Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รู้ก่อนลงทุน
•
ติดตาม
25 มิ.ย. 2021 เวลา 08:04 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รู้จักหุ้น SYNEX ผู้นำเข้าและจำหน่ายสินค้าไอที เบอร์ 1 ของประเทศไทย
ในยุคที่อุปกรณ์ไอที (Information Technology) เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของพวกเรามากขึ้น ประจวบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ในปัจจุบัน ที่ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องอยู่แต่ในบ้าน จึงทำให้ความต้องการในการใช้สินค้าไอทีในเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด
1
โดยตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์สินค้า ไอที รายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ก็คือ SYNNEX ซึ่งบางคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคย และไม่รู้ว่าบริษัทฯมีธุรกิจและผลิตภัณฑ์อะไรอยู่ในมือบ้าง โดยเราจะไปทำความรู้จักไปพร้อมๆกัน
1
Synnex หรือชื่อเต็มๆว่า บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทฯ ที่ประกอบธุรกิจจัดจําหน่ายนำเข้าและจำหน่ายสินค้าไอที ซึ่งเป็นผู้แทนนำเข้าและจัดจําหน่ายสินค้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย จากผู้ผลิตที่เป็นเจ้าของแบรนด์ชั้นนําระดับโลกมากกว่า 60 แบรนด์ และมีฐานลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และเล็ก มากกว่า 6,000 ราย ในปัจจุบัน
บริษัทได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2551 โดยมีชื่อย่อของหุ้นว่า “SYNEX” และมี บริษัท ที.เค.เอส. เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวน 326,355,876 หุ้น คิดเป็น 38.51% โดยมี คุณ สุธิดา มงคลสุธี เป็นกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหารในปัจจุบัน (อ้างอิงข้อมูล ณ วันที่ 24/06/64)
ภาพ ตัวอย่างแบรนด์สินค้า ที่ SYNNEX เป็นผู้นำเข้ามา (ที่มา synnex.co.th)
โดยสินค้าไอทีของบริษัทฯสามารถแบ่งออกเป็น 9 ประเภทหลักๆ ดังนี้
1.กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทอุปกรณ์ชิ้นส่วน (Component Product Group: CPG) เช่น Motherboard, Hard Disk Drive, CPU, DRAM, Optical Drive เป็นต้น
.
2.กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทวัสดุสิ้นเปลือง (Consumables & Supply Group: CSG) เช่น หมึกพิมพ์ (Ink Cartridge) โทนเนอร์ (Toner Cartridge) ผ้าพิมพ์สำหรับเครื่องพิมพ์ (Ribbon) และกระดาษสำนักงาน
.
3.กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทอุปกรณ์เพื่อการพิมพ์ (Image & Printing Product Group: IPG) เช่น เครื่องพิมพ์ Inkjet (Inkjet Printer) เครื่องพิมพ์ Laser (Laser Printer) ประเภทเครื่องพิมพ์แบบ All - In - One function (printer, fax, copier & scanner) และ แบบ Single function (printer only)
.
4.กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทอุปกรณ์ใช้ในการประกอบเน็ตเวิร์ค (Network Product Group: NPG) เช่น Switch, Hub Router, Wireless LAN, UPS, Server, Storage, Network Cabling System และ Internet Security เป็นต้น
.
5.กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Display Product Group: DPG) เช่น จอภาพแสดงผล หรือ จอโปรเจคเตอร์
.
6.กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทชุดคอมพิวเตอร์ประกอบเสร็จ (System Product Group: SPG) เช่น คอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) และ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop PC)
.
7.กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทอุปกรณ์มัลติมีเดีย (Multimedia Product Group: MPG) เช่น External Hard Drive, Media Player, USB Flash Drive, Digital Camera และอุปกรณ์เสริมที่ต่อเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์ เช่น หูฟัง เม้าส์ และคีย์บอร์ด
.
8.กลุ่มผลิตภัณฑ์ซอฟท์แวร์ (Software Product Group: SWG) เช่น ซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ซอฟท์แวร์แอพพลิเคชั่น ซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการเครื่องแม่ข่าย หรือ ซอฟท์แวร์ระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์
.
9.กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทอุปกรณ์การสื่อสาร (Communication Devices Group: CDG) เช่น Smartphone และ Tablet ใช้ระบบปฏิบัติการอย่าง ANDRIOD OS และ WINDOW OS
ซึ่งสินค้าในทุกประเภทที่กล่าวมา เราคงจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ปัจจุบันในแต่ละบ้าน จะต้องมีอุปกรณ์อย่างน้อยๆ 1 ใน 9 ประเภทนี้อย่างแน่นอน
1
ภาพตัวอย่าง บริษัทที่เป็นคู่ค้าของ SYNNEX ในประเทศไทย (ที่มา synnex.co.th)
อย่างไรก็ตาม การนำเข้าและจำหน่ายสินค้าไอทีนั้นต้องอาศัยความน่าเชื่อถือสูงมาก เนื่องจากผู้บริโภคเองก็ต้องการความแน่ใจว่าสินค้านั้นเป็นของแท้ ซึ่งการจะมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาในตลาดก็เป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้เวลาในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ซึ่งถือว่าเป็นข้อได้เปรียบของบริษัทฯที่ประกอบธุรกิจมายาวนาน โดยทางบริษัทฯ เองก็มีสัญลักษณ์ "Trusted by SYNNEX" ที่ผู้ประกอบการและลูกค้าทั่วไปให้ความไว้วางใจในสัญลักษณ์นี้มาโดยตลอด
3
ทางด้านความเสี่ยงเบื้องต้นก็คงจะหนีไม่พ้นในเรื่องของค่าเงินและอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนอยู่ตลอด ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่มีปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน ที่อาจจะส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคในระยะยาวได้
จากผลดำเนินการ ในปี 63 ที่ผ่านมา บริษัทฯมีรายได้ 32,244 ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่า ปี 62 อยู่ที่ 34,887 ล้านบาท โดยเป็นผลมาจากการระบาดของโรคโควิด-19 และการเกิดความต้องการสินค้าในตลาดไอทีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดภาวะขาดแคลนสินค้าในตลาด อย่างไรก็ตาม ที่น่าสนใจคือ บริษัทฯ สามารถทำกำไรสุทธิได้มากขึ้น ในปี 63 ที่ 642 ล้านบาท จากปี 62 ที่ 524 ล้านบาท
3
สาเหตุมาจากสัดส่วนรายได้หลักของบริษัทฯ ในปี 63 ที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยรายได้หลักจะเป็นในส่วน อุปกรณ์ IT 43%, มือถือ 38% และอื่นๆ 17% ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีของ SYNNEX ที่หันมาเน้นสินค้าในส่วนอื่นนอกจากมือถือมากขึ้น
เนื่องจากในอดีต บริษัทฯมีการพึ่งพารายได้หลักจากมือถือที่คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่ง โดยพึ่งพาแบรนด์ HUAWEI มากเป็นพิเศษ และเคยได้รับผลกระทบจากกรณีสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน ที่มีการแบนผลิตภัณฑ์สินค้า ของ HUAWEI มาแล้วนั้นเอง โดยปัจจุบันเหลือสัดส่วนแบรนด์ HUAWEI เพียง 13% เท่านั้น
1
และในปี 63 ที่ผ่านมา ทาง SYNNEX เองได้เข้ามาเน้นในส่วนของการดูแลลูกค้าหลังบริการการขายและตลาดเกมส์มิ่งมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันบริษัทฯได้เข้ามาเป็นผู้ดูแลหลังการขายให้กับแบรนด์อย่าง Xiaomi ที่เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีระดับโลก ที่มีสมาร์ทโฟนและสินค้าไลฟ์สไตล์มากมาย ในประเทศไทยอีกด้วย
อีกทั้งยังหันมาจับมือกับทาง Nintendo ในการนำเข้าและจำหน่าย ตัวเครื่องเกมส์ Nintendo Switch ในประเทศไทย ที่ขาดว่าจะเริ่มขายภายในปี 64 นี้อีกด้วย ซึ่งก็คงจะถูกใจบรรดาสาวกเกมส์มิ่งในประเทศไทยไม่ใช่น้อย
อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมเกมส์ในประเทศไทย ถือว่ามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันประชากรไทยกว่า 69.3 ล้านคน มีจำนวนคนเล่นเกมอยู่ที่ 27.8 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 41% ของประชากรทั้งหมด และคิดเป็นมูลค่าในตลาดกว่า 3 หมื่นล้านบาท โดยมีเปอร์เซ็นต์การเติบโตเฉลี่ย อยู่ที่ 7% ต่อปี ซึ่งในปัจจุบัน ตลาดเกมส์มิ่งในไทยนั้น ถือว่าเติบโตเป็นอันดับ 6 ของเอเชียเลยทีเดียว
2
ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง สำหรับนักลงทุนอย่างเรา ว่าการเข้ามารุกตลาดเกมส์มิ่งในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทฯเติบโตไปได้อีกมากน้อยแค่ไหนกัน
**หมายเหตุ** ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง อย่าลืมศึกษาหาความรู้และทำความเข้าใจ ก่อนลุงทุนทุกครั้งเสมอ
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก
synnex.co.th
,
set.or.th
-กดติดตาม รู้ก่อนลงทุน-
อัพเดทบทความน่ารู้เกี่ยวกับการลงทุนในทุกวัน
8 บันทึก
10
2
6
8
10
2
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย