รายที่ 1 ชายอายุ 16 ปี มาER ด้วยเรื่องอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ไข้ 38.3องศา C
เจ็บหน้าอก และแขน 2ข้าง หลังได้รับวัคซีนโควิดเข็มที่ 2 ของ Pfizer-BioNTech
electrocardiogram (ECG) พบว่ามี atrioventricular dissociation with junctional escape and ST elevation and an elevated troponin I (2.59 ng/ml, normal range for this hospital, < 0.03 ng/mL).
ส่งไปเข้า PICU พบว่า
Inflammatory markers สูงขึ้นเล็กน้อย
D-dimer 1.52 ug/mL, ESR 43 mm/hr และ maximum C-reactive protein (CRP) 12.3 mg/L (normal range, <1.0 mg/dL). Cardiac MRI demonstrated late gadolinium enhancement characteristic for myocarditis Echocardiogram was normal. Troponin I peaked at 12.43 ng/mL (normal range for this hospital, <0.80 ng/mL) (Table 2).
SARS-CoV-2 PCR เป็นผลลบ
serum SARS-CoV-2 nucleocapsid antibody เป็นลบ
ระบบไหลเวียนปกติคงที่ตลอด 6 วันที่อยู่ รพ
รายที่ 2 ชายอายุ 19 ปี เจ็บหน้าอกหลังฉีดวัคซีน ไฟเซอร์เข็มที่ สอง 3 วัน ปวดเมื่อย อ่อนแรงเพลีย ไข้ต่ำๆ
รายที่ 3 ชาย 17 ปี เจ็บหน้าอก 2 วันหลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 2
รายที่ 4 ชาย อายุ 18 ปีเจ็บหน้าอก 3 วันหลังฉีดวัคซีนเข็มที่ 2
รายที่ 5 ชายอายุ 17 ปี
รายที่ 6ชายอายุ 16 ปี
รายที่ 7 ชายอายุ 14 ปี
(อ่านรายละเอียด จากลิ้งค์ด้านล่างได้ค่ะ)
ถอดความ และเขียนบทความโดย
พญ ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล
1
อ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา