25 มิ.ย. 2021 เวลา 10:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
- อัจฉริยะกับคนบ้ามีแค่เส้นบางๆกั้น? -
1
หัวข้อนี้หลายคนคงเคยได้ยินมาบ้างไม่ว่าจะเป็นการแซวกันภายในกลุ่มเพื่อนหรือเป็นมุกตลกตาม Talk show แต่คิดว่าต้องมีคนจำนวนหนึ่งที่สงสัยว่าเป็นความจริงหรือไม่? แล้วอะไรที่แตกต่างกันระหว่างคนทั้ง 2 กลุ่มนี้ มาร่วมค้นหาคำตอบไปพร้อมกันเลยครับ!!
4
👨‍🔬 ไม่เพียงแต่ในวงการวิทยาศาสตร์เท่านั้นที่มีอัจฉริยะ แต่ไม่ว่าจะเป็นทางฝั่งของดนตรีหรือวรรณกรรมก็มีเหล่าอัจฉริยะในด้านต่างๆมากมาย หากลองสังเกตให้ดีอัจฉริยะมักจะมีอาการประหลาดคล้ายกับบุคลิกภาพของโรคจิตเภท
นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla) นักประดิษฐ์ที่ต้องทุกข์ทนกับภาพหลอนในความคิดของตัวเองและไม่ต้องการที่จะเห็นมันอีก แต่ใครจะคาดคิดว่า ไฟฟ้ากระแสสลับ ที่เราใช้กันเป็นประจำก็เกิดจากภาพที่ไม่อยากเห็นของเขานั่นเอง หรือกระทั่งผู้คิดค้นทฤษฎีสัมพันธภาพ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่มักเก็บก้นบุหรี่ตามถนนมาดมหลังจากที่หมอสั่งห้ามไม่ให้เขาสูบไปป์
📃 งานวิจัยในสมัยทศวรรษ 1960 และ 1970 สามารถอธิบายเชื่อมโยงบุคลิกภาพโรคจิตเภทและการคิดแบบอัจฉริยะได้สำเร็จ โดยสามารถระบุได้ว่าสมองบริเวณไหนที่ทำให้เกิดคุณลักษณะเหล่านี้ แต่ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทายในการศึกษากิจกรรมของสมองที่สังเกตได้ยาก
แต่เมื่อไม่นานมานี้นักวิจัยก็ได้ปรับหัวข้อและสรุปได้ว่า เกิดจากระบบการกลั่นกรองในการรู้คิดของสมองทำงานน้อยลง ทำให้ระดับอาการจิตเภทสูงขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่นักคิดค้นสิ่งใหม่ๆหรือนวัตกรรมชั้นยอดมักจะเป็นคนที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เป็นไปตามบรรทัดฐานของสังคมเท่าไรนัก หรือหลายคนมักเรียกว่า “ติสท์” นั่นเอง
2
แม้ว่าในทางดนตรี เช่น ดนตรีแจ๊ส และวงการวิทยาศาสตร์จะมีอัจฉริยะจากระบบความคิดเดียวกัน แต่นักวิทยาศาสตร์ต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือการคุมตัวเองไม่ให้ฟุ้งซ่านเกินไปและใช้ความคิดที่พรั่งพรูออกมาปรับปรุงเป็นตรรกะที่อธิบายได้ด้วยสมองซีกซ้าย ต่างจากนักดนตรีที่หลายคนคงเคยเห็นการสุดโต่งแบบหลุดโลกในหลายๆเหตุการณ์
1
นักคณิตศาสตร์อย่าง จอห์น แนช ก็มีคำกล่าวที่ว่า “เพราะว่าความคิดเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติทั้งหลายโผล่มาจากจุดเดียวกับพวกสมการทางคณิตศาสตร์น่ะสิ ผมเลยเก็บมาคิดจริงจังทั้งหมด” เขามีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องมนุษย์ต่างดาวและเข้าสู่สภาวะจิตเภทเป็นระยะเวลานาน
🧠 ระบบการกลั่นกรองความรู้คิด หรือเรียกง่ายๆว่า ส่วนที่ควบคุมการยั้งคิด หากเป็นคนปกติสมองส่วนนี้จะทำงานอยู่ตลอดชีวิต จะน้อยที่สุดเมื่อตอนเป็นเด็กและหลังจากนั้นจะเพิ่มขึ้นจนถึงเวลาที่ลดลงอีกครั้งเมื่อถึงวัยสูงอายุ ดังนั้นการเชื่อเรื่องสิ่งลี้ลับจะเพิ่มลดเป็นไปตามช่วงวัยด้วยเหตุที่กล่าวในข้างต้น
1
อาจกล่าวได้ว่าอัจฉริยะคล้ายอาการโรคจิตเภทอ่อนๆ คือไม่มีกรอบในความคิด แต่ก็อยู่ในระดับที่ควบคุมตนเองเพื่อใช้ชีวิตประจำวันได้ ซึ่งนั่นก็เพียงพอให้ความคิดของเขาโลดแล่นแบบไร้พรมแดนหรือที่เรียกว่า “จินตนาการอย่างไม่มีที่สิ้นสุด”
และหากไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ก็กลายเป็นโรคจิตเภทในที่สุด นักดนตรีหลายคนก็มีอาการติดยาเสพติดอย่างหนักหรือมีอาการซึมเศร้า นักจิตวิทยาได้กล่าวไว้ว่าอย่างไรก็ตามอัจฉริยะแตกต่างจากคนที่มีโรคทางจิตเภททั่วไปคือการใช้จินตนาการเกิดเป็นความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่การเพ้อฝันและมีการจดจ่อในการวิเคราะห์สิ่งต่างๆด้วยปัญญาได้ดี
2
เราจึงไม่พบผู้ที่มีโรคทางจิตขั้นรุนแรงเป็นอัจฉริยะได้บ่อยนัก (ขอยกเว้นแนชที่ได้กล่าวไปตอนต้นสักคนหนึ่ง) เพราะโรคทางจิตเภทขั้นรุนแรงจะทำให้ไม่สามารถไล่ตามความคิดตัวเองได้ทันและกลายเป็นการเพ้อฝันในที่สุด
“Imagination is more important than knowledge” - Albert Einstein
1
- สุดท้ายนี้หากได้ประโยชน์จากบทความนี้อย่าลืมกด Like & Share และสามารถแสดงความคิดเห็นเพื่อแบ่งปันมุมมองให้กันด้วยนะครับ 🙏🏻🤗 -
1
โฆษณา