27 มิ.ย. 2021 เวลา 09:43 • ประวัติศาสตร์
“ครูเสด (Crusades)” ความศรัทธาอันบ้าคลั่ง
มนุษย์จะยิ่งใหญ่และแข็งแกร่งที่สุดก็ต่อเมื่อมีพลังผลักดันจากความเชื่อมั่น
4
ซึ่งชนวนของความเชื่อมั่นมาจากความศรัทธาอันแรงกล้า
และความศรัทธาอันแรงกล้านั้นจะเป็นบ่อเกิดให้ความปรารถนาของมนุษย์บรรลุผล
แต่ในกระจกอีกด้านหนึ่ง มนุษย์จะโง่เขลาและอ่อนแอที่สุดเมื่อพลังของความเชื่อมั่นและความศรัทธาอันแรงกล้านั้นปราศจากเหตุผลและปัญญา
เมื่อไร้ซึ่งเหตุผลและปัญญา ความเชื่อมั่นและความศรัทธาก็สามารถกลืนกินจิตใจของมนุษย์ก่อเกิดเป็นเงามืดแห่งความชั่วร้ายที่ชื่อว่า “ความบ้าคลั่ง”
ทุกท่านครับ นี่คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นในยุคสมัยหนึ่งของมนุษย์…
ยุคสมัยที่ความศรัทธาของมนุษย์ปราศจากเหตุผลและปัญญา…
1
ยุคสมัยที่จิตใจของมนุษย์เปราะบางอ่อนแอจนลุกขึ้นมาต่อสู้แย่งชิงกันอย่างบ้าคลั่ง…
ยุคสมัยที่ถูกตราหน้าว่ามนุษย์ช่างต่อสู้ด้วยความโง่เขลาและเบาปัญญา…
ความเชื่อ…
3
ความศรัทธา…
ความอยาก…
ความอิจฉาริษยา…
1
ความงมงาย…
คริสต์…
อิสลาม…
ดินแดนศักดิ์สิทธิ์…
สวรรค์…
นรก…
ความดี…
ความชั่ว…
ยุคสมัยที่มนุษย์ต่อสู้เพื่อพิสูจน์ความศรัทธาของตนเองว่าคือความถูกต้อง
และนี่ คือเรื่องราว “ครูเสด (Crusades)” ความศรัทธาอันบ้าคลั่ง
โปรดนั่งลงเถิดครับ แล้วผมจะเล่าให้ฟัง…
ภาพจาก HistoryCollection
การก่อกำเนิดของตะวันตกนั้น เรียกได้ว่าได้รับอิทธิพลมาหลากหลายทางและมีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนานเลยล่ะครับ
ทั้งจากอารยธรรมอียิปต์ ณ ลุ่มแม่น้ำไนล์…
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย ณ ลุ่มแม่น้ำไทกริส ยูเฟรตีส…
1
และในที่สุดก็ได้ก่อเกิดต้นแบบอารยธรรมของตะวันตกที่แท้จริง นั่นคือ อารยธรรมกรีก…
ความศิวิไลซ์ทางภูมิปัญญาและองค์ความรู้ของกรีกถือเป็นความภูมิใจสูงสุดของความเป็นตะวันตก
ความเป็นกรีกก็ได้ถูกถ่ายทอดต่อไปยังอารยธรรมที่ได้ผงาดขึ้นในเวลาต่อมา คือ อารยธรรมโรมัน…
องค์ความรู้ที่ทรงคุณค่าของกรีกผสานกับความแข็งแกร่งของโรมัน ได้สร้างให้ตะวันตกมีความก้าวหน้าถึงขีดสุดในโลกยุคโบราณ
4
แต่อิทธิพลอันกว้างใหญ่ไพศาลของโรมันยากที่จะควบคุมเมืองต่างๆ ไว้ได้หมด…
ดังนั้น ในสมัยของจักรพรรดิองค์หนึ่ง คือ คอนสแตนติน ได้มีการแบ่งศูนย์กลางอำนาจออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่…
1. โรม ควบคุมทางด้านตะวันตก…
และ 2. คอนสแตนติโนเปิล ควบคุมด้านตะวันออก…
แต่ถึงแม้อำนาจของโรมันจะครอบคลุมยึดโยงเมืองต่างๆไว้แล้ว แต่ความคิดและความเชื่อของคนยังมีความแตกแยกหลากหลายกันอยู่
ซึ่งคอนสแตนตินมองว่าความเชื่อที่หลากหลายนั้นทำให้ปกครองได้ยาก และต้นเหตุของความหลากหลายนั้นก็มาจากความเชื่อดั้งเดิมที่ได้รับมาจากกรีก นั่นคือ ความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าหลายองค์
ดังนั้น คอนสแตนตินจึงแทนที่ความเชื่อเก่าด้วยความเชื่อใหม่ที่เชื่อในเทพเพียงองค์เดียว เพื่อหลอมรวมความคิดของคนให้กลายเป็นหนึ่งเดียว
ใช่แล้วครับ ความเชื่อใหม่ที่คอนสแตนตินได้เลือก ก็คือ คริสต์ศาสนานั่นเอง…
1
ด้วยอิทธิพลของโรมัน ได้ทำให้ศาสนาโนเนม กลายเป็นศาสนาที่เติบโตอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นความเชื่อหลักของตะวันตกแทนที่ความเชื่อของกรีก
3
แต่ความยิ่งใหญ่ของโรมันก็ใช่ว่าจะอยู่ยั้งยืนยงไปตลอดกาลครับ
2
ศูนย์กลางอำนาจทางตะวันตกอย่างโรมนั้น ในท้ายที่สุดก็เริ่มอ่อนแอลงจนถูกเหล่าคนเถื่อนอนารยชนจากดินแดนตอนในตีแตก
คนเถื่อนเหล่านั้นไม่ใช่เพียงทำลายโรม แต่ทว่ากลับรับเอาวิทยาการรวมถึงความเชื่ออย่างคริสต์ศาสนาของโรมกลับไปด้วย…
1
คริสต์ศาสนาจึงได้ถูกเพาะปลูกขึ้นในจิตใจของคนเถื่อนที่ในเวลาต่อมาได้สร้างอาณาจักรของตนเองขึ้นเป็นชิ้นเป็นอัน
และในที่สุดคริสต์ศาสนาก็ได้เติบโตกลายเป็นต้นไม้ใหญ่ที่ครอบคลุมยุคสมัยของยุโรปที่เราเรียกกันว่า “ยุคกลาง (Middle Ages)” นั่นเอง
2
ภาพจาก World History Encyclopedia (อารยธรรมกรีกต้นกำเนิดของตะวันตก)
ภาพจาก Istanbul Travel Blog (โรมันตะวันตกและโรมันตะวันออก)
ภาพจาก Britanica (จักรพรรดิคอนสแตนติน)
ภาพจาก Alchetron (กรุงโรมแตก ค.ศ.476)
หลังโรมหรือโรมันตะวันตกล่มสลายลง ดินแดนที่เราเรียกกันว่ายุโรปนั้น ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของคนเถื่อน แต่ต่อมาได้มีมหาอำนาจใหม่ผงาดขึ้นมารวบรวมดินแดนของคนเถื่อนเหล่านั้น แล้วสร้างอาณาจักรขึ้น คือ อาณาจักรแฟรงค์ โดยการนำของชาร์เลอมาญ…
แต่หลังสิ้นสุดยุคของชาร์เลอมาญ ดินแดนแถบนี้ก็วนกลับไปสู่สังคมไร้ระเบียบอีกเช่นเคย แตกเป็นนครรัฐอิสระปกครองตนเอง อีกทั้งกษัตริย์ต่างๆก็ไม่ได้มีอำนาจมากพอที่จะปกป้องอาณาจักรของตัวเองได้ ดังนั้น กษัตริย์จึงต้องพึ่งพาบรรดาเจ้าเมืองเล็กๆให้มาช่วยปกครอง
1
ซึ่งสุดท้ายก็เกิดการกระจายอำนาจในการปกครองขึ้นกลายเป็น “ระบอบฟิวดัล (Feudalism)” ในที่สุดครับ…
และอย่างที่ผมได้เล่าไปครับว่า คริสต์ศาสนาได้เจริญเติบโตครอบคลุมความคิดและความเชื่อของคนยุโรปในยุคกลาง ถึงขนาดเรียกได้ว่า “หายใจเข้าก็เป็นคริสต์ หายใจออกก็ยังเป็นคริสต์” หรือตั้งแต่เกิดจนตายวิถีชีวิตก็อยู่ภายใต้ความเชื่อของศาสนาคริสต์…
และถึงแม้โรมจะไม่ใช่ศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองและการทหาร แต่โรมก็ได้กลายเป็นศูนย์กลางอำนาจทางศาสนาที่บงการควบคุมวิถีชีวิตผู้คนในยุคกลาง ซึ่งผู้ที่อยู่บนจุดสูงสุดคือ สันตะปาปา (Pope)
1
โบสถ์คริสต์ตามเมืองหรือหมู่บ้านกลายเป็นศูนย์กลางกิจกรรมต่างๆ ทั้งศาสนาและวัฒนธรรม รวมถึงยังเป็นศูนย์รวมความมั่งคั่งของเงินบริจาคด้วยความศรัทธาของชาวบ้าน
6
เรียกได้ว่า ศาสนจักรและสันตะปาปามีอำนาจทางวัฒนธรรมและความเชื่อ (รวมถึงเงิน) อยู่ในมือ จนสามารถควบคุมบงการกษัตริย์และขุนนางในอาณาจักรต่างๆได้
3
พวกที่ไปขัดแข้งขัดขาศาสนจักรเข้า ก็จะถูกลงโทษโดยขับออกจากศาสนา ซึ่งจะถูกตราหน้าว่าเป็นคนเถื่อน ไร้วัฒนธรรม และไร้การยอมรับจากสังคม
2
ดังนั้น คนยุโรปในยุคกลางต่างก็อยู่ด้วยความเชื่อผสมความกลัวที่จะถูกขับไล่ออกจากศาสนา ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ได้หล่อหลอมให้คนยุโรปในยุคกลางเกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้า แต่ทว่าควมศรัทธานั้นก็ได้ถูกบงการชักใยจากศาสนจักรจนกลายไปเป็นความบ้าคลั่งก่อเกิดเป็นมหาสงครามครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์
1
สงครามที่ว่า คือ “สงครามครูเสด (Crusades War)” นั่นเองครับ
ภาพจาก Pinterest (ลักษณะเมืองและการปกครองในยุคกลาง)
ภาพจาก mk-online (สันตะปาปาสวมมงกุฏให้ชาร์เลอมาญ)
ภาพจาก Shameless Popery (การขับไล่ออกจากศาสนา)
อย่างที่ผมได้เล่าไป โรมันนั้นได้แบ่งอำนาจการปกครองเป็น 2 ส่วนคือ โรมันตะวันตกและตะวันออก
ซึ่งโรมันตะวันตกได้ล่มสลายไป แต่โรมันตะวันออกที่มีศูนย์กลางอยู่ที่คอนสแตนติโนเปิลยังคงอยู่
โดยเรื่องราวมันเริ่มที่กองทัพเติร์กซึ่งเป็นพวกที่นับถืออิสลามได้ยกทัพเข้ายึดดินแดนต่างๆของโรมันตะวันออก
1
กองทัพเติร์กนั้นเข้ายึดเมืองต่างๆเพื่อขยายอำนาจของตนเองและเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ซึ่งก็ได้ยึดเมืองสำคัญๆไปมากมาย โดยเฉพาะเมืองที่ชื่อว่า “เยรูซาเล็ม”
1
โดยเมืองเยรูซาเล็มที่ว่า มีความสำคัญอย่างมากสำหรับศาสนาคริสต์ เนื่องจากชาวคริสต์มีความเชื่อว่า “เมืองเยรูซาเล็มนี่แหละเป็นสถานที่ตรึงกางเขนพระเยซูคริสต์”
3
ส่วนพวกมุสลิมเติร์กที่เข้ายึดเยรูซาเล็มก็อ้างเหมือนกันครับว่า “เมืองเยรูซาเล็มนี่แหละที่เป็นสถานที่ที่ท่านนบีมุฮัมหมัดเสด็จขึ้นสู่สวรรค์”
2
ซึ่งก่อนที่เติร์กจะเข้ามายึดนั้น เยรูซาเล็มก็ได้เปิดอ้ารับคนทุกศาสนาให้เข้ามาแสวงบุญได้แบบฟรีสไตล์
แต่พอถูกเติร์กยึดครองแล้วนั้น เยรูซาเล็มก็ปิดประตูปฏิเสธไม่ให้ชาวคริสต์เข้าไปแสวงบุญได้เหมือนแต่ก่อน อีกทั้งเติร์กยังมีการปิดเส้นทางการค้าขายในแถบปาเลสไตน์และเอเชียไมเนอร์ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของตนเองที่ยึดมาได้ ทำให้พ่อค้าในยุโรปไม่สามารถเข้าไปค้าขายในดินแดนแถบนี้ได้…
3
และแล้วในที่สุด กองทัพเติร์กก็รุกคืบจนประชิดคอนสแตนติโนเปิล…
จักรพรรดิของโรมันตะวันออกในตอนนั้น คือ อเล็กเซียส คอมเมนุสเห็นท่าไม่ดี จึงส่งสาร์นไปหาสันตะปาปาว่า “พวกมุสลิมมันกำลังจะทำลายโรมันตะวันออกและศาสนาคริสต์ของเรา ขอให้ท่านส่งกองทัพมาสั่งสอนพวกมันโดยด่วน!”
1
ทางฝั่งสันตะปาปา คือ เออร์บันที่ 2 ซึ่งหมั่นไส้การขยายอิทธิพลของพวกเติร์กเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อเห็นสาร์นความช่วยเหลือก็ตอบรับอย่างไว แล้วได้ทำการชักชวนทั้งกษัตริย์ ขุนนางและประชาชนชาวคริสต์ในยุโรป รวบรวมกำลังพลเพื่อไปกระทืบสั่งสอนพวกมุสลิม… (แต่รวมได้เพียงแค่ขุนนางและประชาชน กษัตริย์ยังไม่ได้เข้ามาร่วมวงด้วย)
สันตะปาปาเออร์บันที่ 2 มีการปลุกระดมและโฆษณาชวนเชื่อว่า “ศึกครั้งนี้ยิ่งใหญ่นัก เราต้องต่อต้านพวกมุสลิม เราต้องชิงเอาดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของเรากลับคืนมา เราจึงจำเป็นที่จะต้องทำสงครามศักดิ์สิทธิ์เพื่อใ้ห้เป็นไปตามความปราถนาของพระผู้เป็นเจ้าของเรา!”
3
การปลุกเร้าอันซาบซึ้งและทรงพลังของสันตะปาปา ผนวกกับความเชื่อมั่น ความศรัทธาอันแรงกล้า ความเกลียดชัง และผลประโยชน์ทางการค้าที่หลอมรวมในจิตใจของชาวคริสต์ จนในที่สุดก็กำเนิดเป็นกองทัพไม้กางเขนขนาดใหญ่กว่า 50,000 คน ซึ่งกองทัพเหล่านี้มีความปรารถนาร่วมกันคือ ฆ่าล้างบางพวกมุสลิมให้สิ้นซาก…
4
ภาพจาก Jewish News (นครศักดิ์สิทธิ์เยรูซาเล็ม)
ภาพจาก Google Arts & Culture (การชักชวนให้ชาวคริสต์ทำสงครามครูเสดโดยสันตะปาปาเออร์บันที่ 2)
กองทัพไม้กางเขนในเริ่มแรกนี้ถึงแม้จะรวบรวมคนที่มีความศรัทธาไว้มากขนาดไหนก็ตาม แต่ก็ยังเป็นกองทัพที่ไร้ระเบียบแบบแผน พูดง่ายๆคือ การไปรบในครั้งนี้ไร้ซึ่งแผนการใดๆ! (พกเพียงความเคียดแค้นไปเต็มกระเป๋าเท่านั้น)
ด้วยความที่ไม่มีระบบระเบียบ บวกกับต้องเดินทางไกล ทำให้เสบียงอาหารเริ่มร่อยหรอ จึงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ตายกลางทางซะก่อนที่จะได้เข้าสู่สมรภูมิจริง
2
แต่ทว่า ไฟแห่งความศรัทธาและความแค้นของกองทัพไม้กางเขนนี้ช่างรุนแรงยากที่จะหยุดยั้งได้จริงๆครับ! เมื่อในที่สุดกองทัพก็เดินทางถึงเมืองแอนติออค ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านแรกที่จะเข้าไปถล่มพวกมุสลิม
1
แต่แอนติออคก็ใช่ว่าจะตีแตกได้ง่ายๆ กองทัพไม้กางเขนต้องใช้เวลาล้อมเมืองอยู่ถึง 9 เดือน!
1
จนในที่สุด ขุนนางในเมืองทนการถูกล้อมไม่ไหว จึงทำการเปิดประตูเมืองซะเลย!
1
และแล้ว ด้วยพลังแห่งความศรัทธาที่แรงกล้าผนวกกับความโกรธเกรี้ยวเกลียดชังไปสุดขั้วหัวใจ กองทัพไม้กางเขนก็บุกเข้าไปในเมือง ฆ่าล้างบางทั้งผู้หญิง เด็ก คนแก่ รวมถึงทำลายอาคารบ้านเรือนและมัสยิดจนเหี้ยนเตียน
2
และด้วยการขาดเสบียงอย่างหนักของกองทัพ ถึงขนาดมีการจับชาวเมืองมาฆ่าและเอาเนื้อมาทำเป็นอาหารแจกจ่ายภายในกองทัพอีกต่างหาก! (เกิดเป็นตลาดค้าเนื้อมนุษย์ขึ้นในเมือง)
4
แน่นอนครับว่า หลังจากยึดแอนติออคได้แล้ว ความฮึกเหิมของกองทัพแห่งพระเจ้าเหล่านี้ก็ยิ่งทวีเพิ่มมาขึ้น และกรีธาทัพบุกยึดเมืองต่างๆ (แน่นอนว่าชะตากรรมของเมืองเหล่านั้นก็ไม่ได้ต่างจากแอนติออค)
จนในที่สุด กองทัพไม้กางเขนก็เข้าประชิดเยรูซาเล็ม ความบ้าคลั่งของนักรบเหล่านี้ได้ถาโถมถล่มผู้คนในเยรูซาเล็มจนราบพนาสูญ
1
วาทกรรม “ฆ่าคนนอกศาสนาแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์” ได้ถูกประทับลงในจิตใจของนักรบเหล่านี้
2
ทั้งมุสลิม…
ยิว…
และพวกที่ไม่ใช่ชาวคริสต์ก็ต่างถูกฆ่าล้างบางและทารุณอย่างโหดเหี้ยม…
โบสถ์ วิหาร หรือสิ่งก่อสร้างที่ไม่ใช่สัญลักษณ์ของคริสต์ก็ถูกทำลายลงจนสิ้นซาก…
และแล้วความศรัทธาอันแรงกล้าได้กลายเป็นพลังผลักดันให้นักรบศักดิ์สิทธิ์ยึดเยรูซาเล็มได้ในที่สุด…
2
ภาพจาก Time Magazine (การล้อมเมืองแอนติออค)
ภาพจาก HistoryExtra (การยึดกรุงเยรูซาเล็มของกองทัพครูเสด)
เหล่าชาวคริสต์ได้ครองอำนาจอยู่ในเยรูซาเล็มและดินแดนแถบปาเลสไตน์กว่า 50 ปี ซึ่งแน่นอนครับว่ามีการกดขี่ กีดกัน และแบ่งแยกคนที่ไม่ใช่ชาวคริสต์ให้ออกไปจากสังคม
ซึ่งคนเหล่านี้โดยเฉพาะมุสลิมก็เก็บสะสมความแค้นไว้ แล้วทำการรวบรวมกองกำลังขึ้นใหม่เพื่อยึดเมืองต่างๆคืนกลับมา…
1
และแล้วกองทัพมุสลิมก็เริ่มทำการโต้กลับ เข้าตีเมืองเอเดสซาจนแตก ซึ่งด้วยความแค้นของกองทัพมุสลิมที่มีมาอย่างยาวนานต่อชาวคริสต์ ทำให้กองทัพเหล่านี้ทำการฆ่าล้างบางชาวคริสต์เหมือนกับที่กองทัพครูเสดเคยกระทำเมื่อครั้งอดีต…
2
ข่าวการฆ่าล้างบางชาวคริสต์ในเมืองเอเดสซาได้ถูกกระพือไปจนถึงยุโรป และมีพระนักพูดในศาสนจักร ชื่อ เซนต์เบอร์นาร์ด ได้ทำการพูดปลุกใจและรวบรวมกองทัพศักดิ์สิทธิ์อีกครั้งประมาณว่า
“เหล่าชาวคริสต์ทั้งหลาย บัดนี้พวกกองทัพนอกรีตได้ทารุณกรรมพี่น้องชาวคริสต์ของเรา มันถึงเวลาอีกครั้งแล้ว ที่เราจะต้องทำตามความประสงค์ของพระเจ้า สั่งสอนพวกมัน พร้อมปกป้องศาสนาและพี่น้องร่วมพันธะเดียวกันของเราที่อยู่ในเงื้อมมือปีศาจร้ายเหล่านั้น!”
ซึ่งการ Speech ของเซนต์เบอร์นาร์ดได้ไปถูกใจเหล่ากษัตริย์ในดินแดนต่างๆเข้าอย่างจัง ทั้งหลุยส์ที่ 7 ของฝรั่งเศส และคอนราดที่ 3 ของเยอรมัน จนได้ทำการรวบรวมกำลังพลตั้งกองทัพครูเสดขึ้นอีกครั้ง…
โดยการรวมพลในครั้งนี้มีความพิเศษกว่าครั้งก่อน คือมีกองทัพผู้หญิงเข้าร่วมด้วย!
3
เรื่องของเรื่อง คือ หลุยส์ที่ 7 นั้นมีมเหสี คือ เอเลนอร์แห่งอากิแตน ซึ่งตัวของเอเลนอร์มีความสนใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพศักดิ์สิทธิ์ จึงตัดสินใจเข้าร่วมด้วย และเมื่อควีนเข้าร่วมบรรดาหญิงสาวฝรั่งเศสก็หลั่งไหลเข้าร่วมทัพราวกับเป็นเทรนในช่วงนั้นเลยทีเดียวครับ…
2
โดยกองทัพศักดิ์สิทธิ์คราวนี้ใหญ่โตกว่าครั้งที่แล้วหลายเท่า ซึ่งมีกองกำลังราว 900,000 คน!
2
แต่ด้วยการมีผู้หญิงร่วมทัพไปด้วยมหาศาล ทำให้การเดินทัพย่อมล่าช้า รวมถึงมีเรื่องฉาวโฉ่คือการมั่วโลกีย์เสพสุขกามารมณ์ของชายหญิงภายในกองทัพอย่างเปิดเผยราวกับเป็นซ่องเคลื่อนที่ก็ไม่ปาน…
3
และพอไปถึงเมืองแอนติออค โดยมีเจ้าเมืองคือเรย์มองต์ (มีศักดิ์เป็นลุงของควีนเอเลนอร์) ทั้งฝ่ายเอเลนอร์และเรย์มองต์เมื่อพานพบกันครั้งแรกก็เกิดสปาร์กปิ๊งปั๊งกันในทันที
3
ซึ่งสภาพในเมืองหลังจากกองทัพครูเสดเข้าพักผ่อนก็ได้เกิดการเสพสุขกันของชายหญิงแบบหฤหรรษ์ใหญ่โตเช่นเดียวกัน…
3
รวมถึงเอเลนอร์และเรย์มองต์ ก็มีการเล่นชู้กันอย่างเปิดเผยระหว่างที่พักอยู่ในเมืองแอนติออคแบบไม่ไว้หน้าไว้ตาพระสวามีตัวจริงอย่างหลุยส์ที่ 7
3
ควีนเอเลนอร์นั้นติดใจรสสวาทของเรย์มองต์ถึงขนาดตอนที่จะเดินทางไปเมืองต่อไป หลุยส์ที่ 7 ต้องกระชากลากถูควีนเอเลนอร์ออกจากเมืองเลยทีเดียว
4
และในที่สุดหลังจากเสพสุขจนอิ่มอกอิ่มใจแล้ว กองทัพสวาทก็เดินทางไปถึงสนามรบของจริง นั่นคือการเข้าล้อมเมืองดามัสกัสของมุสลิม…
1
แต่แล้วกองทัพขนาดมหึมากว่า 900,000 คน ก็ไร้น้ำยา ไม่สามารถตีเมืองดามัสกัสให้แตกได้ อีกทั้งยังโดนตลบหลังจากทัพมุสลิมนำโดยนูรุดดีน จนกองทัพครูเสดแตกกระเจิงไม่เหลือเค้าของความยิ่งใหญ่อีกเลย…
หลุยส์ที่ 7 และคอนราดที่ 3 จึงจำใจถอยทัพกลับยุโรปไปแบบเจ็บช้ำทั้งกายและใจ…
ภาพจาก The Best you Magazine (เอเลนอร์แห่งอากิแตน)
หลังกองทัพศักดิ์สิทธิ์ของยุโรปถอยกลับไป ทัพมุสลิมของนูรุดดีนก็รุกคืบยึดเมืองต่างๆ จนทำให้มุสลิมกลับมามีอิทธิพลทัดเทียมกับชาวคริสต์ได้อีกครั้ง เหลือเพียงเมืองศักดิ์สิทธิ์อย่างเยรูซาเล็ม ที่เหล่ากองทัพมุสลิมก็ยังไม่สามารถโค่นอำนาจของชาวคริสต์ลงได้
ซึ่งในที่สุดนูรุดดีนก็เกิดเสียชีวิตลงอย่างกระทันหัน และผู้ที่ถูกยกขึ้นมาสืบทอดอำนาจของ นูรุดดีน คือชายที่ชื่อว่า “ซาลาดิน”
แน่นอนครับว่าในตอนแรกนั้น เหล่าผู้นำมุสลิมต่างไม่ยอมรับซาลาดิน ทำให้ฝ่ายกองทัพมุสลิมได้แตกออกเป็นหลายกลุ่มอำนาจ
แต่ในท้ายที่สุดซาลาดินก็ได้ใช้กองทัพของตัวเองกระทืบกลุ่มต่างๆ จนยอมเข้ามา สวามิภักดิ์แทบเท้าซาลาดิน ซึ่งด้วยความสามารถทำให้ซาลาดินสามารถรวบรวมอำนาจของกองทัพมุสลิมให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง
และซาลาดินได้ทำในสิ่งที่ผู้นำคนก่อนไม่สามารถทำได้สำเร็จ นั่นคือการยึดเยรูซาเล็มกลับมาสู่อ้อมอกอ้อมใจของชาวมุสลิม…
เมื่อเยรูซาเล็มถูกยึด เหล่าชาวคริสต์ในยุโรปก็เริ่มชิงชังและฮึกเหิมขึ้นอีกครั้ง ริชาร์ดใจสิงห์ (Richard the Lionheart) แห่งอังกฤษ ซึ่งเป็นสายเลือดของเฮนรี่ที่ 2 และเอเลนอร์แห่งอากิแตน (เอเลนอร์ไปแต่งงานใหม่กับคิงเฮนรี่ที่ 2) ได้ทำการรวบรวมกองทัพครูเสดขึ้นอีกครั้ง แล้วย่างกรายเข้าสู่สมรภูมิเพื่อแย่งชิงดินแดนศักดิ์สิทธิ์กลับคืนมา…
1
ทัพของริชาร์ดใจสิงห์และทัพของซาลาดินได้ปะทะกันอย่างดุเดือดและสูสี ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสงครามที่ยืดเยื้อสุดๆไปเลยล่ะครับ…
1
ความยืดเยื้อนี้ส่งผลให้มีความสูญเสียและความเบื่อหน่ายของทหารทั้งสองฝั่งเป็นอย่างมาก จนมีการตั้งคำถามขึ้นภายในกองทัพทั้งสองว่า “เรากำลังสู้ไปเพื่ออะไร?”
ฝ่ายริชาร์ดใจสิงห์เห็นจิตใจที่ฝ่อของทหารตนเองจึงตัดสินใจเจรจาสงบศึกกับซาลาดิน โดยเสนอเงื่อนไขว่า “เมืองที่ทัพชาวคริสต์ตีได้ก็ให้อยู่ภายใต้การครอบครองของชาวคริสต์ และให้ชาวมุสลิมคืนเมืองเยรูซาเล็มให้ชาวคริสต์ พร้อมกับไม้กางเขน (ชาวคริสต์เชื่อว่าเป็นไม้กางเขนที่ตรึงพระคริสต์)”
1
แน่นอนครับว่าซาลาดินปฏิเสธการยกเยรูซาเล็มให้ชาวคริสต์ แต่ยอมยกเมืองที่ชาวคริสต์ตีได้และยกไม้กางเขนคืนให้…
1
ฝ่ายริชาร์ดใจสิงห์ก็ไม่ยอมเพราะจะเอาเยรูซาเล็มให้ได้ จึงเสนอเงื่อนไขใหม่ว่า “เอางี้แล้วกันท่านซาลาดิน ให้น้องสาวข้าและน้องชายท่านมาแต่งงานกัน โดยเมืองที่ชาวคริสต์ตีได้จะเป็นของน้องสาวข้า ส่วนเมืองของมุสลิมให้เป็นของน้องชายท่าน โดยให้เยรูซาเล็มเป็นเมืองกลางมีเจ้าของคือเจ้าบ่าวและเจ้าสาว โดยอนุญาตให้ทั้งชาวคริสต์และชาวมุสลิมเข้าไปแสวงบุญได้อย่างเสรี”
5
ซึ่งซาลาดินก็รู้สึก “เห็นด้วย” กับเงื่อนไขนี้ จึงยอมตกลงในที่สุด
แต่ทว่า ศาสนจักรทางยุโรปกลับไม่ยอมเพราะ “จะให้คนคริสต์ไปแต่งงานกับพวกนอกศาสนาได้ยังไงกัน!” ดังนั้น ทางศาสนจักรจึงใช้อำนาจมืดกดดันริชาร์ดใจสิงห์ ถึงขนาดขู่ว่าจะขับออกจากศาสนาเลยทีเดียว
2
ริชาร์ดใจสิงห์โดนกดดันหนักเข้า จึงขอร้องให้น้องชายของซาลาดินเปลี่ยนมานับถือคริสต์ แต่ทว่าน้องชายของซาลาดินก็บอกว่า “เรื่องอะไรจะเปลี่ยน” ทำให้ริชาร์ดใจสิงห์ต้องถอดใจถอนทัพกลับอังกฤษในที่สุด (ระหว่างทางกลับ ก็ถูกชาวคริสต์ที่ไม่พอใจจับไปขังอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง)
2
ภาพจาก ภาพยนต์ Kingdom of Heavan (ซาลาดิน)
ภาพจาก World History Encyclopedia (ริชาร์ดใจสิงห์)
ภาพจาก Pinterest (การปะทะกันของทัพซาลาดินและริชาร์ดใจสิงห์)
หลังศึกอันดุเดือดของซาลาดินกับริชาร์ดใจสิงห์ ศาสนจักรก็ได้ปลุกระดมรวบรวมกองทัพเพื่อไปยึดเยรูซาเล็มคืนกลับมาอีกครั้ง แต่ทว่า ชาวคริสต์ในยุโรปเริ่มที่จะเบื่อหน่ายสงครามครูเสดซะแล้วล่ะครับ เพราะทำไปก็ไม่เห็นจะได้ประโยชน์อะไรขึ้นมาซักนิด…
ดังนั้น ความศรัทธาอันแรงกล้าของชาวคริสต์ก็เริ่มถดถอยลง การปลุกใจของศาสนจักรไม่ได้ผลอีกต่อไป จึงมีการเปลี่ยนแนวทางจากการปลุกใจทางศาสนาไปเป็นการชักจูงทางด้านการค้า โดยชักจูงว่าการทำสงครามเป็นการยึดและสร้างเส้นทางการค้าให้กับชาวยุโรปในดินแดนฝั่งตะวันออก ซึ่งก็ถือว่าสามารถจูงใจเหล่าขุนนางพ่อค้าที่ต้องการแสวงหาผลประโยชน์ใหม่ๆให้ลงทุนเข้าร่วมสงครามได้พอสมควรเลยทีเดียวครับ (แต่ใช้เหตุผลทางศาสนาบังหน้าเท่านั้นเอง)
1
แต่ถึงอย่างไรก็ตามแต่ กองทัพครูเสดจากยุโรปก็มักพ่ายแพ้มากกว่าชนะอยู่ร่ำไป เนื่องจากเหล่ามุสลิมรวมถึงโลกตะวันออกมีความก้าวหน้าทางวิทยาการสูงกว่าฝั่งยุโรป…
1
ทำให้ในท้ายที่สุด พลังแห่งความศรัทธาของกองทัพครูเสดก็ได้มอดดับลงไป และปราชัยในศึกสงครามศักดิ์สิทธิ์ที่กินระยะเวลายาวนานกว่า 200 ปี
ภาพจาก Wallpaper Cave
ภาพจาก Museum Facts
ภาพจาก We are the Mighty
ความปราชัยในสงครามศักดิ์สิทธิ์ ได้สร้างแรงสะเทือนให้กับยุโรปพอสมควรเลยล่ะครับ…
ชาวยุโรปได้เรียนรู้ในที่สุดว่า ความศรัทธาอันปราศจากเหตุผลนั้น เป็นเงาที่ทำให้ดวงตามืดบอดและโง่เขลา และได้เปลี่ยนให้พวกเขาบ้าคลั่ง…
ความพ่ายแพ้และความสูญเสียเหล่านั้นได้สร้างกลไกความเปลี่ยนแปลงภายในจิตใจให้สร้างเหตุผลและปัญญา…
เหตุผลและปัญญาที่ก่อกำเนิดขึ้นได้ทลายกำแพงแห่งเงามืดที่ชื่อว่าศาสนจักรลง…
เงามืดที่สูญสลายไป ทำให้ยุโรปเกิดพลังในการขับเคลื่อนและรื้อฟื้นภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าของตนเอง…
การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance)…
ยุคเรืองปัญญา (Age of Enlightenment)…
การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution)…
เหล่านี้ คือพัฒนาการที่กระจกได้พลิกกลับไปอีกด้านหนึ่ง…
1
ด้านที่ความศรัทธาได้หลอมรวมกับเหตุผล…
และกลายเป็นพลังผลักดันให้ยุโรปแข็งแกร่งและยิ่งใหญ่ถึงขีดสุด จนผงาดขึ้นเป็นมหาอำนาจ ผู้กุมชะตากรรมของโลกทั้งใบในเวลาต่อมา…
1
ภาพจาก Wallapers Cave
References
1
MacNail. H. William. World History. London : Oxford University Press, 1967.
Man, John. Saladin: Saladin : The Sultan Who Vanquished the Crusaders and Built an Islamic Empire. Boston : Da Capo Press, 2017.
1
Runciman, Steven. A History of the Crusades. Cambridge : Cambridge University Press, 1987.
Weir, Alison. Eleanor of Aquitaine: A Life. New York : Ballantine Books, 2001.
สามารถติดตามได้อีกที่ :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา